ปภ.แนะประชาชนเรียนรู้ – ป้องกันฟ้าผ่า...อันตรายที่มากับพายุฝนฟ้าคะนอง

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

          กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) แนะประชาชนเรียนรู้วิธีป้องกันอันตราย จากฟ้าผ่าในช่วงที่เกิดพายุฝนฟ้าคะนอง โดยไม่หลบพายุฝนใต้ต้นไม้ใหญ่ หรือสิ่งปลูกสร้างที่อยู่สูงโดดเด่น หลีกเลี่ยง การถือวัตถุที่เป็นสื่อนำไฟฟ้าในระดับเหนือศีรษะขึ้นไป ไม่สวมใส่เครื่องประดับประเภทเงิน ทอง นาก และทองแดง งดใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และเครื่องมือสื่อสารทุกชนิด หลีกเลี่ยงการประกอบกิจกรรมกลางแจ้งในช่วงที่เกิดพายุฝนฟ้าคะนอง กรณีไม่สามารถหลบในบริเวณที่ปลอดภัยได้ ให้นั่งยองๆ เท้าชิดกัน พร้อมเขย่งปลายเท้าให้สัมผัสพื้นน้อยที่สุด ก้มศีรษะและ ซุกเข้าไประหว่างขา กรณีอยู่ในอาคาร ควรอยู่ในอาคารที่มีสายล่อฟ้า หลีกเลี่ยงการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ทุกประเภท กรณีขับรถ ควรจอดรถในบริเวณที่ปลอดภัย พร้อมปิดประตูและหน้าต่าง ขณะที่เกิดฟ้าผ่าห้ามวิ่งลงจากรถ เพราะกระแสไฟฟ้าจะไหลไปตามผิวโลหะของตัวถังรถลงสู่พื้นดิน ทำให้ได้รับอันตรายจากฟ้าผ่าได้
          นายฉัตรชัย พรหมเลิศ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) กล่าวว่า ฟ้าผ่าเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติ ที่มักเกิดในช่วงที่มีพายุฝนฟ้าคะนอง โดยเฉพาะช่วงต้นฤดูฝน จะมีสถิติการเกิดฟ้าผ่าสูง เนื่องจากสภาพอากาศแปรปรวน ทำให้เกิดพายุฝนฟ้าคะนอง เพื่อความปลอดภัย กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ขอแนะประชาชนเรียนรู้วิธีป้องกันอันตรายจากฟ้าผ่าในช่วงที่เกิดพายุฝนฟ้าคะนอง ดังนี้ กรณีอยู่กลางแจ้ง ไม่หลบพายุฝนบริเวณพื้นที่ เสี่ยงฟ้าผ่า โดยเฉพาะใต้ต้นไม้ใหญ่ที่อยู่สูงโดดเด่น ใกล้ป้ายโฆษณา เสาไฟฟ้าแรงสูง หรือบริเวณสิ่งปลูกสร้างที่มีส่วนประกอบหลักเป็นโลหะ สระน้ำ แหล่งน้ำ เพราะโลหะและน้ำเป็นสื่อนำไฟฟ้า จึงมีความเสี่ยงต่อการถูกฟ้าผ่าหลีกเลี่ยงการถือวัตถุที่เป็นสื่อนำไฟฟ้าในระดับเหนือศีรษะขึ้นไป โดยเฉพาะร่มที่มีส่วนยอดเป็นโลหะ คันเบ็ด จอบ เสียม รวมถึงไม่สวมใส่เครื่องประดับประเภทเงิน ทอง นาก ทองแดง เพราะเป็นสื่อนำไฟฟ้า ทำให้เสี่ยงต่อการถูกฟ้าผ่า งดใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และเครื่องมือสื่อสารทุกชนิด แม้โทรศัพท์ไม่ใช่สื่อนำไฟฟ้า แต่ฟ้าผ่าจะเหนี่ยวนำกระแสไฟฟ้าเข้ามาในโทรศัพท์ ซึ่งมีแผ่นโลหะ สายอากาศ และแบตเตอรี่เป็นส่วนผสมของโลหะ ทำให้ได้รับอันตรายจากการถูกฟ้าผ่า หลีกเลี่ยงการประกอบกิจกรรมกลางแจ้งในช่วงที่เกิดฝนฟ้าคะนอง อาทิ เล่นกีฬา ว่ายน้ำ ทำการเกษตร โดยเฉพาะบริเวณสระน้ำ ทะเล ชายหาด สนามฟุตบอล สนามกอล์ฟ ภูเขาสูง ทุ่งนา เพราะเป็นพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดฟ้าผ่า กรณีไม่สามารถหาที่หลบในบริเวณที่ปลอดภัยได้ ให้นั่งยองๆ เท้าชิดกัน พร้อมเขย่งปลายเท้าให้สัมผัสกับพื้นน้อยที่สุด ก้มศีรษะและซุกเข้าไประหว่างขา จะช่วยลดความเสี่ยงต่อการถูกฟ้าผ่า กรณีอยู่ในอาคาร ควรอยู่ในอาคารที่มีสายล่อฟ้า ห้ามขึ้นไปบนดาดฟ้า ไม่อยู่บริเวณมุมตึก และระเบียงด้านนอกของอาคาร ไม่เข้าใกล้ประตูหรือหน้าต่างที่เป็นโลหะระหว่างเกิดพายุฝนฟ้าคะนอง เนื่องจากเป็นพื้นที่โล่งและมีสื่อนำไฟฟ้า ทำให้เสี่ยงต่อการถูกฟ้าผ่าได้ หลีกเลี่ยงการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ โดยเฉพาะโทรทัศน์ อินเทอร์เน็ต คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์แบบมีสาย เครื่องทำน้ำอุ่น เพราะหากฟ้าผ่าลงมาภายนอกอาคาร กระแสไฟฟ้าจะวิ่งมาตามเสาอากาศ เสาสัญญาณ สายไฟฟ้า และท่อน้ำประปา ทำให้อุปกรณ์ได้รับความเสียหายและผู้ใช้งานได้รับอันตราย เพื่อความปลอดภัย ในช่วงที่เกิดพายุฝนฟ้าคะนอง ควรถอดสายไฟฟ้า สายอากาศ สายโทรศัพท์ สายโมเด็ม จะช่วยลดความเสี่ยงต่อการได้รับอันตรายจากฟ้าผ่า กรณีขับรถ จอดรถในบริเวณที่ปลอดภัย ไม่จอดรถใกล้ต้นไม้หรือสิ่งปลูกสร้างขนาดใหญ่ โดยเฉพาะป้ายโฆษณา เสาไฟฟ้าแรงสูง เพราะฟ้าอาจผ่าลงมาบริเวณดังกล่าว ทำให้ได้รับอันตราย หลบในรถพร้อมปิดประตูและหน้าต่าง ไม่สัมผัสตัวถังรถที่มีส่วนประกอบเป็นโลหะ ขณะที่เกิดฟ้าผ่าห้ามวิ่งลงจากรถ หรือยื่นอวัยวะส่วนหนึ่งส่วนใดออกจากรถ เพราะกระแสไฟฟ้าจะไหลไปตามผิวโลหะของตัวถังรถลงสู่พื้นดิน ทำให้เกิดอันตรายได้ ทั้งนี้ การเรียนรู้วิธีป้องกันอันตราย และปฏิบัติตนอย่างถูกต้องเมื่อเกิดพายุฝนฟ้าคะนอง จะช่วยลดความเสี่ยงต่อการถูกฟ้าผ่า ทำให้การดำเนินชีวิตในช่วงฤดูฝนเป็นไปด้วยความปลอดภัย
 
 

ข่าวกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย+กระทรวงมหาดไทยวันนี้

ชไนเดอร์ อิเล็คทริค แนะ 7 วิธี เช็กระบบไฟฟ้า เพิ่มความปลอดภัย รับมือหยุดยาวเทศกาลสงกรานต์

ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ผู้นำด้านดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่น ในการจัดการพลังงานและระบบอัตโนมัติ ชวนคนไทยตรวจสอบระบบไฟฟ้า 7 จุดควรระวัง ทั้งในบ้านและอาคารด้วยตัวเองเบื้องต้น รับมือฉลองเทศกาลสงกรานต์ พร้อมแนะบริการตรวจสอบการจ่ายไฟฟ้าแรงดันสูงในอาคาร Busduct / Busway หลังเกิดเหตุแผ่นดินไหว เพื่อเพิ่มความมั่นใจและปลอดภัยให้กับลูกค้ามากขึ้น จากสถิติกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) กระทรวงมหาดไทย ระบุว่า ปัจจุบันสาธารณภัยใกล้ตัวที่เกิดขึ้นบ่อยที่สุดคืออัคคีภัย 73% ทั้งในพื้นที่บ้านและอาคารขนาดใหญ่ ทั้งนี้สา

เทศกาลสงกรานต์เป็นช่วงเวลาแห่งความสุขและก... สงกรานต์นี้ เดินทางอย่างไร้กังวล! FWD ประกันชีวิต แจกประกันอุบัติเหตุฟรี 30,000 สิทธิ์ — เทศกาลสงกรานต์เป็นช่วงเวลาแห่งความสุขและการเดินทาง เพื่อช่วยลดควา...

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจ... สกสว.พร้อมเป็นโซ่ข้อกลางรับมือเอลนีโญ สานทัพมหาดไทยหนุนทำแผนปฏิบัติการ — สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) จัดการประชุมทำแผนป...

บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) โดย คุณ... ไทยเบฟ สนับสนุนทีม USAR ช่วยเหลือแผ่นดินไหวตุรกี — บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) โดย คุณประวิช สุขุม ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ ผู้บริหารสูงสุด...

ปภ.รายงานยังคงมีสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ 3 จังหวัด ประสานพื้นที่เร่งให้การช่วยเหลือประชาชน

กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) กระทรวงมหาดไทยรายงานจากอิทธิพลมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังแรงปกคลุมประเทศไทย ทะเลอันดามัน และอ่าวไทย ประกอบกับหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงบริเวณอ่าวมะตะบันเคลื่อนผ่านสาธารณรัฐ...

ปภ.ระดมเครื่องจักรกลสาธารณภัยเข้าพื้นที่เสี่ยงอุทกภัย เตรียมพร้อมรับมือเชิงรุก - ช่วยเหลือผู้ประสบภัยเต็มกำลัง

กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) กระทรวงมหาดไทย เตรียมพร้อมรับมืออุทกภัยเชิงรุก สั่งการให้ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต 1 18 ระดมนำเครื่องจักรกลสาธารณภัย พร้อมเจ้าหน้าที่...