ปภ.แนะเลือกที่นั่งนิรภัยสำหรับเด็กให้เหมาะสม และนำเด็กโดยสารถูกวิธี...เพิ่มความปลอดภัยในการเดินทาง

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

          กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) แนะข้อควรปฏิบัติเพื่อป้องกันอุบัติเหตุ ทางถนนในเด็ก เมื่อนำเด็กโดยสารรถยนต์ ควรให้เด็กใช้ที่นั่งนิรภัยสำหรับเด็กที่เหมาะสมกับวัย รูปร่าง น้ำหนัก และ ส่วนสูงของเด็ก โดยใช้เข็มขัดนิรภัยยึดที่นั่งนิรภัยไว้บริเวณเบาะด้านหลังรถ พร้อมคาดสายรัดที่นั่งให้กระชับลำตัวเด็ก ห้ามนำเด็กนั่งบริเวณเบาะหน้ารถ และไม่ควรให้เด็กเล็กคาดเข็มขัดนิรภัย เพราะหากประสบอุบัติเหตุ แรงรัดของเข็มขัดนิรภัย จะทำให้เด็กได้รับอันตรายเพิ่มมากขึ้น
          นายฉัตรชัย พรหมเลิศ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) กล่าวว่า อุบัติเหตุทางถนน เป็นสาเหตุสำคัญที่คร่าชีวิตเด็กไทย โดยในแต่ละปีมีเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนมากกว่า 1,000 คน ซึ่งเมื่อประสบอุบัติเหตุ เด็กมีโอกาสได้รับบาดเจ็บรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตมากกว่าผู้ใหญ่ เพื่อความปลอดภัย กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ขอแนะข้อควรปฏิบัติในการเลือกที่นั่งนิรภัยสำหรับเด็กและ การนำเด็กโดยสารรถอย่างปลอดภัย ดังนี้ การเลือกใช้ที่นั่งนิรภัยสำหรับเด็กให้เหมาะสมกับวัย น้ำหนัก และส่วนสูงของเด็ก ดังนี้ เปลเด็กอ่อน เหมาะสำหรับทารกแรกเกิด หรือเด็กที่มีน้ำหนักต่ำกว่า 2.5 กิโลกรัม ควรจัดให้ศีรษะของเด็กหันไปด้านกลางของรถ ที่นั่งเด็กชนิดนั่งหันไปทางด้านหลังรถ เหมาะสำหรับเด็กที่มีน้ำหนักไม่เกิน 9 กิโลกรัม และมีส่วนสูงประมาณ 75 เซนติเมตร หรือเด็กตั้งแต่แรกเกิด – 1 ปี โดยจัดวางที่นั่งเด็กไว้บริเวณเบาะหลังรถ และให้เด็กนั่งหันหน้าไปด้านหลัง ซึ่งที่นั่งประเภทนี้จะช่วยรองรับคอ และกระจายแรงกระแทกเมื่อเกิดอุบัติเหตุชนจากด้านหน้า แต่ไม่ควรใช้กับรถที่ติดตั้งถุงลมนิรภัย ที่นั่งเด็กที่หันหน้าไปทางหน้ารถ เหมาะสำหรับเด็กที่มีน้ำหนักตั้งแต่ 9 – 18 กิโลกรัม ส่วนสูงตั้งแต่ 75 – 110 เซนติเมตร หรืออายุประมาณ 1 – 5 ขวบ โดยติดตั้งไว้บริเวณเบาะหลัง สามารถใช้ได้ทั้งหันไปด้านหน้าและด้านหลังรถ ที่นั่งเสริม เหมาะสำหรับเด็กที่มีน้ำหนักตัวตั้งแต่ 18 – 27 กิโลกรัม ความสูงประมาณ 110 – 135 เซนติเมตร อายุประมาณ 5 – 10 ขวบ จะช่วยให้เด็กคาดเข็มขัดนิรภัยได้พอดีกับลำตัว การนำเด็กโดยสารรถยนต์ให้เด็กใช้ที่นั่งนิรภัยสำหรับเด็ก โดยใช้เข็มขัดนิรภัยยึด ที่นั่งนิรภัยไว้บริเวณเบาะด้านหลังรถอย่างแน่นหนา รวมถึงคาดสายรัดที่นั่งนิรภัยให้กระชับตัวเด็ก กรณีไม่มีที่นั่งนิรภัยสำหรับเด็ก ควรให้เด็กนั่งเบาะหลังรถค่อนไปด้านใดด้านหนึ่ง เพื่อออกให้ห่างจากคอนโซลและกระจกรถให้มากที่สุด ห้ามนำเด็กนั่งบริเวณ เบาะด้านหน้ารถ ไม่นำเด็กนั่งตักผู้ขับขี่และผู้โดยสาร เพราะหากประสบอุบัติเหตุ เด็กจะได้รับอันตรายจากการกระแทกเพิ่มขึ้น เป็น 2 เท่า ทั้งจากรถและตัวคนที่เด็กนั่งซ้อนตัก อีกทั้งเด็กอาจถูกถุงลมนิรภัยอัดใส่ใบหน้า ทำให้ขาดอากาศหายใจเสียชีวิตได้ ให้เด็กโตคาดเข็มขัดนิรภัย โดยเด็กต้องมีความสูงเพียงพอที่จะนั่งตัวตรงห้อยขากับเบาะรถ และหลังพิงพนักได้ถนัด โดยส่วนล่างของเข็มขัดนิรภัยต้องพาดผ่านกระดูกเชิงกราน และส่วนบนพาดผ่านหน้าอกในระดับพอดี ไม่ควรให้เด็กเล็ก คาดเข็มขัดนิรภัย ไม่ควรใช้เข็มขัดนิรภัยเส้นเดียวกันคาดผู้ใหญ่กับเด็ก หรือเด็ก 2 คนไว้ด้วยกัน เพราะหากประสบอุบัติเหตุเข็มขัดนิรภัยจะไม่สามารถปกป้องอันตรายจากการถูกกระแทกและพุ่งออกนอกรถได้ ทั้งนี้ เข็มขัดนิรภัยถูกออกแบบมาสำหรับผู้ใหญ่ การให้เด็กใช้เข็มขัดนิรภัยจะทำให้ได้รับอันตรายเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากเข็มขัดนิรภัยอยู่ในตำแหน่งที่ไม่เหมาะสม เมื่อประสบอุบัติเหตุแรงรัดของเข็มขัดนิรภัย จะทำให้เกิดแรงกระแทกหรือกระตุกอย่างรุนแรง ทำให้เด็กได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิตจากกระดูกต้นคอหัก กระดูกสันหลังหรือท้องแตกได้
 
 

ข่าวกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย+ฉัตรชัย พรหมเลิศวันนี้

NT ยืนยันความพร้อม ร่วมทดสอบระบบแจ้งเตือนภัย Cell Broadcast ในพื้นที่จริง

กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กรมประชาสัมพันธ์ กรุงเทพมหานคร ผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ ทั้ง บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) และ บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) หรือ NT ร่วมแถลงข่าวความพร้อมทดสอบการแจ้งเตือนภัยผ่าน Cell Broadcast

ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ผู้นำด้านดิจิทัลทรานส... ชไนเดอร์ อิเล็คทริค แนะ 7 วิธี เช็กระบบไฟฟ้า เพิ่มความปลอดภัย รับมือหยุดยาวเทศกาลสงกรานต์ — ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ผู้นำด้านดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่น ในการจัดก...

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข มอบทีม SEhRT ป... 'ภัยแล้ง' ทีม SEhRT กรมอนามัย-สสจ.-ท้องถิ่น เตรียมพร้อมรับมือพื้นที่ขาดแคลนน้ำ — กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข มอบทีม SEhRT ประสานภารกิจร่วมกับสำนักงานสาธารณ...

เทศกาลสงกรานต์เป็นช่วงเวลาแห่งความสุขและก... สงกรานต์นี้ เดินทางอย่างไร้กังวล! FWD ประกันชีวิต แจกประกันอุบัติเหตุฟรี 30,000 สิทธิ์ — เทศกาลสงกรานต์เป็นช่วงเวลาแห่งความสุขและการเดินทาง เพื่อช่วยลดควา...

นางสาวกาญจนา ภูพิพัฒน์ผล รองผู้อำนวยการสำ... กทม. เดินหน้ากำจัดปลาหมอคางดำ ลดผลกระทบเกษตรกร-แปรรูปสร้างรายได้ — นางสาวกาญจนา ภูพิพัฒน์ผล รองผู้อำนวยการสำนักพัฒนาสังคม รักษาราชการแทนผู้อำนวยการสำนักพั...

นายเจษฎา จันทรประภา ผู้อำนวยการสำนักการระ... กทม. เร่งถ่ายเทไหลเวียนน้ำในคลองช่องนนทรี เตรียมขุดลอกดินเลน-ทำความสะอาดท่อลอด — นายเจษฎา จันทรประภา ผู้อำนวยการสำนักการระบายน้ำ (สนน.) กทม. กล่าวชี้แจงกร...

กทม. เตรียมพร้อมระบบระบายน้ำรองรับสถานการณ์ฝน

นายเจษฎา จันทรประภา ผู้อำนวยการสำนักการระบายน้ำ (สนน.) กทม. กล่าวกรณีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) แจ้งเตือนสถานการณ์น้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำท่วมขังว่า กทม. ได้จัดทำแผนเตรียมความพร้อมด้านระบบระบายน้ำ เพื่อรองรับสถานการณ์ฝนตกหนัก โดยใช้แผน...