มรภ.สงขลา แปรรูป “จำปาดะ” เพิ่มมูลค่าผลไม้ท้องถิ่น ไฮไลท์นิทรรศการผลงานคหกรรมศาสตร์ ครั้งที่ 4

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

          มรภ.สงขลา จัดคหกรรมนิรมิต ครั้งที่ 4 อวดผลงานอาจารย์-นักศึกษา ชูไฮไลท์พัฒนาผลิตภัณฑ์จำปาดะ สนองพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯ หวังสร้างมูลค่าพืชท้องถิ่นหายาก แก้ปัญหาผลผลิตล้นตลาด
          ผศ.ดร.ทัศนา ศิริโชติ คณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) เปิดเผยถึงนิทรรศการคหกรรมศาสตร์ (คหกรรมนิรมิต ครั้งที่ 4 ประเทศไทย 4.0 : คหกรรมศาสตร์สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน) ณ หอประชุมเฉลิมพระเกียรติ มรภ.สงขลา เมื่อเร็วๆ นี้ว่า เป็นการโชว์ผลงานจากการลงพื้นที่ฝึกประสบการณ์วิชาชีพทางด้านอาหาร ณ สถานประกอบการโรงแรม ของนักศึกษาชั้นปีที่ 4 ซึ่งได้นำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานจริง และเตรียมตัวเข้าสู่ตลาดแรงงานในอนาคต โดยไฮไลท์เมนูสร้างสรรค์ในปีนี้ เป็นการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากจำปาดะ ผลไม้รสหวาน หอม มีเอกลักษณ์ เพื่อสนองพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ในการสร้างมูลค่าเพิ่มผลไม้ในท้องถิ่นให้ออกมาเป็นเมนูหลากหลายชนิด อาทิ แยมจำปาดะ ไอศกรีมจำปาดะ เค้กชิฟฟ่อนจำปาดะ โมจิไส้จำปาดะ ข้าวเกรียบจำปาดะ ขนมหม้อแกงเมล็ดจำปาดะ ทองพับจำปาดะเป็นต้น ซึ่งได้ผลตอบรับและเสียงชื่นชมจากผู้เข้าร่วมชิมอย่างดียิ่ง
          ผศ.ดร.ทัศนา กล่าวว่า ตัวอย่างการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากจำปาดะ เช่น แยมจำปาดะ ผลงาน ผศ.ดร.ทัศนา ศิริโชติ เป็นการเพิ่มมูลค่าจำปาดะในช่วงที่มีผลผลิตตามฤดูกาลเป็นจำนวนมากและราคาถูก ซึ่งเป็นแนวทางที่จะทำให้ผู้ประกอบการและเกษตรกรรายย่อย สามารถใช้ประโยชน์จากจำปาดะที่เป็นพืชในท้องถิ่นได้อย่างคุ้มค่า และสร้างรายได้ตลอดไป ผลิตภัณฑ์ข้าวเกรียบจากเมล็ดและเนื้อจำปาดะ และ ไอศกรีมจำปาดะ ผลงาน อ.วิภาวรรณ วงศ์สุดาลักษณ์ ซึ่งพบว่าการใช้เมล็ดจำปาดะต้มสุกทดแทนแป้งมันสำปะหลัง ร้อยละ 30 จะได้ข้าวเกรียบที่ได้รับการยอมรับสูงสุด ในขณะที่การประยุกต์ใช้เนื้อจำปาดะจะทำให้ได้ข้าวเกรียบที่มีกลิ่นรสและเนื้อสัมผัสที่มีความโดดเด่น ส่วนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ไอศกรีมจำปาดะ เป็นการนำเนื้อจำปาดะที่มีกลิ่นหอมและรสชาติหวานเฉพาะตัว มาประยุกต์ใช้ในผลิตไอศกรีม เพื่อสร้างมูลค่าให้พืชในท้องถิ่นและสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่
          คณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มรภ.สงขลา กล่าวอีกว่า เหตุผลที่เลือกแปรรูปผลิตภัณฑ์จากจำปาดะ เนื่องจากเป็นพืชที่นิยมปลูกกันมากทางภาคใต้ จัดเป็นผลไม้ขึ้นชื่อของ อ.ควนโดน จ.สตูล และ ต.เกาะยอ อ.เมือง จ.สงขลา และเป็นผลไม้ที่หารับประทานยาก พบได้เฉพาะภาคใต้เท่านั้น อีกทั้งจำปาดะยังให้ผลเพียงปีละครั้งในช่วงเดือนพฤษภาคม-กรกฎาคม ซึ่งบางปีมีผลผลิตออกสู่ตลาดเป็นจำนวนมากทำให้ราคาตกต่ำ บางครั้งเน่าเสียต้องทิ้งไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ เพราะจำปาดะเป็นผลไม้ที่คนนิยมบริโภคแบบสดและทอดเท่านั้น มักมีอายุการเก็บรักษาสั้น เนื่องจากเซลล์มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาหลังการเก็บเกี่ยว ทำให้ผลไม้เสื่อมสภาพและอาจสูญสูญเสียคุณค่าทางโภชนาการ รวมถึงเกิดการสูญเสียทางเศรษฐกิจ ซึ่งเกิดจากจำหน่ายผลผลิตไม่ทันหรือเกิดปัญหาผลผลิตล้นตลาด โดยเฉพาะผลไม้ที่ออกเป็นฤดูกาล ดังนั้น การแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อยืดอายุการเก็บรักษา จึงเป็นแนวทางหนึ่งในการถนอมอาหาร เพื่อให้มีรับประทานตลอดปี และลดปัญหาผลผลิตล้นตลาด
มรภ.สงขลา แปรรูป “จำปาดะ” เพิ่มมูลค่าผลไม้ท้องถิ่น ไฮไลท์นิทรรศการผลงานคหกรรมศาสตร์ ครั้งที่ 4
 
มรภ.สงขลา แปรรูป “จำปาดะ” เพิ่มมูลค่าผลไม้ท้องถิ่น ไฮไลท์นิทรรศการผลงานคหกรรมศาสตร์ ครั้งที่ 4
มรภ.สงขลา แปรรูป “จำปาดะ” เพิ่มมูลค่าผลไม้ท้องถิ่น ไฮไลท์นิทรรศการผลงานคหกรรมศาสตร์ ครั้งที่ 4 มรภ.สงขลา แปรรูป “จำปาดะ” เพิ่มมูลค่าผลไม้ท้องถิ่น ไฮไลท์นิทรรศการผลงานคหกรรมศาสตร์ ครั้งที่ 4

ข่าวคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี+สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯวันนี้

มทร.กรุงเทพ จับมือ เกียร์เฮด ผลิตบัณฑิตคุณภาพป้อนอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทย

รศ.ดร.พิชัย จันทร์มณี อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.)กรุงเทพ กล่าวว่า มทร.กรุงเทพ มุ่งมั่นผลิตบัณฑิตที่มีทักษะการปฏิบัติและความคิดสร้างสรรค์ เพื่อรองรับการเติบโตของอุตสาหกรรมบันเทิง โดยความร่วมมือกับบริษัท เกียร์เฮด จำกัด เพื่อช่วยให้นักศึกษาในสาขาวิชาเทคโนโลยีการถ่ายภาพและภาพยนตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและสาขาที่เกี่ยวข้อง ได้เรียนรู้เทคโนโลยีและกระบวนการผลิตภาพยนตร์อย่างครบวงจร ซึ่งจะส่งผลดีต่อคุณภาพบัณฑิตของมหาวิทยาลัย ด้าน ผศ.ดร.ครรชิต กำลังกล้า คณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโน

รศ.ดร.พิชัย จันทร์มณี อธิการบดีมหาวิทยาลั... มทร.กรุงเทพ เปิด 3,280 ที่นั่งรับนักศึกษาปริญญาตรี ปี 68 — รศ.ดร.พิชัย จันทร์มณี อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล(มทร.)กรุงเทพ เปิดเผยว่า ขณะนี้ มทร.ก...

นางนันทรัตน์ สุรักขกะ (ซ้าย) รองกรรมการผู... KGI ร่วมลงนามบันทึกความเข้าใจการร่วมมือทางวิชาการ (MOU) กับคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในโครงการ KGI Algo Trading Bootcamp & Competition 2025 — นางนันทรัตน...

รศ.ดร.สมหมาย ผิวสอาด รักษาการในตำแหน่งอธิ... มทร.ธัญบุรี ลงนามภาคเอกชนพัฒนาศักยภาพนวัตกรรมดิจิทัล — รศ.ดร.สมหมาย ผิวสอาด รักษาการในตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี (มทร.ธัญบุรี) ลงน...

บริษัท สเปเชี่ยลตี้ เนเชอรัล โปรดักส์ จำก... SNPS เซ็น MOU คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ พัฒนาศักยภาพด้านงานวิจัย และนวัตกรรมสมุนไพรไทย — บริษัท สเปเชี่ยลตี้ เนเชอรัล ...

ดร.มานะชัย? โต๊ะชูดี รองคณบดีฝ่ายวิชาการ ... พิธีมอบเสื้อกาวน์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประจำปีการศึกษา 256 — ดร.มานะชัย? โต๊ะชูดี รองคณบดีฝ่ายวิชาการ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และคุณกรด โรจนเสถีย...

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยหอก... คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ม.หอการค้าไทย จัดพิธีประดับเข็มหลักสูตรสหวิทยาการ (ผู้ช่วยฟื้นฟู) — คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย จัดกิจกรร...

สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประ... วว.ลงพื้นที่จังหวัดเพชรบูรณ์ อบรมเชิงปฏิบัติการ "การผลิตภาชนะรักษ์โลกจากเยื่อกล้วย" — สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) ร่วมกับ คณะวิท...

อาจารย์คณะเทคโนโลยีการเกษตร-คณะวิทยาศาสตร... มรภ.สงขลา เยือน "ม. UPNVJT" อินโดนีเซีย ร่วมสัมมนาด้านเทคโนโลยีอาหาร — อาจารย์คณะเทคโนโลยีการเกษตร-คณะวิทยาศาสตร์ฯ มรภ.สงขลา เยือน Universitas Pembangunan...

มรภ.สงขลา จับมือธนาคารออมสิน ทำโครงการออม... มรภ.สงขลา ผนึก ธ.ออมสิน ทำโครงการ "ยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น" เปิดเวที นศ. นำเสนอผลสัมฤทธิ์ นำองค์ความรู้พัฒนาวิสาหกิจชุมชน — มรภ.สงขลา จับมือธนาคารออมสิน ทำโครงก...