ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ รวท. ตรวจเยี่ยม ติดตามผลการดำเนินงาน วว. ในการพัฒนายกระดับโอทอป/เกษตรกร/SMEs ในพื้นที่ภาคเหนือด้วย วทน.

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

          ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พร้อมคณะ ตรวจเยี่ยมและติดตามการดำเนินงานของกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ในพื้นที่ภาคเหนือ เพื่อเตรียมการประชุมคณะรัฐมนตรีนอกสถานที่ โอกาสนี้ ดร.ลักษมี ปลั่งแสงมาศ ผู้ว่าการ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) พร้อมผู้บริหาร นักวิจัย วว. นำเสนอผลสำเร็จในการนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (วทน). เข้าไปพัฒนาและยกระดับผลิตภัณฑ์โอทอป พัฒนาเกษตรกร/ผู้ประกอบการ SMEs ในวันที่ 25 ธันวาคม 2560 ณ มหาวิทยาลัยนเรศวรจังหวัดพิษณุโลก
          ผลงานความสำเร็จของ วว. ในการพัฒนาพื้นที่ภาคเหนือ ที่นำมาร่วมจัดแสดงนิทรรศการในกิจกรรมดังกล่าว ประกอบด้วย
โครงการพัฒนายกระดับผลิตภัณฑ์โอทอปภาคเหนือโดยใช้กลไกคูปองวิทย์เพื่อโอทอป จำนวน 2 ราย ได้แก่ 1.ฟาร์มเห็ดหลินจือบ้านราชพฤกษ์ จ.พิษณุโลก วว. พัฒนากระบวนการผลิตชาพร้อมดื่มจากเห็ดหลินจือและบรรจุภัณฑ์ 2.ชุมชนสุขสวัสดิ์ จ.ลำปาง วว. พัฒนาปุ๋ยอินทรีย์เคมีชนิดน้ำจากสิ่งขับถ่ายไส้เดือนให้เป็นปุ๋ยอินทรีย์เคมีคุณภาพสูงสำหรับไม้ผลและพืชกินหัว มีธาตุอาหารครบตามความต้องการของพืช โดยใช้สายพันธุ์ไส้เดือนในเขตพื้นที่ภาคเหนือ
          โครงการพัฒนาเกษตรกรด้วย วทน. (STI for SMART Agriculture : SSA) จำนวน 1 ราย ได้แก่ วิสาหกิจชุมชนอาชีพบ้านโนนใน จ.กำแพงเพชร ซึ่ง วว. ได้พัฒนาเตาชีวมวลประหยัดพลังงานสำหรับผลิตกล้วยทอดจำหน่ายเชิงพาณิชย์ มีประสิทธิภาพผลิตความร้อนด้วยเชื้อเพลิงถ่านที่มีราคาต่ำกว่าเชื้อเพลิงแก๊สหุงต้ม ลดต้นทุนเชื้อเพลิงลงถึง 3 บาทต่อกิโลกรัมกล้วย ลดเวลาในการผลิต (จากเดิมการกวนกล้วย 30 กิโลกรัม จะใช้เวลา 3 ชั่วโมง 30 นาที แต่เมื่อใช้เตาชีวมวลที่พัฒนาโดย วว. จะใช้เวลา 2 ชั่วโมงเท่านั้น) มูลค่าการประหยัดค่าพลังงานในการผลิตกล้วยทอดเท่ากับ 88.33 บาท ต่อการผลิตกล้วยทอด 1 กิโลกรัม มูลค่าการประหยัดเวลาในการผลิตกล้วยทอดเท่ากับ 1.875 บาท ต่อการผลิตกล้วยทอด 1 กิโลกรัม
          โครงการพัฒนาผู้ประกอบการ TISTR-ITAP จำนวน 1 ราย ได้แก่ บริษัทจุลไหมไทย จำกัด จ.เพชรบูรณ์ วว. วิจัยและพัฒนาการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ชนิดเม็ดและชนิดน้ำจากกระบวนการผลิตปลาส้ม

ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ รวท. ตรวจเยี่ยม ติดตามผลการดำเนินงาน วว. ในการพัฒนายกระดับโอทอป/เกษตรกร/SMEs ในพื้นที่ภาคเหนือด้วย วทน.

ข่าวสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย+มหาวิทยาลัยนเรศวรจังหวัดพิษณุโลกวันนี้

วว. จัดงานสัมมนาเชิงปฏิบัติการ …เสริมสร้างขีดความสามารถของบุคลากรด้านการปกป้องดิน

สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) จัดงานสัมมนาเชิงปฏิบัติการเพื่อสร้างขีดความสามารถของบุคลากรด้านการปกป้องดิน (Capacity Building Workshop on Soil Protection for Thai Soilguardians) ณ กรมพัฒนาที่ดิน กรุงเทพมหานคร ในรูปแบบ Hybrid งานสัมมนานี้เป็นกิจกรรมของโครงการ (Sustainable Soil Management to Unleash Soil Biodiversity Potential and Increase Environmental, Economic and Social Wellbeing SOILGUARD) ภายใต้กรอบ

ดร.โศรดา วัลภา รองผู้ว่าการบริการอุตสาหกร... วว. จับมือพันธมิตรไทย-จีน เสริมสร้างความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม — ดร.โศรดา วัลภา รองผู้ว่าการบริการอุตสาหกรรม สถาบันวิจัยวิทย...

ผศ.ดร.วีรชัย อาจหาญ ผู้ว่าการ สถาบันวิจัย... วว. ต้อนรับสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติในโอกาสเยี่ยมชมโครงสร้างพื้นฐาน วทน. — ผศ.ดร.วีรชัย อาจหาญ ผู้ว่าการ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโ...

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและน... วว. วิจัยพัฒนาการใช้ประโยชน์สารสกัด "ใบเตย" เสริมสุขภาพระบบกระดูก/ข้อ สำหรับสังคมก่อนและสูงวัย — กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โด...

นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระท... วว.รับมอบประกาศนียบัตรร่วมจัดแสดงผลงานในงานสิ่งประดิษฐ์ระดับนานาชาติเจนีวา ครั้งที่ 50 — นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาส...

ผศ.ดร.วีรชัย อาจหาญ ผู้ว่าการ สถาบันวิจัย... วว.คว้ารางวัลชนะเลิศเหรียญทอง (Gold Medal) @ งานสิ่งประดิษฐ์ระดับนานาชาติเจนีวา ครั้งที่ 50 — ผศ.ดร.วีรชัย อาจหาญ ผู้ว่าการ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโน...

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและน... สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช วว. ชวนร่วมกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงนิเวศ — กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกร...

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและน... วว. พัฒนาสารเสริมสุขภาพสัตว์ปีกจากจิ้งหรีดทองดำ ช่วยลดปริมาณเชื้อก่อโรค/กระตุ้นการเจริญเติบโต — กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย...