ปภ.ประสานจังหวัดเตรียมการป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยแล้ง - บริหารจัดการน้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุด

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

          กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) เตรียมการป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยแล้ง โดยประสานจังหวัดสำรวจข้อมูลพื้นที่ประสบภัยแล้ง ตรวจสอบภาชนะกักเก็บน้ำให้อยู่ในสภาพใช้งานได้ดี จัดทำบัญชีแหล่งน้ำ เพื่อใช้ประโยชน์จากแหล่งน้ำทุกแหล่งให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด พร้อมวางแผนจัดสรรน้ำอย่างทั่วถึง กำหนดจุดแจกจ่ายน้ำกลางที่เข้าถึงกลุ่มผู้ใช้น้ำทุกกลุ่ม รวมถึงให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหาน้ำอุปโภคบริโภคเป็นหลัก ตลอดจนรณรงค์ให้ทุกภาคส่วนใช้น้ำอย่างประหยัด และให้เกษตรกรปรับพฤติกรรมเพาะปลูกพืชที่ใช้น้ำน้อย และวางแผนทำการเกษตรให้สอดคล้องกับปริมาณน้ำต้นทุนในพื้นที่ เพื่อดูแลประชาชนมิให้ประสบปัญหาขาดแคลนน้ำและบริหารจัดการน้ำให้เพียงพอต่อการอุปโภคบริโภคและการรักษาระบบนิเวศตลอดช่วงฤดูแล้ง
          นายฉัตรชัย พรหมเลิศ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เปิดเผยว่า จากการติดตามสภาพอากาศกับกรมอุตุนิยมวิทยา พบว่า ในช่วงเดือนมีนาคม – เมษายน 2560 ประเทศไทยจะมีอากาศร้อนถึงร้อนจัดในหลายพื้นที่ ประกอบกับข้อมูลปริมาณน้ำของกรมชลประทาน อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่บางแห่งไม่สามารถสนับสนุนการใช้น้ำในภาคการเกษตรได้ แต่ยังคงจัดสรรน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคและรักษาระบบนิเวศได้ รัฐบาลและคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ห่วงใยประชาชนที่อาจได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ภัยแล้ง จึงได้สั่งการให้กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) เตรียมการป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยแล้ง โดยประสานจังหวัดจัดตั้งศูนย์บัญชาการเหตุการณ์จังหวัด อำเภอ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อเป็นศูนย์กลางในการบูรณาการป้องกัน แก้ไขปัญหา และให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัย โดยมีแนวทางในการปฏิบัติ ดังนี้ 
          ด้านการลดความเสี่ยงจากภัยแล้ง โดยจัดทำแผนปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาให้สอดคล้องกับสภาพปัญหาในพื้นที่ พร้อมจัดเตรียมกำลังเจ้าหน้าที่ เครื่องมือวัสดุอุปกรณ์ รถยนต์บรรทุกน้ำ เครื่องสูบน้ำ และเครื่องจักรกลด้านสาธารณภัยให้พร้อมช่วยเหลือและบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ประสบภัย อีกทั้งบูรณาการหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสนับสนุนทรัพยากร กำหนดภารกิจ แบ่งมอบพื้นที่และหน่วยงานรับผิดชอบอย่างชัดเจน รวมถึงประสานข้อมูลสถานการณ์น้ำและข้อมูลทางวิชาการจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการประเมิน คาดการณ์แนวโน้มสถานการณ์ภัยแล้ง ตลอดจนสำรวจภาชนะกักเก็บน้ำกลางให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานตรวจสอบปริมาณน้ำในแหล่งกักเก็บน้ำต่างๆ และจัดทำบัญชีแหล่งน้ำ เพื่อใช้ประโยชน์จากแหล่งน้ำให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด และวางแผนจัดสรรน้ำอย่างทั่วถึง รวมถึงกำหนดจุดแจกจ่ายน้ำกลางประจำหมู่บ้านที่เข้าถึงผู้ใช้น้ำทุกกลุ่ม อีกทั้งรณรงค์ให้ทุกภาคส่วนใช้น้ำอย่างประหยัด คุ้มค่า และเกิดประโยชน์สูงสุด โดยเฉพาะเกษตรกรให้ปรับวิถีทำการเกษตรให้สอดคล้องกับปริมาณน้ำต้นทุนในพื้นที่ โดยปลูกพืชอายุสั้นที่ใช้น้ำน้อย เพื่อลดผลกระทบจากการขาดแคลนน้ำในช่วงฤดูแล้ง ตลอดจนวางแผนป้องกันโรคระบาดในช่วงฤดูแล้ง การดูแลรักษาสุขภาพของประชาชน กำหนดมาตรการป้องกันอาชญากรรมซ้ำเติมความเดือดร้อนของผู้ประสบภัย 
          ด้านการช่วยเหลือผู้ประสบภัยแล้ง ให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหาน้ำอุปโภคบริโภคเป็นหลัก ด้วยการจัดรถบรรทุกน้ำและระดมรถสูบน้ำระยะไกลสูบน้ำดิบไปเติมยังถังน้ำกลางประจำหมู่บ้าน ขุดลอกและปรับปรุงแหล่งน้ำตามมาตรการ "1 ตำบล 1 แหล่งกักเก็บน้ำ" ขุดเจาะและเป่าล้างบ่อบาดาล พร้อมติดตั้งเครื่องสูบน้ำส่งน้ำไปยังพื้นที่ขาดแคลน รวมถึงประสานจัดทำฝนหลวงในช่วงที่สภาพอากาศเอื้ออำนวย ตลอดจนวางแนวทางการแก้ไขปัญหาการแย่งน้ำ โดยให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองร่วมกับหน่วยทหารสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับสถานการณ์น้ำ กำหนดข้อตกลงในการใช้น้ำร่วมกัน โดยเฉพาะบริเวณที่มักมีการลักลอบสูบน้ำและเกิดปัญหาการแย่งน้ำ ที่สำคัญ ให้จังหวัดยึดการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และแนวทางที่กำหนดตามระเบียบกระทรวงการคลัง ฯ อย่างเคร่งครัด เพื่อดูแลประชาชนมิให้ประสบปัญหาขาดแคลนน้ำและบริหารจัดการน้ำให้เพียงพอต่อการอุปโภคบริโภคและการรักษาระบบนิเวศตลอดช่วงฤดูแล้ง ทั้งนี้ ประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนจากสถานการณ์ภัยแล้ง สามารถติดต่อขอความช่วยเหลือได้ทาง สายด่วนนิรภัย 1784 ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อประสานให้การช่วยเหลือโดยด่วนต่อไป
 
 

ข่าวกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย+พื้นที่ประสบภัยแล้งวันนี้

NT ร่วม ปภ. ทดสอบระบบ Cell Broadcast ในพื้นที่ครั้งแรก แจ้งผลมีประสิทธิภาพ รวดเร็ว ครอบคลุม เสริมความพร้อมระบบเตือนภัยแห่งชาติ

บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) หรือ NT ร่วมกับ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทดสอบระบบแจ้งเตือนภัยพิบัติผ่านเทคโนโลยี Cell Broadcast เป็นครั้งแรกของประเทศในลักษณะเสมือนจริงในพื้นที่ระดับเล็ก ภายในอาคารและบริเวณโดยรอบ ประกอบด้วย ศาลากลางจังหวัดเชียงราย ศาลากลางจังหวัดสุพรรณบุรี ศาลากลางจังหวัดอุบลราชธานี ศาลากลางจังหวัดสงขลา และอาคารศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา กรุงเทพมหานคร โดยผลการทดสอบเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถส่งข้อความแจ้งเตือนไปยัง

กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ร่วมกั... NT ยืนยันความพร้อม ร่วมทดสอบระบบแจ้งเตือนภัย Cell Broadcast ในพื้นที่จริง — กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้...

ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ผู้นำด้านดิจิทัลทรานส... ชไนเดอร์ อิเล็คทริค แนะ 7 วิธี เช็กระบบไฟฟ้า เพิ่มความปลอดภัย รับมือหยุดยาวเทศกาลสงกรานต์ — ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ผู้นำด้านดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่น ในการจัดก...

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข มอบทีม SEhRT ป... 'ภัยแล้ง' ทีม SEhRT กรมอนามัย-สสจ.-ท้องถิ่น เตรียมพร้อมรับมือพื้นที่ขาดแคลนน้ำ — กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข มอบทีม SEhRT ประสานภารกิจร่วมกับสำนักงานสาธารณ...

เทศกาลสงกรานต์เป็นช่วงเวลาแห่งความสุขและก... สงกรานต์นี้ เดินทางอย่างไร้กังวล! FWD ประกันชีวิต แจกประกันอุบัติเหตุฟรี 30,000 สิทธิ์ — เทศกาลสงกรานต์เป็นช่วงเวลาแห่งความสุขและการเดินทาง เพื่อช่วยลดควา...

นางสาวกาญจนา ภูพิพัฒน์ผล รองผู้อำนวยการสำ... กทม. เดินหน้ากำจัดปลาหมอคางดำ ลดผลกระทบเกษตรกร-แปรรูปสร้างรายได้ — นางสาวกาญจนา ภูพิพัฒน์ผล รองผู้อำนวยการสำนักพัฒนาสังคม รักษาราชการแทนผู้อำนวยการสำนักพั...

นายเจษฎา จันทรประภา ผู้อำนวยการสำนักการระ... กทม. เร่งถ่ายเทไหลเวียนน้ำในคลองช่องนนทรี เตรียมขุดลอกดินเลน-ทำความสะอาดท่อลอด — นายเจษฎา จันทรประภา ผู้อำนวยการสำนักการระบายน้ำ (สนน.) กทม. กล่าวชี้แจงกร...

กทม. เตรียมพร้อมระบบระบายน้ำรองรับสถานการณ์ฝน

นายเจษฎา จันทรประภา ผู้อำนวยการสำนักการระบายน้ำ (สนน.) กทม. กล่าวกรณีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) แจ้งเตือนสถานการณ์น้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำท่วมขังว่า กทม. ได้จัดทำแผนเตรียมความพร้อมด้านระบบระบายน้ำ เพื่อรองรับสถานการณ์ฝนตกหนัก โดยใช้แผน...