ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆนี้ที่ประชุมคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (บอร์ดคปภ.) ได้มีมติเห็นชอบร่างประกาศคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการกำหนดมาตรฐานขั้นต่ำในการบริหารจัดการความเสี่ยงของบริษัทประกันชีวิต และประกาศคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการกำหนดมาตรฐานขั้นต่ำในการบริหารจัดการความเสี่ยงของบริษัทประกันวินาศภัย (ประกาศ ERM) โดยขณะนี้อยู่ระหว่างขั้นตอนการนำเสนอปลัดกระทรวงการคลังในฐานะประธานกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยลงนามก่อนประกาศใช้ต่อไป
ดร.สุทธิพล กล่าวว่า ภายใต้บริบทการดำเนินธุรกิจในปัจจุบันซึ่งอยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ยุคดิจิทัล ท่ามกลางกระแสแห่งการเปลี่ยนแปลงทั้งด้านเทคโนโลยีในการดำเนินธุรกิจ พฤติกรรมของผู้บริโภค ความผันผวนของสภาวะเศรษฐกิจและการเมือง รวมถึงภัยคุกคามที่เติบโตขึ้นควบคู่กับนวัตกรรมเทคโนโลยีทางการเงิน (FinTech) ในรูปแบบต่างๆ ซึ่งในส่วนของประกันภัยก็มีพัฒนาการในเรื่องเทคโนโลยี การประกันภัย (InsurTech) ซึ่งในฐานะองค์กรกำกับดูแลด้านประกันภัย สำนักงาน คปภ. จำเป็นต้องติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดเพื่อให้ทันต่อเหตุการณ์อยู่เสมอ และเข้าใจถึงผลกระทบที่มีต่อองค์กรอย่างถ่องแท้รวมถึงให้ความสำคัญในเรื่องความสามารถในการปรับกลยุทธ์ของภาคธุรกิจประกันภัยในการดำเนินธุรกิจให้ทันต่อสถานการณ์ และการพัฒนาศักยภาพขององค์กรอย่างต่อเนื่อง ซึ่งถือเป็นหัวใจสำคัญที่จะนำพาให้องค์กรก้าวขึ้นเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมได้
"เรื่องนี้ถือเป็นประเด็นสากลร่วมสมัย ซึ่งเมื่อเร็วๆนี้ผมได้เข้าร่วมประชุม Asia General Insurance Executive Forum ที่ประเทศญี่ปุ่นก็มีการนำประเด็นเรื่องการบริหารความเสี่ยงของบริษัทประกันภัยมาเป็นหัวข้อสำคัญในการอภิปรายกัน ผมจึงเห็นว่าขณะนี้ถือเป็นช่วงเวลาเหมาะสม สำหรับการปรับปรุงหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารความเสี่ยง (Enterprise Risk Management หรือ ERM) ของบริษัทประกันภัยหลังจากที่ได้มีการประกาศใช้ครั้งแรกเมื่อปี 2551 เพื่อเน้นถึงบทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการบริษัทในการจัดให้องค์กรมีองค์ประกอบของการบริหารความเสี่ยงครบถ้วนตามแนว COSO ทั้งนี้สาระสำคัญของประกาศดังกล่าวประกอบด้วย วัฒนธรรมการบริหารความเสี่ยง โครงสร้างการกำกับดูแลการบริหารความเสี่ยง นโยบายการบริหารความเสี่ยง ขอบเขตการบริหารความเสี่ยง กระบวนการบริหารความเสี่ยง ระบบสารสนเทศเพื่อรองรับการบริหารความเสี่ยง การรายงานการทดสอบภาวะวิกฤตและการติดตามประเมินผล"
สำหรับการทดสอบภาวะวิกฤตเป็นหลักเกณฑ์ใหม่ที่เพิ่มเติมจากประกาศฉบับปี 2551 ซึ่งเดิมไม่ได้บัญญัติไว้ ทั้งนี้เพื่อเสริมสร้างให้ธุรกิจสามารถคาดการณ์ถึงผลกระทบจากความเสี่ยงที่คาดไม่ถึง และเพื่อสนับสนุนให้บริษัทมีการบูรณาการแนวคิดเรื่องการบริหารความเสี่ยงเข้ากับการดำเนินธุรกิจประจำวันได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงกำหนดให้บริษัทต้องจัดระเบียบโครงสร้างองค์กรให้เป็นไปตาม Three Lines of Defense Model ซึ่งเป็นรูปแบบที่เหมาะสมกับสถาบันการเงิน โดยแบ่งการบริหารความเสี่ยงออกเป็น 3 ด้าน 1) เจ้าของความเสี่ยง 2) ผู้กำกับดูแลความเสี่ยง และ 3) ผู้ตรวจสอบและประเมินประสิทธิภาพการบริหารความเสี่ยง โดยบริษัทต้องจัดให้มีการรายงานสถานะความเสี่ยง ทั้งความเสี่ยงด้านการเงิน เช่น ความเสี่ยงด้านตลาด ความเสี่ยงด้านเครดิต ความเสี่ยงด้านการกระจุกตัว และความเสี่ยงด้านความเชื่อมั่นของผู้บริโภค เช่น ความเสี่ยงด้านกลยุทธ์ ความเสี่ยงด้านการปฏิบัติการ ความเสี่ยง ด้านชื่อเสียง เป็นประจำทุกไตรมาสเพื่อให้มีการทบทวนเป้าหมายและกลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจให้ เป็นปัจจุบันอยู่เสมอ
สำหรับการจัดทำประกาศฯดังกล่าว สำนักงาน คปภ. ได้จัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นจากภาคธุรกิจมาตั้งแต่ปี 2559 และได้ร่วมกับสมาคมประกันชีวิตไทยและสมาคมประกันวินาศภัยไทย ในการจัดสัมมนาภาคธุรกิจเพื่อสื่อสารทำความเข้าใจและเสริมสร้างองค์ความรู้ด้านการบริหารความเสี่ยงอย่างต่อเนื่อง สำหรับประกาศ ERM ได้กำหนดระยะเวลาเตรียมความพร้อมโดยจะมีผลใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนด 180 วัน นับแต่วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ซึ่งจะทำให้ภาคธุรกิจมีเวลาเพียงพอในการเตรียมความพร้อมเพื่อปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ของประกาศที่กำหนดไว้
บริษัท แอลเอ็มจี ประกันภัย จำกัด (มหาชน) ร่วมกิจกรรมออกบูธประชาสัมพันธ์บริษัทฯ ในงาน Thailand InsurTech Fair 2023 ที่จัดขึ้นโดยสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) โดยได้รับเกียรติจาก ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการ คปภ. และคุณวสุมดี วสีนนท์ รองเลขาธิการ ด้านตรวจสอบ มาเยี่ยมชมบูธ แอลเอ็มจี ประกันภัย และทำกิจกรรมภายในบูธโดยมีคุณสวัสดิ์ ตั้งเจริญพัฒนา ส่วนงานธุรกิจสัมพันธ์ ฝ่ายขายและการตลาด และผู้บริหารระดับสูงของบริษัทฯ ให้การต้อนรับอย่างอบอุ่น ในปีนี้ แอลเอ็มจี
OCEAN LIFE ไทยสมุทรฯ ชูแนวคิด Healthiverse โลกใหม่ที่ดีขึ้นเพื่อคนรักสุขภาพ ในมหกรรมประกันสุดยิ่งใหญ่แห่งปี "THAILAND INSURTECH FAIR 2023"
—
บมจ.ไทยสมุทรป...
เจนเนอราลี่ ไทยแลนด์ รวมพลัง ร่วมบริจาคโลหิต เนื่องในวันประกันชีวิตแห่งชาติ ครั้งที่ 22
—
นางสาวสายฝน คงจิตต์งาม (ด้านบน คนที่ 3 จากขวา) ประธานเจ้าหน้าที่...
บมจ. ชับบ์ ไลฟ์ แอสชัวรันซ์ พร้อมพนักงาน และตัวแทนประกันชีวิต รวมพลังร่วมบริจาคโลหิตแก่สภากาชาดไทย
—
ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเส...
เมืองไทยประกันชีวิต ร่วมบริจาคโลหิต เนื่องในวันประกันชีวิตแห่งชาติ ครั้งที่ 22
—
นายสาระ ล่ำซำ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด (ม...
อลิอันซ์ อยุธยา ร่วมบริจาคโลหิต เนื่องในวันประกันชีวิตแห่งชาติ ครั้งที่ 22
—
บมจ. อลิอันซ์ อยุธยา ประกันชีวิต นำทีมตัวแทนฝ่ายขายและพนักงาน ร่วมกิจกรรมบริจ...
OCEAN LIFE ไทยสมุทร ร่วมบริจาคโลหิตเนื่องในวันประกันแห่งชาติ เพื่อส่งพลังความรักช่วยเหลือชีวิตเพื่อนมนุษย์
—
บมจ.ไทยสมุทรประกันชีวิต รักคือพลังของชีวิต โด...
ตัวแทนไทยประกันชีวิตรับรางวัล TNQA ประจำปี 2566
—
นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และ ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับ...
OCEAN LIFE ไทยสมุทร ไม่หยุดพัฒนาที่ปรึกษาประกันชีวิตมืออาชีพ ยกทีมคว้ารางวัล "ตัวแทนคุณภาพดีเด่นแห่งชาติ" (TNQA) ครั้งที่ 40
—
บมจ.ไทยสมุทรประกันชีวิต รัก...