นับเป็นความก้าวหน้าครั้งสำคัญในการให้บริการโซลูชั่น Infinitus Super Highway(TM) ในเชิงพาณิชย์ หลังจากที่มีการจดสิทธิบัตรระบบดังกล่าวมาแล้ว
Airborne Wireless Network (OTCQB: ABWN) ได้ยื่นเอกสารหมายเลข 0378-EX-ST-2017 เพื่อขอใบอนุญาตทดลองจากคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งสหรัฐอเมริกา (FCC) เพื่อเริ่มประเมินการทำงานของระบบเครือข่ายแบบตาข่ายในลักษณะ air-to-air และ air-to-ground ซึ่งหากได้รับการอนุมัติแล้ว ใบอนุญาตดังกล่าวจะเปิดโอกาสให้บริษัทสามารถทดสอบเทคโนโลยีที่บริษัทได้จดสิทธิบัตรไว้อย่าง Infinitus Super Highway (TM) ในแง่ของการรับส่งความถี่วิทยุภาคพื้นและบนเครื่องบิน
ระบบสาธิตนี้ได้รับการทดสอบแล้วในห้องปฏิบัติการแห่งหนึ่งของพันธมิตรที่ทำสัญญากับ Airborne Wireless Network โดยบริษัทจะประเมินผลการทดสอบที่ประสบความสำเร็จ และนำไปผนวกเข้ากับเครื่องบินตัวทดสอบรุ่น Boeing 757 เพื่อดำเนินการติดตั้งภาคพื้น ทดสอบบนลานจอด และประเมินผลขณะบิน
สำหรับการทดสอบขณะบินนั้น บริษัทมีแผนส่งผ่านข้อมูลบรอดแบนด์ระหว่างเครื่องบินบนอากาศกับสถานีภาคพื้น เพื่อประเมินผลการทำงานของเครือข่ายแบบตาข่ายในลักษณะ air-to-air และ air-to-ground
เจสัน เดอ มอส รองประธานฝ่ายพัฒนาธุรกิจและการปฏิบัติตามข้อกาหนด บริษัท Airborne Wireless Network กล่าวว่า "เรามีความยินดีอย่างยิ่งกับความคืบหน้าในการเริ่มทดสอบระบบเครือข่ายของเรา เมื่อการทดสอบระบบขณะบินประสบความสำเร็จอย่างสมบูรณ์แล้ว เราก็จะเดินหน้าในระดับที่ใหญ่ขึ้น ได้แก่การทดสอบบนเครื่องบิน 20 ลำเหนือหมู่เกาะ ซึ่งเรามีแผนจำลองบริการบรอดแบนด์ทั่วโลกแก่ผู้โดยสารบนเครื่องบิน เช่นเดียวกับบนพื้นดิน เรือ และแท่นน้ำมัน Infinitus Super Highway(TM) เป็นเทคโนโลยีแถวหน้าที่ช่วยสร้างเครือข่ายระดับโลก ยกระดับการเชื่อมต่อเหนือขีดจำกัดเดิมๆ ซึ่งเป็นตลาดใหม่ที่มีแววทำเงินได้กว่าหลายพันล้านจากการอุดช่องว่างด้านการเชื่อมต่อทั่วโลกนี้ เราเชื่อว่า เทคโนโลยีของเราจะเป็นสะพานเชื่อมเครือข่ายภายในศูนย์กลางทางอากาศทั้งหลาย เพื่อป้องกันไม่ให้เกิด Single Point of Failure (เหตุการณ์ที่จุดบกพร่องหรือขัดข้องจุดเดียวทำให้ระบบขัดข้องหรือล่มทั้งระบบ) ลดค่าความหน่วง และกำจัดผลกระทบจากสภาพอากาศรุนแรง ภัยพิบัติทางธรรมชาติ หรือช่วงกำไรขาลง"
Infinitus Super Highway (TM) เมื่อติดตั้งแล้วจะทำหน้าที่เป็นระบบสื่อสารลักษณะ air-to-air โดยจะกลายเป็นนวัตกรรมใหม่สำหรับฝูงเครื่องบินโดยสารพาณิชย์ (ที่ให้บริการอยู่แล้ว) เพื่อนำไปแทนที่ดาวเทียมสื่อสารวงโคจรระยะต่ำ Infinitus นำเสนอโครงสร้างพื้นฐานสำหรับการสื่อสารไร้สายบรอดแบนด์ต้นทุนต่ำในลักษณะจุดต่อจุด ด้วยการใช้และดัดแปลงอุปกรณ์ในสถานีถ่ายทอดขนาดเล็ก น้ำหนักเบา กินไฟน้อย และต้นทุนต่ำ ซึ่งได้รับการติดตั้งไว้อยู่แล้วบนเครื่องบินโดยสารพาณิชย์ เครื่องบินโดยสารที่ติดตั้งโซลูชั่นของบริษัทจะมีช่องทางการสื่อสารไร้สายแบบบรอดแบนด์ (ครอบคลุมในระยะเส้นสายตา) เชื่อมต่อกับเครื่องบินลำอื่นๆในบริเวณใกล้เคียง หรือสถานีภาคพื้น ซึ่งจะร้อยเรียงกันเป็นห่วงโซ่เครื่องทวนสัญญาณทางอากาศอย่างแนบเนียน คอยทำหน้าที่เป็นเกตเวย์การสื่อสารไร้สายบรอดแบนด์ตลอดเส้นทางบิน โดยเมื่อติดตั้ง Infinitus Super Highway (TM) แล้ว ผู้โดยสารบนเครื่องบินจะสามารถใช้บริการสื่อสารไร้สายแบบบรอดแบนด์ เช่นเดียวกับผู้ใช้งานบนพื้นดิน ตลอดแนวเส้นสายตาของเส้นทางบินจากเครื่องบินโดยสารพาณิชย์
ปัจจุบัน การเชื่อมต่อทั่วโลกอาศัยสายเคเบิลใต้ทะเล โครงข่ายใยแก้วนำแสงภาคพื้นดิน และดาวเทียม อย่างไรก็ดี Airborne Wireless Network เชื่อว่าเทคโนโลยีดิจิทัลไฮเวย์ทางอากาศเป็นโซลูชั่นสำคัญที่จะช่วยอุดช่องว่างด้านการเชื่อมต่อทั่วโลก เมื่อเครือข่ายได้รับการพัฒนาและใช้งานอย่างเต็มที่ จะสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้อย่างไร้ขีดจำกัด และจะทำให้การเชื่อมต่อความเร็วสูงมีต้นทุนต่ำลงทั้งสำหรับพื้นที่ชนบท เกาะต่างๆ เรือที่ล่องอยู่ในทะเล และสถานีขุดเจาะน้ำมัน นอกเหนือไปจากเครื่องบินพาณิชย์และเครื่องบินส่วนตัว
รับชมข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่: www.airbornewirelessnetwork.com
ประกาศเรื่องข้อความที่มีลักษณะเป็นการคาดการณ์ในอนาคต:
ข่าวประชาสัมพันธ์ฉบับนี้ประกอบด้วยข้อความที่มีลักษณะเป็นการคาดการณ์อนาคต ดังที่นิยามไว้ในบทบัญญัติการจำกัดสิทธิ์ความรับผิดชอบ (safe harbor provisions) ภายใต้กฎหมายปฏิรูปการฟ้องร้องคดีหลักทรัพย์ส่วนบุคคลปี 2538 (Private Securities Litigation Reform Act of 1995) ข้อความคาดการณ์อนาคตอ้างอิงจากความเชื่อและการคาดการณ์ ณ ปัจจุบันของคณะผู้บริหาร อันมีความเสี่ยงและความไม่แน่นอนมากมาย ในกรณีที่สมมติฐานเกิดความคลาดเคลื่อน หรือความเสี่ยงและความไม่แน่นอนเกิดขึ้น ผลลัพธ์ที่แท้จริงอาจแตกต่างอย่างมากจากข้อความคาดการณ์อนาคต
ในการประชุมคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ครั้งที่ 16/2561 วันพุธที่ 22 สิงหาคม 2561 สำนักงาน กสทช. เตรียมเสนอที่ประชุมพิจารณาผลสำรวจข้อเท็จจริงเรื่องการกำหนดให้ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่คิดอัตราค่าบริการตามการใช้งานจริงในหน่วยวินาที เพื่อกำหนดเป็นนโยบายในการกำกับดูแลการคิดอัตราค่าบริการต่อไป ทั้งนี้ สาเหตุที่มีการสำรวจข้อเท็จจริงดังกล่าวสืบเนื่องจากที่ประชุมคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) ได้เคยมีมติโดยเสียงส่วนใหญ่ในการประชุม กทค. ครั้งที่ 1