รศ.ดร.อรรถกฤต ปัจฉิมนันท์ ผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐศาสตร์และรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ให้ความเห็นต่อกรณีกระแสข่าวเรื่องการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตให้กลุ่มสุรา-ยาสูบที่จะมีการนำเสนอเข้าครม. ภายใน 1-2 สัปดาห์ข้างหน้าโดยเตือนถึงโครงสร้างการจัดเก็บที่ยกเว้นภาษีขามูลค่าเพื่อหนุนผู้ประกอบการในประเทศ หวั่นไทยโดนข้อหากีดกันทางการค้า
รศ.ดร.อรรถกฤต เปิดเผยว่า กรณีของกลุ่มสินค้าไวน์ที่มีการนำเสนอในกระแสข่าวซึ่งจะมีการปรับเกณฑ์การยกเว้นการเก็บภาษีตามฐานมูลค่าจากปัจจุบันที่ใช้เกณฑ์ราคาขายส่งช่วงสุดท้ายขวดละไม่เกิน 600 บาท มาเป็นเกณฑ์ราคาขายปลีกขวดละไม่เกิน 1,000 บาท นั้น ถือว่าไม่เป็นไปตามหลักความเป็นธรรม อีกทั้งอัตราภาษีตามมูลค่าย่อมแปรผันตามราคาอยู่แล้ว จึงไม่มีเหตุผลที่จะใช้ราคาเป็นเกณฑ์ยกเว้นภาษีตามมูลค่าอีก น่าเสียดายที่การปฏิรูปในครั้งนี้ยังไม่เลิกระบบที่ซับซ้อนและบิดเบือนกลไกตลาดเช่นนี้ การที่รัฐให้เหตุผลว่าการกำหนดเกณฑ์ดังกล่าวเพื่อหนุนผู้ผลิตไวน์ในประเทศที่มีอยู่ราว 6-7 ราย ถือเป็นนโยบายที่สุ่มเสี่ยงขัดความตกลงขององค์การการค้าโลก (WTO) เพราะกติกาการค้าระหว่างประเทศก็คือห้ามใช้มาตรการใดๆ ในการปกป้องอุตสาหกรรมในประเทศจากการแข่งขันของสินค้านำเข้าจากต่างประเทศ จึงอยากให้กรมสรรพสามิตและกระทรวงการคลังพิจารณาในจุดนี้ให้ดี การสร้างระบบการจัดเก็บภาษีที่เอื้อให้กับผู้ผลิตในประเทศอาจถูกคู่ค้าต่างชาติตั้งคำถามในประเด็น trade discrimination หรือ การกีดกันทางการค้า"
"ระบบภาษีสรรพสามิตที่ดีควรมีโครงสร้างที่เรียบง่าย ทันสมัยและยึดหลักปฏิบัติตามหลักสากล ตอนนี้เหลือสินค้ากลุ่มสุราและยาสูบที่ยังรอลุ้นอัตราภาษีใหม่อยู่ ซึ่งไม่ว่าจะเป็นสุราหรือยาสูบก็ใช้หลักเดียวกัน คือเก็บภาษีตามผลต่อสุขภาพเป็นหลัก นั่นคือต้องวัดกันตามปริมาณไม่ใช่ราคา หากโครงสร้างภาษีใหม่เปิดช่องให้ของราคาถูกจ่ายภาษีถูกกว่าของราคาแพงแล้ว โดยเฉพาะหากมีการใช้ราคาเป็นเกณฑ์ในการแบ่งขั้นอัตราภาษี สิ่งที่จะตามมาคือการขยายตัวอย่างรวดเร็วของสุราและยาสูบราคาถูกแน่นอน ซึ่งจะถูกมองว่าเป็นการใช้ภาษีเป็นเครื่องมือเอื้อผลประโยชน์เฉพาะกลุ่ม และ จะทำให้การปฏิรูปครั้งนี้ไม่สง่างาม สำหรับอุตสาหกรรมยาสูบ ก็มีผู้ผลิตในประเทศรายใหญ่ที่รัฐเป็นเจ้าของ หวังว่าภาครัฐคงพิจารณาอย่างรอบคอบในการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตใหม่ทั้งสองขา คือ มูลค่าและปริมาณอย่างมีประสิทธิภาพและเสมอภาค เป็นธรรมกับทุกฝ่าย โดยรัฐไม่ควรให้น้ำหนักเรื่องการปกป้องผู้ผลิตในประเทศในการจัดเก็บด้วยเหตุผลที่บอกไป แต่ควรจะมองไปที่วัตถุประสงค์เรื่องสุขภาพและควบคุมการบริโภคด้วยระบบภาษีที่ไม่สร้างความเลื่อมล้ำด้านราคามากกว่า" รศ.ดร.อรรถกฤต กล่าวสรุป
ดร.โศรดา วัลภา รองผู้ว่าการบริการอุตสาหกรรม สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นประธานเปิดการสัมมนาหัวข้อเรื่อง "The China-Thailand Forum on Innovation and Development in Environmental Science and Engineering" จัดโดย กลุ่มบริการอุตสาหกรรม วว. ร่วมกับ Kunming University of Science and Technology National Science Park.,Ltd. (ประเทศจีน) และคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) ภายใต้การดำเนิน
รวมใจ ให้โลหิต 1 พฤษภาคม วันแรงงานไทย May Day : Give Blood Save Lives
—
ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ ร่วมกับ สมาคมนักศึกษาเก่าพาณิชยศาสตร์ และการบัญชีมหาวิทยา...
สัญญาณเตือนระดับชาติ! มธ. ชี้ชัด "สังคมสูงวัยสมบูรณ์แบบ" ตัวเร่งวิกฤตเศรษฐกิจไทย
—
พ่วงผลกระทบสุขภาพจิต และโครงสร้างแรงงาน เผยตัวเลขผู้สูงวัยเตรียมพุ่งสูง...
แว่นท็อปเจริญ จับมือ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ลงนาม MOU ผนึกกำลังสร้างโอกาสให้บัณฑิต พัฒนาศักยภาพสู่ความพร้อมในโลกธุรกิจจริง
—
นายนพศักดิ์ ตรีพรชัยศักดิ์ ประ...
สวทช. คว้า 2 รางวัลผลิตสื่อสร้างสรรค์จากเวที Commu Max Competition จากผลงาน Thailand's Food Bank และ Innovation Grows@TSP
—
ศาสตราจารย์ ดร.ชูกิจ ลิมปิจำนง...
AMR โชว์นวัตกรรมผลิตป้ายทะเบียนอัตโนมัติ พร้อมต้อนรับพาร์ทเนอร์ ขยายโอกาสสู่อาเซียน
—
นายณัฏฐชัย ศิริโก (ที่ 3 จากขวา) ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอเอ...
ศูนย์หนังสือจุฬาฯ ชวนร่วมงานสัปดาห์หนังสือฯ
—
ศูนย์หนังสือจุฬาฯ ชวนร่วมงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ครั้งที่ 53 และงานสัปดาห์หนังสือนานาชาติครั้งที่ 23 ณ...
อาจารย์วารสารฯ มธ. แนะ "สื่อ" นำเสนอข่าวเซนซิทีฟต้องสร้างวิจารณญาณ มากกว่าปลุกเร้าอารมณ์ร่วม
—
อาจารย์วารสารฯ มธ. แนะ "สื่อ" นำเสนอข่าวเซนซิทีฟต้องสร้างวิ...
นัท วอล์คเกอร์ พาวอล์ค: เที่ยวชมเมืองเก่า สัมผัสเสน่ห์ยามเย็นริมถนนพระอาทิตย์
—
ถนนพระอาทิตย์นั้นเริ่มตั้งแต่ถนนพระสุเมรุไปจนถึงมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ตลอด...