ปภ.วางระบบการฟื้นฟูพื้นที่ประสบภัยตามหลักการพัฒนาให้ดีกว่าและปลอดภัยกว่าเดิม (Build Back Better and Safer) มุ่งสร้างประเทศไทยปลอดภัยยั่งยืน

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

          กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) บูรณาการหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพิ่มประสิทธิภาพ การฟื้นฟูอย่างยั่งยืน ตามแนวคิด "การพัฒนาให้ดีกว่าและปลอดภัยกว่าเดิม (Build Back Bette and Safer)" โดยให้ผู้ประสบภัยมีส่วนร่วมในกระบวนการฟื้นฟู คืนสภาพ และสร้างใหม่ เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพความเสี่ยงภัยและวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของผู้ประสบภัย ด้วยการพัฒนาระบบการประเมินความต้องการหลังเกิดสาธารณภัย เพื่อนำไปเป็นกรอบแนวทางในการฟื้นฟูพื้นที่ประสบภัย พัฒนาระบบปฏิบัติการและบริหารจัดการด้านการฟื้นฟูสภาพร่างกายและสภาพจิตใจของผู้ประสบภัยให้กลับมาประกอบอาชีพและดำรงชีพได้ตามปกติ เสริมสร้างแนวทางการฟื้นฟูที่ดีกว่าและปลอดภัยกว่าเดิม โดยประยุกต์ใช้หลักการพัฒนาอย่างยั่งยืนในการวางแผนการฟื้นฟู เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดภัยพิบัติขึ้นซ้ำในอนาคต ซึ่งถือเป็นกลไกสำคัญในการสร้างประเทศไทยให้ "รู้รับ ปรับตัว ฟื้นเร็วทั่ว อย่างยั่งยืน"
          นายฉัตรชัย พรหมเลิศ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กล่าวว่า การฟื้นฟูพื้นที่ประสบภัยถือเป็นกระบวนการสำคัญภายหลังจากที่ภัยพิบัติสิ้นสุด เพื่อปรับปรุงระบบสาธารณูปโภคให้ใช้งานได้ตามเดิม และปรับสภาพแวดล้อมของชุมชนให้กลับสู่ภาวะปกติ ซึ่งจะช่วยให้ผู้ประสบภัยสามารถกลับมาดำเนินชีวิตได้ตามปกติโดยเร็ว กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย(ปภ.) จึงได้บูรณาการหน่วยงานที่เกี่ยวข้องวางระบบและเพิ่มประสิทธิภาพการฟื้นฟูอย่างยั่งยืน ตามแนวคิด "การพัฒนาให้ดีกว่าและปลอดภัยกว่าเดิม (Build Back Better and Safer)" ภายใต้แผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ พ.ศ.2558 โดยให้ผู้ประสบภัยมีส่วนร่วมในกระบวนการฟื้นฟู คืนสภาพ และสร้างใหม่ เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพความเสี่ยงภัยและวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของผู้ประสบภัย ซึ่งมีแนวทางการดำเนินงาน ดังนี้ 1.พัฒนาระบบการประเมินความต้องการหลังเกิดสาธารณภัย โดยประเมินสภาพความเสียหายของพื้นที่ประสบภัยในมิติต่างๆ ทั้งด้านชีวิต ทรัพย์สิน ระบบสาธารณูปโภค ทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สภาพแวดล้อมในเชิงกายภาพ ความสูญเสียทางเศรษฐกิจ รวมถึงการประเมินความต้องการในการฟื้นฟูของชุมชน เพื่อนำไป เป็นกรอบแนวทางในการฟื้นฟูพื้นที่ประสบภัยให้กลับสู่ภาวะปกติหรือให้ดีกว่าและปลอดภัยกว่าเดิม 2.พัฒนาระบบปฏิบัติการและบริหารจัดการด้านการฟื้นฟู โดยวางแนวทางปฏิบัติในการฟื้นฟูสภาพร่างกายและสภาพจิตใจของผู้ประสบภัย การเสริมสร้างศักยภาพให้ผู้ประสบภัยกลับมาประกอบอาชีพและดำรงชีพได้ตามปกติ การเสริมสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจ โดยให้การช่วยเหลือด้านการเงินแก่ผู้ประสบภัย การจัดตั้งกองทุนเงินกู้ยืม การลดหย่อนภาษี การปล่อยเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ เพื่อส่งเสริมการประกอบอาชีพและการลงทุน รวมถึงการฟื้นฟูสภาพแวดล้อมและทรัพยากรทางธรรมชาติของชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากสาธารณภัย 3. เสริมสร้างแนวทางการฟื้นฟูที่ดีกว่าและปลอดภัยกว่าเดิมโดยมุ่งให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการเตรียมพร้อมรับมือและฟื้นกลับอย่างรวดเร็ว รวมถึงการประยุกต์ใช้หลักการพัฒนาอย่างยั่งยืนในการวางแผนการฟื้นฟู เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดภัยพิบัติขึ้นซ้ำในอนาคต เตรียมความพร้อมในการให้บริการด้านสุขภาพอนามัย ครอบคลุมถึงการสาธารณสุข สุขภาพจิต และการบริการทางการแพทย์ ซ่อมแซมบ้านเรือนที่ได้รับความเสียหาย หรือพัฒนาให้เป็นที่อยู่อาศัยแบบถาวร สำหรับเป็นทางเลือกในการแก้ไขปัญหาด้านที่อยู่อาศัยของผู้ประสบภัย เพิ่มศักยภาพในการดำเนินงานฟื้นฟูระบบโครงสร้างพื้นฐาน ทั้งระบบประปา ระบบไฟฟ้า ระบบการสื่อสาร ระบบการขนส่ง และการสุขาภิบาลให้สามารถกลับมาใช้งานได้โดยเร็ว และให้บริการประชาชนได้ตามปกติ บูรณะและปฏิสังขรณ์โบราณสถาน และสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ รวมถึงการฟื้นฟูระบบนิเวศและการดูแลทรัพยากรธรรมชาติ ตลอดจนพัฒนาโอกาสทางเศรษฐกิจ เพื่อให้ชุมชนมีความเข้มแข็งอย่างยั่งยืน พึ่งพาตนเองได้ มีรายได้เลี้ยงตนเองและครอบครัวในช่วงที่ประสบภัย ทั้งนี้ ปภ. มุ่งดูแลชีวิตความเป็นอยู่ของผู้ประสบภัยให้สามารถช่วยเหลือตนเองและดำเนินชีวิตได้ตามปกติในช่วงที่เกิดภัย รวมถึงพัฒนาระบบป้องกันภัยให้ดีขึ้นและปลอดภัยกว่าเดิม ภายใต้การมีส่วนร่วมของผู้ประสบภัยในกระบวนการฟื้นฟู การคืนสภาพ และการสร้างใหม่ เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพความเสียหายและความต้องการของผู้ประสบภัย ซึ่งถือเป็นกลไกสำคัญในการสร้างประเทศไทยให้ "รู้รับ ปรับตัว ฟื้นเร็วทั่ว อย่างยั่งยืน"
 
 

ข่าวกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย+ประเทศไทยปลอดภัยวันนี้

NT ร่วม ปภ. ทดสอบระบบ Cell Broadcast ในพื้นที่ครั้งแรก แจ้งผลมีประสิทธิภาพ รวดเร็ว ครอบคลุม เสริมความพร้อมระบบเตือนภัยแห่งชาติ

บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) หรือ NT ร่วมกับ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทดสอบระบบแจ้งเตือนภัยพิบัติผ่านเทคโนโลยี Cell Broadcast เป็นครั้งแรกของประเทศในลักษณะเสมือนจริงในพื้นที่ระดับเล็ก ภายในอาคารและบริเวณโดยรอบ ประกอบด้วย ศาลากลางจังหวัดเชียงราย ศาลากลางจังหวัดสุพรรณบุรี ศาลากลางจังหวัดอุบลราชธานี ศาลากลางจังหวัดสงขลา และอาคารศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา กรุงเทพมหานคร โดยผลการทดสอบเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถส่งข้อความแจ้งเตือนไปยัง

กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ร่วมกั... NT ยืนยันความพร้อม ร่วมทดสอบระบบแจ้งเตือนภัย Cell Broadcast ในพื้นที่จริง — กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้...

ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ผู้นำด้านดิจิทัลทรานส... ชไนเดอร์ อิเล็คทริค แนะ 7 วิธี เช็กระบบไฟฟ้า เพิ่มความปลอดภัย รับมือหยุดยาวเทศกาลสงกรานต์ — ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ผู้นำด้านดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่น ในการจัดก...

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข มอบทีม SEhRT ป... 'ภัยแล้ง' ทีม SEhRT กรมอนามัย-สสจ.-ท้องถิ่น เตรียมพร้อมรับมือพื้นที่ขาดแคลนน้ำ — กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข มอบทีม SEhRT ประสานภารกิจร่วมกับสำนักงานสาธารณ...

เทศกาลสงกรานต์เป็นช่วงเวลาแห่งความสุขและก... สงกรานต์นี้ เดินทางอย่างไร้กังวล! FWD ประกันชีวิต แจกประกันอุบัติเหตุฟรี 30,000 สิทธิ์ — เทศกาลสงกรานต์เป็นช่วงเวลาแห่งความสุขและการเดินทาง เพื่อช่วยลดควา...

นางสาวกาญจนา ภูพิพัฒน์ผล รองผู้อำนวยการสำ... กทม. เดินหน้ากำจัดปลาหมอคางดำ ลดผลกระทบเกษตรกร-แปรรูปสร้างรายได้ — นางสาวกาญจนา ภูพิพัฒน์ผล รองผู้อำนวยการสำนักพัฒนาสังคม รักษาราชการแทนผู้อำนวยการสำนักพั...

นายเจษฎา จันทรประภา ผู้อำนวยการสำนักการระ... กทม. เร่งถ่ายเทไหลเวียนน้ำในคลองช่องนนทรี เตรียมขุดลอกดินเลน-ทำความสะอาดท่อลอด — นายเจษฎา จันทรประภา ผู้อำนวยการสำนักการระบายน้ำ (สนน.) กทม. กล่าวชี้แจงกร...

กทม. เตรียมพร้อมระบบระบายน้ำรองรับสถานการณ์ฝน

นายเจษฎา จันทรประภา ผู้อำนวยการสำนักการระบายน้ำ (สนน.) กทม. กล่าวกรณีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) แจ้งเตือนสถานการณ์น้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำท่วมขังว่า กทม. ได้จัดทำแผนเตรียมความพร้อมด้านระบบระบายน้ำ เพื่อรองรับสถานการณ์ฝนตกหนัก โดยใช้แผน...