“สาธิตฯพระจอมเกล้า” ตามรอย “ในหลวงภูมิพล” เปิดบทเรียนหุ่นยนต์ สานฝันเด็กไทยสร้าง “SUSTAINABOTS – หุ่นยนต์แห่งความยั่งยืน

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

          ปฏิเสธไมได้ว่าวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างความเจริญก้าวหน้าให้กับประเทศ โดยเฉพาะในภาคการศึกษาที่ต้องเป็นจุดแรกเริ่มในการบ่มเพาะและผลิตทรัพยากรมนุษย์เพื่อให้มีทักษะและความพร้อมในการขับเคลื่อนประเทศด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีต่อเนื่องถึงการสร้างนักวิจัย นักคิด นักประดิษฐ์นวัตกรรมเพื่อก้าวสู่โลกแห่งอนาคต อย่างไรก็ตามการพัฒนาองค์ความรู้วิทยาศาสตร์ในด้านเดียวอาจยังไม่เพียงพอ สิ่งสำคัญคือต้องพัฒนาทักษะความคิดด้าน "ความยั่งยืน" นั่นคือ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีต้องสร้างสิ่งที่เป็นรูปธรรมและนำไปใช้สร้างความยั่งยืนให้กับสังคมได้จริง สอดคล้องกับแนวพระราชดำริจากพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชด้านการคิดค้นวิทยาการประยุกต์ และนี่คือโจทย์สำคัญของของประเทศชาติที่จะต้องผลิตบุคลากรสู่ปลายทางและสร้างประโยชน์ให้แก่ส่วนรวมได้อย่างสูงสุดแท้จริง
          ศ.ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ อธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เปิดเผยว่า การศึกษาในปัจจุบันจำเป็นต้องลงทุนการพัฒนาคุณภาพควบคู่ไปกับการการส่งเสริมให้เกิดทรัพยากรมนุษย์ที่มีความสามารถด้านงานวิจัยและพัฒนา (R&D) ให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศในยุคที่เทคโนโลยีและดิจิทัลกำลังเข้ามาเปลี่ยนแปลงและเป็นส่วนหนึ่งของวิถีการดำเนินชีวิต โรงเรียนสาธิตนานาชาติพระจอมเกล้าจึงได้ตระหนักถึงการบ่มเพาะและปลูกฝังองค์ความรู้ที่เน้นเรื่อง "ความก้าวหน้า" ผ่านระบบการเรียนการสอนแบบสะตีม (STEAM) ตามมาตรฐานของสหรัฐอเมริกามาเป็นหลักสูตรเพื่อให้นักเรียนเกิดความฉลาดรู้ ความเข้าใจ และมุมมองใหม่ๆที่จะนำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพชีวิต พร้อมตอบสนองประโยชน์สุขของสังคมอย่างยั่งยืนด้วยการผสมผสานองค์ความรู้ศาสตร์และศิลป์แขนงต่างๆที่ได้ศึกษาเล่าเรียนมาอย่างรอบด้าน 
          โดยตามแนวทางการประยุกต์องค์ความรู้โรงเรียนยังได้บรรจุหลักสูตร STEM With Robotics ซึ่งเป็นหลักสูตรการสอนที่มีหุ่นยนต์เป็นสื่อกลางการเรียนวิชา วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์ พัฒนาการสอนโดยผู้เชี่ยวชาญจาก"คาร์เนกี เมลลอน" มหาวิทยาลัยด้านนวัตกรรมอันดับหนึ่งของโลกและเพิ่งเกิดขึ้นที่นี่เป็นที่แรกของประเทศไทย ให้เป็นอีกหนึ่งหลักสูตรการศึกษาของโรงเรียน ซึ่งจะช่วยบ่มเพาะให้นักเรียนตระหนักถึงความสำคัญและมีทักษะด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยี พร้อมช่วยให้เกิดศักยภาพทางกระบวนการความคิดที่สำคัญใน 5 รูปแบบ คือ 1.การคิดอย่างสร้างสรรค์พร้อมถ่ายทอดสู่การสรรค์สร้างผลงาน 2.การคิดแก้ปัญหาในกิจกรรมที่ทำร่วมกันทั้งแบบทีมและแบบรายบุคคล 3.การคิดตั้งคำถามภายใต้ความอยากรู้อยากเห็นเพื่อให้เกิดการทดลอง การตีความใหม่ๆ และกระบวนการวางแผนทำงานอย่างเป็นลำดับขั้น 4.การคิดค้นวิธีการที่แตกต่างหรือนอกเหนือจากทฤษฎี เพื่อให้ทราบและเกิดวิธีการดำเนินงานที่ดีที่สุด และ 5. การคิดอย่างอิสระและการจินตนาการเพื่อนำเสนอมุมมองใหม่ๆ พร้อมพัฒนาสู่สิ่งที่ยังไม่เคยเกิดขึ้นและใช้จริงได้ในสังคม รวมถึงยังมีการสอดแทรกและผสมผสานรูปแบบการเรียนการสอนที่บ่มเพาะให้เยาวชนเป็นนักนวัตกรรมที่มีแก่นแท้ของการพัฒนาสังคมที่มีความสมดุล และเกิดการนำไปใช้ในการพัฒนาด้านต่างๆที่เกี่ยวข้อง สอดคล้องตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพล อดุลยเดชด้าน "ความยั่งยืน" ที่องค์การสหประชาชาติเองก็กำลังกระตุ้นให้ทั่วโลกคำนึงถึงด้านดังกล่าวอย่างมีนัยสำคัญ
          ศ.ดร.สุชัชวีร์ กล่าวเพิ่มเติมว่า โดยผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรมที่โรงเรียนได้แสดงให้เห็นคือผลงานสิ่งประดิษฐ์ของนักเรียนในโรงเรียน ได้แก่ ผลงาน Multicore Cable Fit-Outing Robot หรือหุ่นยนต์เดินสายสาธารณูปโภคใต้ดิน และผลงาน Aquabot หรือหุ่นยนต์เพื่อการปลูกปะการังเทียม ซึ่งได้แรงบันดาลใจจากโครงการในพระราชดำริอันจะนำมาซึ่งความสมดุลและยั่งยืนของโลก โดยผลงานดังกล่าวยังได้เข้าร่วมแข่งขันบนเวที World Robot Olympaid Thailand 2017 (WRO) ซึ่งเด็กนักเรียนสามารถคว้ารางวัลชนะเลิศและรองชนะเลิศ และยังจะเป็นตัวแทนประเทศไทยในการเข้าสู่การแข่งขัน โอลิมปิกหุ่นยนต์ระดับโลก (WRO 2017) ณ เมืองซานโฮเซ ประเทศคอสตาริกาในลำดับถัดไป
          ด้านนางสาวณจรีย์ จันทร์เจิดศักดิ์ หรือนาโน นักเรียนชั้นเกรด 10 โรงเรียนสาธิตนานาชาติพระจอมเกล้า หัวหน้าทีมผลงานชนะเลิศการแข่งขัน WRO Thailand 2017 ประเภทความคิดสร้างสรรค์ เล่าว่า ปัจจุบันการใช้เทคโนโลยีจากหุ่นยนต์ถูกนำไปใช้กับชีวิตประจำวันของมนุษย์โดยเฉพาะในด้านสาธารณูปโภคมากขึ้น ทางทีมจึงได้คิดและสร้างสรรค์ผลงาน Multicore Cable Fit-Outing Robot หรือหุ่นยนต์เดินสายสาธารณูปโภคใต้ดินขึ้น ซึ่งมีแรงบันดาลใจจากแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ที่ทรงช่วยเหลือประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่อยู่ในชนบทห่างไกลที่ยังไมได้รับสิ่งอำนวยความสะดวกที่จำเป็น ด้วยการเข้าไปช่วยเหลือด้านสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานทางเศรษฐกิจเบื้องต้น เช่น การประปา ไฟฟ้า ถนน ฯลฯ พร้อมด้วยโครงการที่เกี่ยวข้องด้านดินที่พระองค์ทรงมุ่งให้เกิดการการใช้ดินและพื้นที่ให้เกิดประสิทธิภาพและประโยชน์สูงสุด โดยแนวคิดดังกล่าวยังถือเป็นการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในแต่ละด้านอย่างมีความเชื่อมโยงกันและมีลักษณะคล้ายการต่อภาพจิ๊กซอว์ ซึ่งหากต่อสำเร็จก็จะช่วยในเรื่องอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศได้รวดเร็วขึ้น
          สำหรับกลไกของหุ่นยนต์ Multicore Cable Fit-Outing Robot จะเน้นให้เป็นเครื่องมือขนาดใหญ่ในการการทำงานหนักบนพื้นที่ที่มนุษย์ไม่สามารถเข้าถึงได้หรือเข้าถึงได้ยาก โดยหุ่นจะแบ่งเป็น 2 ชุด คือ ชุดที่ 1 จะเป็นหุ่นยนต์ขนาดเล็กที่ทำหน้าที่ในการนำหน้าเพื่อสำรวจอุปสรรคของพื้นดินและใต้ดินโดยมีเซ็นเซอร์ในการตรวจจับพร้อมวิเคราะห์ออกมาในรูปของแผนที่ เพื่อให้หุ่นยนต์ชุดที่ 2 ที่เป็นหุ่นยนต์ใหญ่ทำหน้าที่ในการเดินเครื่องขุดดิน พร้อมฝังกลบสาย Multicore ซึ่งประกอบด้วย สายโทรศัพท์ สายไฟฟ้า ท่อประปา และแก๊สธรรมชาติลงบริเวณใต้ดินในเวลาเดียวกัน ในการร่วมกันสร้างสรรค์ผลงานนี้ขึ้น ทางทีมคาดหวังว่าหากในอนาคตหุ่นยนต์ต้นแบบนี้สามารถพัฒนาเป็นรูปธรรมได้จริง เชื่อว่าการเข้าถึงสิ่งอำนวยความสะดวกในชนบทจะรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้น ยิ่งถ้าหากได้รับการสนับสนุนอย่างเต็มที่ก็คิดว่าจะสามารถนำไปใช้ในด้านอื่นๆต่อได้ อีกทั้งยังจะช่วยลดการพึ่งพิงเทคโนโลยีจากภายนอก อันจะนำมาซึ่งความสมดุลของด้านต่างๆในระยะยาว
          ขณะที่ ด.ช.เทพมงคล พันธุ์กระทึก หรือโน้ต นักเรียนชั้นเกรด 7 โรงเรียนสาธิตนานาชาติพระจอมเกล้า หัวหน้าผลงานรางวัลชนะเลิศอันดับที่ 2 การแข่งขัน WRO Thailand 2017 ประเภทความคิดสร้างสรรค์ เล่าว่า แนวคิดและการประดิษฐ์ผลงาน Aquabot หรือหุ่นยนต์เพื่อการปลูกปะการังเทียมมาจากการศึกษาโครงการในพระราชดำริด้านประมงและชายฝั่งทะเลของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ที่ในปัจจุบันปัญหาจากภัยธรรมชาติ โดยเฉพาะปรากฏการณ์เอลนิโญ่ และการกระทำของมนุษย์ทำให้สิ่งมีชีวิตบริเวณแนวปะการังน้ำตื้นของท้องทะเลไทยเริ่มเปลี่ยนแปลงและค่อยๆตายไปจนถึงขั้นวิกฤต จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ขณะนี้จะต้องสร้างบ้านใหม่ให้กับสัตว์น้ำใต้ทะเล เพื่อให้ปะการังและสิ่งมีชีวิตเริ่มฟื้นคืนกลับมาเป็นสีสัน พร้อมเพิ่มแหล่งอาหารและความสมดุลให้กับธรรมชาติ ช่วยลดความรุนแรงของคลื่นที่มีผลต่อการกัดเซาะพังทลายของชายฝั่ง ตลอดจนฟื้นฟูแหล่งท่องเที่ยวให้กลับมาสวยงามมีชีวิตชีวาอีกครั้ง ซึ่งจะต่อเนื่องไปถึงการสร้างงาน สร้างรายได้ให้กับคนในชุมชน รวมถึงประเทศไทยอีกด้วย
          ด้านการทำงานของ Aquabot นั้น จะทำหน้าที่แทนแรงงานมนุษย์ในการปล่อยปะการังเทียมเพื่อให้สามารถใช้เป็นที่อยู่ของสัตว์น้ำใต้ทะเล โดยที่หุ่นยนต์จะมีคุณสมบัติพิเศษในเรื่องของความรวดเร็วและประสิทธิภาพด้านความแม่นยำที่มากกว่า ทั้งยังเป็นหุ่นยนต์ที่มีความแข็งแรงทนทาน มีความสามารถในการต้านทานกระแสน้ำ มีความปลอดภัยโดยไม่ทำลายระบบนิเวศและมีอายุการใช้งานที่ยาวนานอีกด้วย อย่างไรก็ตาม การเป็นตัวแทนประเทศไทยไปแข่งขัน WRO 2017 ที่ประเทศคอสตาริกา นอกเหนือจากทีมจะได้ฝึกซ้อมอย่างหนักทั้งในด้านการเขียนโปรแกรม การออกแบบ การประกอบหุ่น และลดข้อผิดพลาดให้น้อยที่สุดเพื่อที่จะสร้างชื่อเสียงให้กับประเทศไทยแล้ว การไปแข่งขันในครั้งนี้ยังมุ่งหวังที่จะให้ทั่วโลกตระหนักถึงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติเนื่องจากปัจจุบันชายฝั่งทะเลของทั่วโลกกำลังถูกทำลาย และหวังให้เกิดการร่วมมือพัฒนาพร้อมกันอย่างเป็นวงกว้างเพราะเป็นหน้าที่ของทุกๆคน นอกจากนี้ตนและทีมยังจะเก็บเกี่ยวประสบการณ์และเทคนิคใหม่ๆด้านหุ่นยนต์จากเพื่อนต่างชาติในประเทศชั้นนำ พร้อมนำมาปรับใช้ในการแก้ปัญหาและบูรณาการกับการเรียนรู้ในวิชา STEM With Robotics รวมถึงวิชาที่เกี่ยวข้องอย่างเป็นรูปธรรมเพื่อที่จะคิดค้นสิ่งใหม่ๆที่ยังไม่เคยเกิดขึ้นต่อไป ด.ช.เทพมงคล กล่าว
          โลกในวันนี้หมุนเร็วกว่าที่เคยเป็นมา และเชื่อว่าอีกไม่ถึง 10 ปีข้างหน้า โลกกำลังจะผลัดไปสู่ยุคที่วิถีชีวิตของทุกสรรพสิ่งต้องพึ่งพิงและผูกขาดกับเทคโนโนโลยีอัจฉริยะ นวัตกรรม และระบบดิจิทัล การเกิดขึ้นของโรงเรียนสาธิตนานาชาติพระจอมเกล้าถือเป็นมิติใหม่ของสถาบันการศึกษาไทยที่จะนำร่องเปลี่ยนกลวิธีและหลักสูตรการเรียนที่พุ่งเป้าไปสู่การผลิตบุคลากรเข้าสู่ตลาดผู้นำด้วยการส่งเสริมรายวิชาและกิจกรรมที่จะเป็นแนวทางในการสร้างฐานแห่งการผลิตนักคิด นักประดิษฐ์นวัตกรรม ตลอดจนนักวิจัยที่มีความสามารถ สำหรับพ่อแม่ผู้ปกครอง และนักเรียนคนไหนที่มีความสนใจและใฝ่ฝันในการก้าวเข้าสู่วงการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สามารถร่วมกิจกรรม KMIDS OPEN HOUSE ได้วันเสาร์ที่ 21 ตุลาคม 2560 นี้ โดยติดตามความเคลื่อนไหวพร้อมทั้งข้อมูลและรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.kmids.ac.th
          สำหรับผู้ปกครองและนักเรียนที่สนใจรายละเอียด สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มติมได้ที่ www.kmids.ac.th ฝ่ายวิชาการ โรงเรียนสาธิตนานาชาติพระจอมเกล้า โทรศัพท์ 085-9174242 หรือเข้าไปที่ Facebook Fanpage : KMIDS
“สาธิตฯพระจอมเกล้า” ตามรอย “ในหลวงภูมิพล” เปิดบทเรียนหุ่นยนต์ สานฝันเด็กไทยสร้าง “SUSTAINABOTS – หุ่นยนต์แห่งความยั่งยืน
 
“สาธิตฯพระจอมเกล้า” ตามรอย “ในหลวงภูมิพล” เปิดบทเรียนหุ่นยนต์ สานฝันเด็กไทยสร้าง “SUSTAINABOTS – หุ่นยนต์แห่งความยั่งยืน
“สาธิตฯพระจอมเกล้า” ตามรอย “ในหลวงภูมิพล” เปิดบทเรียนหุ่นยนต์ สานฝันเด็กไทยสร้าง “SUSTAINABOTS – หุ่นยนต์แห่งความยั่งยืน

ข่าวหุ่นยนต์แห่งความยั่งยืน+วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีวันนี้

FoSTAT และสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ จับมือ ProPak Asia 2025 จัดสัมมนา ปั้นอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารสู่มาตรฐานสากล ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม

สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ และ สมาคมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางอาหารแห่งประเทศไทย (FoSTAT) และ อินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ ประเทศไทย ผู้จัดงาน ProPak Asia 2025 งานแสดงเทคโนโลยี เครื่องจักร และโซลูชันด้านกระบวนการผลิต การแปรรูป และบรรจุภัณฑ์ที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย ซึ่งครอบคลุมอุตสาหกรรมอาหาร อาหารแปรรูป เครื่องดื่ม และบรรจุภัณฑ์ ยังคงยึดมั่นในพันธกิจที่จะส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมการผลิตไทยให้แข็งแกร่งเป็นฟันเฟืองสำคัญของเศรษฐกิจประเทศ เพื่อเดินหน้ายกระดับองค์ความรู้สู่ผู้ประกอบการในทุกภูมิภาค ดังนั้นทั้ง 3

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโล... สำหรับนักเรียนทุน พสวท. ระดับมัธยมศึกษา ปีการศึกษา 2567 — สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) จัดค่ายวิทยาศาสตร์ภาคฤดูร้อนสำหรับนักเรียนทุ...

ดร.โศรดา วัลภา รองผู้ว่าการบริการอุตสาหกร... วว. จับมือพันธมิตรไทย-จีน เสริมสร้างความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม — ดร.โศรดา วัลภา รองผู้ว่าการบริการอุตสาหกรรม สถาบันวิจัยวิทย...

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและน... สวทช. โดย นาโนเทค เฟ้นหา 8 ผู้ประกอบการ ต่อยอดนวัตกรรมสมุนไพรสู่ผลิตภัณฑ์มูลค่าสูง — กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดยศูนย์นาโนเท...

ดร.กุศลิน มุสิกุล ผู้ช่วยผู้อำนวยการสถาบั... สสวท. ประกาศชัยครู - นักเรียน ยอดฝีมือ เวทีประกวดงานวิจัยวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม GLOBE SRC 2025 — ดร.กุศลิน มุสิกุล ผู้ช่วยผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมการสอนว...

"การใช้สื่อชุดกิจกรรม IPST SMART BOX สร้า... สสวท. อบรมครูวิทย์และเทคโนโลยี 4 ภาค สมัครได้ถึง 3 พฤษภาคมนี้ — "การใช้สื่อชุดกิจกรรม IPST SMART BOX สร้างผลงานโดยไม่เขียนโปรแกรม" สถาบันส่งเสริมการสอนวิท...