บทความ จาก 'เจนเนอราลี่’ เรื่อง เคล็ดลับปรับพฤติกรรม เลี่ยงความดันโลหิตสูง

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

          เห็นข่าวที่แชร์ทางโซเชียลมีเดียอยู่บ่อยครั้งเกี่ยวกับ เรื่องโรคความดันโลหิตสูงที่เหมือนจะไม่น่ากลัวแต่เป็นภัยเงียบซึ่งร้ายแรงไม่น้อย เพราะคนจำนวนมากมักจะไม่รู้ว่าตัวเองมีอาการความดันโลหิตสูงแฝงอยู่ในร่างกาย เพราะหากยังไม่เป็นหนักถึงขั้นทำให้เกิดอาการต่อเนื่องอื่น ๆ หรือโรคแทรกซ้อน ความดันโลหิตสูงมักจะซ่อนตัวอยู่อย่างเงียบเชียบโดยไม่แสดงอาการให้ทราบ นอกจากต้องเข้ารับการตรวจโดยแพทย์เท่านั้นถึงจะรู้
          นายแพทย์ไพบูลย์ อัศวเลิศแสง อายุรแพทย์โรคหัวใจ โรงพยาบาลเปาโล พหลโยธิน ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคความดันโลหิตสูง อธิบายให้ฟังว่า ความดันโลหิตสูง หรือ Hypertension หรือ High Blood Pressure เป็นภาวะที่ความดันเลือดภายในหลอดเลือดแดงสูงกว่าปกติ อันสามารถก่อให้เกิดอาการแทรกซ้อนต่าง ๆ ตามมาได้ หากไม่ได้รับการรักษา ซึ่งจากสถิติพบว่า สถานการณ์ของโรคความดันโลหิตสูงมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นทุกปี โดยข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุขรายงานว่า จำนวนผู้ป่วยและอัตราการเสียชีวิตจากโรคความดันโลหิตสูงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากในปี 2550 พบอัตราผู้ป่วยต่อประชากรแสนคนที่เข้ารับการรักษาด้วยโรคความดันโลหิตสูง 1,025.44 คน เพิ่มขึ้นเป็น 1,561.42 คนในปี 2557 และมีอัตราการเสียชีวิตจากโรคนี้ต่อประชากรแสนคน จาก 3.64 ราย ในปี 2550 เพิ่มขึ้นเป็น 10.95 รายในปี 2557 ดังนั้น ความดันโลหิตสูงจึงน่ากลัวไม่น้อย
          หากกล่าวตามจริงแล้ว โรคความดันโลหิตสูงไม่มีอาการบ่งชี้ภายนอก หรือพูดง่าย ๆ คือไม่ค่อยแสดงอาการให้เห็น ยกเว้นผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้ในระยะรุนแรงจนเส้นเลือดตีบหรือแตก อาจจะปวดศีรษะอย่างรุนแรง หายใจสั้น เลือดกำเดาไหล แต่อาการเหล่านี้ก็ไม่สามารถฟันธงได้ว่าเกิดจากโรคความดันโลหิตสูง จำเป็นต้องเข้ารับการตรวจวินิจฉัยโดยแพทย์เท่านั้นจึงจะสามารถบอกได้ว่าคุณเป็นโรคความดันโลหิตสูงหรือไม่
          ส่วนสาเหตุของโรคแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ ชนิดที่ไม่ทราบสาเหตุของโรคชัดเจน ซึ่งมักจะเกิดกับกลุ่มคนที่มีญาติพี่น้องเป็นโรคนี้มาก่อน และกลุ่มวัยกลางคนขึ้นไป ซึ่งตามสถิติแล้วผู้ชายเป็นเยอะกว่าผู้หญิง และชนิดที่ทราบสาเหตุ โดยอาจจะเกิดจากการตั้งครรภ์ การกินยาบางชนิด การได้รับฮอร์โมนบางชนิด ผู้ที่เป็นโรคไต ผู้ที่เป็นเนื้องอกที่ต่อมหมวกไต ฯลฯ ซึ่งในรายที่เกิดด้วยสาเหตุเหล่านี้ อาการความดันโลหิตสูงจะหายไปเอง เมื่อได้รับการรักษาโรคต้นเหตุให้หาย หรือหยุดการกินยาและฮอร์โมนดังกล่าว
          นอกจากนี้ยังมีปัจจัยที่อาจจะกระตุ้นให้เกิดอาการความดันโลหิตสูงได้ เช่น ความเครียด อารมณ์ที่แกว่งและเปลี่ยนอย่างรวดเร็ว เช่น ตกใจมาก ๆ ดีใจมาก ๆ โกรธมาก ๆ หรือหากต้องใช้แรงหนัก ๆ ก็ทำให้ความดันขึ้นได้ รวมไปถึงการกินอาหารรสจัด โดยเฉพาะรสเค็ม ดื่มแอลกอฮอล์ และน้ำหนักตัวที่เพิ่มสูงขึ้น
          ความน่ากลัวของโรคนี้คือ เป็นปัจจัยเสี่ยงให้เกิดอาการและโรคต่าง ๆ เช่น เส้นเลือดตีบ แข็ง แตก ทำให้เป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต โรคหัวใจ เพราะเมื่อมีอาการความดันโลหิตสูงนาน ๆ หัวใจต้องทำงานหนักจนอาจเป็นโรคหัวใจโตได้นอกจากนี้ โรคไตเสื่อม ไตวาย ก็เป็นผลมาจากความดันได้เช่นกัน รวมถึงอาการที่เส้นเลือดตามแขนขาตีบ ขาดเลือดไปหล่อเลี้ยง ทำให้เนื้อตายจนต้องตัดอวัยวะทิ้ง และความดันโลหิตสูงยังทำให้จอประสาทตาเสื่อมได้อีกด้วย
          น่ากลัวขนาดนี้หากไม่อยากให้เกิดขึ้นกับตัวเอง ต้องรีบไปรับการตรวจวินิจฉัย โดยเฉพาะในกลุ่มวัยกลางคนเพราะอย่างที่บอก โรคความดันโลหิตสูงไม่แสดงอาการภายนอก อันตรายของโรคเกิดจากโรคแทรกซ้อนต่าง ๆ ที่เป็นผลกระทบจากความดันที่สูงขึ้น หากรู้เร็วก็จะสามารถป้องกันโรคแทรกซ้อนเหล่านั้นได้เร็ว และโรคความดันโลหิตสูงเป็นแล้วเป็นเลย รักษาไม่หาย ต้องกินยาคุมอาการไปเรื่อย ๆ เพื่อไม่ให้มีโรคแทรกซ้อนตามมา
          ทั้งนี้ต้องควบคู่ไปกับการดูแลตัวเองด้วยการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ลดของเค็ม งดแอลกอฮอล์ พยายามอย่าเครียด ควบคุมน้ำหนักตัวไม่ให้เกินมาตรฐาน และรับการตรวจวัดค่าระดับความดันโลหิตเป็นประจำอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ซึ่งหากสร้างวินัยตรงนี้ได้ก็จะช่วยควบคุมอาการความดันโลหิตสูงได้อย่างยั่งยืนยิ่งขึ้น
          ที่มา: บริษัท เจนเนอราลี่ ไทยแลนด์ และ โรงพยาบาลเปาโล พหลโยธิน

บทความ จาก 'เจนเนอราลี่’ เรื่อง เคล็ดลับปรับพฤติกรรม เลี่ยงความดันโลหิตสูง

ข่าวโรงพยาบาลเปาโล พหลโยธิน+ไพบูลย์ อัศวเลิศแสงวันนี้

โรงพยาบาลเปาโล พหลโยธิน จัดงาน "Beyond The Better Life With Robotic Surgery" นำ AI Technology Robotic เข้ามาเป็น ทางเลือกใหม่ในการรักษา

โรงพยาบาลเปาโล พหลโยธิน ตอกย้ำความเป็นผู้นำด้านองค์กรแห่งนวัตกรรม จัดงาน "Beyond The Better Life With Robotic Surgery" ทางเลือกใหม่สู่การเคลื่อนไหวที่ดีกว่า เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 9 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา โดยเชิญทีมศัลยแพทย์กระดูกและข้อ ของสถาบันกระดูกละข้อ รพ. เปาโล พหลโยธิน มาร่วมแบ่งปันประสบการณ์ สร้างแรงบันดาลใจ รวมถึงเพิ่มขีดศักยภาพการดูแลรักษาผู้ป่วยให้กับทีมแพทย์ และบุคลากรในโรงพยาบาล โดยการนำ "AI Technology Robotic หุ่นยนต์ผู้ช่วยผ่าตัด" เข้ามาเป็นทางเลือกใหม่เพื่อสร้างความมั่นใจในอีกขั้น

ออกแบบอวัยวะมนุษย์ด้วย 3D Printing เทคโนโ... โรงพยาบาลเปาโล พหลโยธิน ผู้นำนวัตกรรมสร้างสรรค์การผ่าตัดปิดกะโหลกแบบ 3D Printing — ออกแบบอวัยวะมนุษย์ด้วย 3D Printing เทคโนโลยีที่ช่วยยกระดับการผ่าตัดของว...

ปัจจุบันโรคอ้วนเป็นปัญหาทางสาธารณสุขสำคัญ... Safe Surgery ผ่าตัดรักษาโรคอ้วน ปลอดภัยด้วยมาตรฐานระดับสากล ที่โรงพยาบาลเปาโล พหลโยธิน — ปัจจุบันโรคอ้วนเป็นปัญหาทางสาธารณสุขสำคัญของโลกและประเทศไทย ประชา...

โรงพยาบาลเปาโล พหลโยธิน เดินหน้าพัฒนาความ... รพ. เปาโล พหลโยธิน มุ่งพัฒนาศักยภาพด้านการแพทย์ผ่าตัดผ่านกล้องรักษาโรคอ้วนในระดับนานาชาติ — โรงพยาบาลเปาโล พหลโยธิน เดินหน้าพัฒนาความเชี่ยวชาญในการรักษาโร...

ผศ.นพ.วีรยะ เภาเจริญผู้อำนวยการรพ.เปาโลพห... ผศ.นพ.วีรยะ เภาเจริญผู้อำนวยการ รพ.เปาโลพหลโยธินเปิดบ้าน"คลีนิครักไต" ในบรรยากาศอบอุ่น — ผศ.นพ.วีรยะ เภาเจริญผู้อำนวยการรพ.เปาโลพหลโยธินเปิดบ้าน"คลีนิครัก...

โรงพยาบาลเปาโล พหลโยธิน ในเครือโรงพยาบาลพ... รพ. เปาโล พหลโยธิน (ทำงานได้บุญ) คว้าประกาศนียบัตรการรับรอง 2 ปีซ้อน จาก รพ. สงฆ์ — โรงพยาบาลเปาโล พหลโยธิน ในเครือโรงพยาบาลพญาไท-เปาโล ในฐานะโรงพยาบาลเอก...