ปภ.ติดตั้งสถานีด้านพิกัดและระดับความสูงเพื่อประเมินความเสียหายด้วยระบบดาวเทียมนำทาง ในพื้นที่เสี่ยงภัยภาคกลาง เพิ่มประสิทธิภาพการจัดการสาธารณภัยตามมาตรฐานาสากล

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

          กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ร่วมกับสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (องค์การมหาชน) สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินโครงการจัดตั้งสถานีพิกัดและระดับความสูง เพื่อประเมินความเสียหายในพื้นที่เสี่ยงภัย ด้วยระบบดาวเทียมนำทางในพื้นที่เสี่ยงอุทกภัยภาคกลาง จำนวน 6 สถานี ได้แก่ ฉะเชิงเทรา ปทุมธานี ปราจีนบุรี นครปฐม สมุทรปราการ และอ่างทอง พร้อมเชื่อมโยงกับสถานีฐานของกรมที่ดิน และกรมโยธาธิการและผังเมือง รวม 83 สถานี เพื่อนำข้อมูลไปประกอบการจัดทำแผนที่เสี่ยงอุทกภัย การจัดทำรังวัดที่ได้มาตรฐาน การประเมินความเสียหายของพื้นที่ประสบอุทกภัย และมาตรฐานเวลาของประเทศไทย เพื่อให้ประเทศไทยมีเทคโนโลยีสนับสนุนการจัดการสาธารณภัยตามมาตรฐานสากล สอดรับกับนโยบาย "Thailand 4.0" ของรัฐบาล 
          นายฉัตรชัย พรหมเลิศ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) เปิดเผยว่า สาธารณภัยมีแนวโน้มทวีความรุนแรงและเกิดบ่อยครั้งมากขึ้น สร้างความสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินจำนวนมาก รัฐบาลและคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้ให้ความสำคัญกับการจัดการสาธารณภัยที่ครอบคลุมทุกมิติ โดยเฉพาะการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการบริหารจัดการสาธารณภัยของประเทศให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) จึงได้บูรณาการหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินโครงการจัดตั้งสถานีพิกัดและระดับความสูง เพื่อประเมินความเสียหายในพื้นที่เสี่ยงภัย ด้วยระบบดาวเทียมนำทาง GNSS (Global Navigation Satellite System) สำหรับเป็นหมุดหลักฐานอ้างอิงในการทำแผนที่เสี่ยงอุทกภัย การจัดทำรังวัดที่ได้มาตรฐาน การประเมินความเสียหายของพื้นที่ประสบอุทกภัย และมาตรฐานเวลาของประเทศไทย โดยสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (องค์การมหาชน) และสถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ เป็นหน่วยสนับสนุนด้านเทคนิคและบุคลากรในการติดตั้งอุปกรณ์มาตรฐานด้านเวลาและความถี่ สถานีอ้างอิงแบบถาวร เพื่อใช้เป็นโครงข่ายหมุดหลักฐานอ้างอิงสำหรับพิกัดและเวลามาตรฐานของประเทศไทย ด้วยระบบดาวเทียมนำทางในพื้นที่เสี่ยงอุทกภัยภาคกลาง จำนวน 6 สถานี ได้แก่ ฉะเชิงเทรา ปทุมธานี ปราจีนบุรี นครปฐม สมุทรปราการ และอ่างทอง พร้อมเชื่อมโยงกับสถานีฐานของกรมที่ดิน และกรมโยธาธิการและผังเมือง รวม 83 สถานี และภายในปี พ.ศ. 2561 จะเพิ่มจำนวนเป็น 222 สถานีทั่วประเทศ ซึ่งการดำเนินโครงการฯ ดังกล่าว ทำให้ประเทศไทยมีข้อมูลหลักค่าพิกัดทางราบและทางดิ่งที่มีความแม่นยำสูง เวลามาตรฐาน
ของประเทศไทย และข้อมูลสภาวะแวดล้อมในพื้นที่ลุ่มน้ำภาคกลาง อาทิ อุณภูมิ ความชื้น ความกดอากาศ ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการจัดการสาธารณภัยของประเทศ การพัฒนาด้านคมนาคมและขนส่ง การจัดทำ Smart City รวมถึงบริการด้านการแพทย์และสาธารณสุข ทั้งนี้ ได้จัดพิธีเปิดอนุสาวรีย์หมุดหลักฐานสำหรับอ้างอิงค่าพิกัดและเวลามาตรฐานประเทศไทย ด้วยสัญญาณจากระบบดาวเทียมนำทางสากล ในวันที่ 1 สิงหาคม 2560 ณ อาคารผดุงมาตร สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ ตำบลคลองห้า อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี กล่าวได้ว่า โครงการฯ ดังกล่าว ทำให้ประเทศไทยมีเทคโนโลยีสนับสนุนการจัดการสาธารณภัยตามมาตรฐานสากล รวมถึงเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนนโยบาย "Thailand 4.0" ของรัฐบาล
 
 
 

ข่าวกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย+สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำวันนี้

NT ร่วม ปภ. ทดสอบระบบ Cell Broadcast ในพื้นที่ครั้งแรก แจ้งผลมีประสิทธิภาพ รวดเร็ว ครอบคลุม เสริมความพร้อมระบบเตือนภัยแห่งชาติ

บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) หรือ NT ร่วมกับ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทดสอบระบบแจ้งเตือนภัยพิบัติผ่านเทคโนโลยี Cell Broadcast เป็นครั้งแรกของประเทศในลักษณะเสมือนจริงในพื้นที่ระดับเล็ก ภายในอาคารและบริเวณโดยรอบ ประกอบด้วย ศาลากลางจังหวัดเชียงราย ศาลากลางจังหวัดสุพรรณบุรี ศาลากลางจังหวัดอุบลราชธานี ศาลากลางจังหวัดสงขลา และอาคารศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา กรุงเทพมหานคร โดยผลการทดสอบเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถส่งข้อความแจ้งเตือนไปยัง

กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ร่วมกั... NT ยืนยันความพร้อม ร่วมทดสอบระบบแจ้งเตือนภัย Cell Broadcast ในพื้นที่จริง — กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้...

ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ผู้นำด้านดิจิทัลทรานส... ชไนเดอร์ อิเล็คทริค แนะ 7 วิธี เช็กระบบไฟฟ้า เพิ่มความปลอดภัย รับมือหยุดยาวเทศกาลสงกรานต์ — ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ผู้นำด้านดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่น ในการจัดก...

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข มอบทีม SEhRT ป... 'ภัยแล้ง' ทีม SEhRT กรมอนามัย-สสจ.-ท้องถิ่น เตรียมพร้อมรับมือพื้นที่ขาดแคลนน้ำ — กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข มอบทีม SEhRT ประสานภารกิจร่วมกับสำนักงานสาธารณ...

เทศกาลสงกรานต์เป็นช่วงเวลาแห่งความสุขและก... สงกรานต์นี้ เดินทางอย่างไร้กังวล! FWD ประกันชีวิต แจกประกันอุบัติเหตุฟรี 30,000 สิทธิ์ — เทศกาลสงกรานต์เป็นช่วงเวลาแห่งความสุขและการเดินทาง เพื่อช่วยลดควา...

นางสาวกาญจนา ภูพิพัฒน์ผล รองผู้อำนวยการสำ... กทม. เดินหน้ากำจัดปลาหมอคางดำ ลดผลกระทบเกษตรกร-แปรรูปสร้างรายได้ — นางสาวกาญจนา ภูพิพัฒน์ผล รองผู้อำนวยการสำนักพัฒนาสังคม รักษาราชการแทนผู้อำนวยการสำนักพั...

นายเจษฎา จันทรประภา ผู้อำนวยการสำนักการระ... กทม. เร่งถ่ายเทไหลเวียนน้ำในคลองช่องนนทรี เตรียมขุดลอกดินเลน-ทำความสะอาดท่อลอด — นายเจษฎา จันทรประภา ผู้อำนวยการสำนักการระบายน้ำ (สนน.) กทม. กล่าวชี้แจงกร...

กทม. เตรียมพร้อมระบบระบายน้ำรองรับสถานการณ์ฝน

นายเจษฎา จันทรประภา ผู้อำนวยการสำนักการระบายน้ำ (สนน.) กทม. กล่าวกรณีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) แจ้งเตือนสถานการณ์น้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำท่วมขังว่า กทม. ได้จัดทำแผนเตรียมความพร้อมด้านระบบระบายน้ำ เพื่อรองรับสถานการณ์ฝนตกหนัก โดยใช้แผน...

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ... สสส. - ศวปถ.- กรมประชาสัมพันธ์ สานพลังภาคีเครือข่าย ยกระดับทิศทางกลไกประชาสัมพันธ์ เชื่อมประสารการทำงาน บูรณาการสื่อส่วนกลาง สื่อท้องถิ่นร่วมกับ ศปถ.จังหวัด เพื่อสร้างวัฒนธรรมขับขี่ปลอดภัย — สำนักงานกอง...

นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐ... มท.1 มอบโฉนดที่ดินให้แก่ประชาชน ตามโครงการ "มอบโฉนดที่ดินทั่วไทย นำสุขคลายทุกข์ให้ประชาชน" ในพื้นจังหวัดกาญจนบุรี — นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและ...