นักเศรษฐศาสตร์เตือนรัฐ แก้ภาษีบุหรี่ หวั่นกลายเป็นงูกินหาง หนุนเดินหน้าตามแผนปฏิรูปเดิม เพื่อสร้างรายได้อย่างยั่งยืน

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

          ภายหลังจากที่มีรายงานข่าวว่ากรมสรรพสามิตจะหาทางออกประเด็นปัญหาภาษีบุหรี่ที่โรงงานยาสูบร้องเรียนมาให้ได้ภายในสิ้นปีนี้นั้น รศ.ดร. อรรถกฤต ปัจฉิมนันท์ นักวิชาการผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐศาสตร์และรัฐศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เตือนว่าขณะนี้ยังเร็วเกินไปที่จะสรุปผลของโครงสร้างภาษีบุหรี่ใหม่ หากรีบร้อนแก้ไขระบบภาษีอาจสร้างปัญหาใหม่ๆ และทำให้การปฏิรูปล่าช้าออกไปอีก เนื่องจากปกติเมื่อมีการขึ้นภาษีแต่ละครั้ง ตลาดต้องใช้เวลา 3-4 เดือนในการปรับตัวอยู่แล้ว ส่วนการขึ้นภาษีเมื่อ 16 ก.ย. ที่ผ่านมามีการคาดการณ์กันไว้ล่วงหน้าอยู่แล้วจึงมีการเร่งชำระภาษีไว้ก่อนการประกาศอัตราภาษีใหม่ จึงยิ่งทำให้สภาพตลาดหลังวันที่ 16 ก.ย. มีความผันผวนมากว่าปกติ และจำเป็นต้องใช้เวลามากขึ้นก่อนที่ตลาดจะเริ่มกลับมามีเสถียรภาพ ดังนั้น การที่รัฐจะสรุปหาทางแก้ปัญหาเรื่องภาษีบุหรี่ภายสิ้นปีนี้จึงถือว่าเร็วเกินไป ควรรอดูสถานการณ์ต่ออีกสักระยะหนึ่ง
          รศ.ดร.อรรถกฤต วิเคราะห์ถึงตัวเลขการจัดเก็บภาษียาสูบของกรมสรรพสามิตหลังประกาศใช้โครงสร้างภาษีบุหรี่ใหม่ว่า การที่ยอดภาษียาสูบที่เก็บได้ในเดือน ต.ค. 60 ลดฮวบเหลือเพียงกว่า 2 พันล้านบาท ซึ่งต่ำกว่าในช่วงเดียวกันของปีก่อนถึง 56% และต่ำกว่าเป้าไปถึง 48% นั้น เป็นเพราะการเร่งชำระภาษีของผู้ประกอบการตั้งแต่เดือน ส.ค. 60 แต่ในเดือน พ.ย. 60 จะเห็นได้ว่ายอดจัดเก็บภาษียาสูบกระเตื้องขึ้นมาอย่างเห็นได้ชัด เก็บได้ถึง 5.7 พันล้านบาท เกินเป้าถึง 44% เป็นสัญญาณว่าตลาดกำลังค่อยๆ กลับตัวเข้าสู่เสถียรภาพแล้ว
          "โครงสร้างภาษีบุหรี่ใหม่ทำให้ราคาบุหรี่ปรับขึ้น 20%-50% จึงเป็นธรรมดาที่จะทำให้ผู้บริโภคส่วนหนึ่งลดหรือเลิกสูบบุหรี่ไปเลย บางส่วนหันไปสูบยาเส้นที่มีราคาถูกกว่ามาก ขณะที่บางส่วนก็หันไปซื้อบุหรี่หนีภาษีที่ทะลักเข้ามาตามชายแดนกันมากขึ้น ดังนั้น แม้อัตราภาษีบุหรี่จะสูงขึ้น แต่เมื่อปริมาณบุหรี่ถูกกฎหมายที่บริโภคในประเทศลดลง ยอดภาษีที่จัดเก็บได้ในช่วงเริ่มต้นนี้ย่อมไม่ได้เพิ่มขึ้นหวือหวา แต่เชื่อว่าเมื่อตลาดเริ่มปรับตัวได้แล้ว ยอดรายได้ภาษีน่าจะค่อยๆ ดีขึ้นด้วยระบบภาษีแบบผสมที่เก็บภาษีทั้งตามปริมาณและตามมูลค่า" " รศ.ดร.อรรถกฤต กล่าว
          ทั้งนี้ กรมสรรพสามิตได้เปิดเผยว่าในช่วงเดือน ต.ค.-พ.ย. 60 สามารถจับกุมบุหรี่ผิดกฎหมายได้กว่า 6 ล้านมวนซึ่งคิดเป็นมูลค่าภาษีกว่า 27 ล้านบาท ขณะที่ฝั่งกรมศุลกากรก็จับกุมบุหรี่หนีภาษีได้ในช่วง ก.ย.-พ.ย. 60 ได้แล้วกว่า 43 ล้านมวน
          รศ.ดร.อรรถกฤต กล่าวทิ้งท้ายว่า โครงสร้างภาษีที่ดีต้องยึดหลักความเป็นธรรม ไม่ปกป้องผู้ประกอบการรายใดรายหนึ่ง ทุกคนต้องปฏิบัติตามกฎเกณฑ์เดียวกัน แข่งขันกันภายใต้กติกาเดียวกัน โดยไม่มีการเลือกปฏิบัติ ซึ่งจะผลักดันให้ผู้ประกอบการต้องปรับตัวเพื่อความอยู่รอดและแข่งขันได้ ตามหลักการของระบบการค้าเสรีและกฎหมายการค้าโลก และช่วยสร้างความเข้มแข็งอย่างยั่งยืนให้กับระบบภาษีของไทยได้อย่างแท้จริง

นักเศรษฐศาสตร์เตือนรัฐ แก้ภาษีบุหรี่ หวั่นกลายเป็นงูกินหาง หนุนเดินหน้าตามแผนปฏิรูปเดิม เพื่อสร้างรายได้อย่างยั่งยืน

ข่าวมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์+อรรถกฤต ปัจฉิมนันท์วันนี้

วว. จับมือพันธมิตรไทย-จีน เสริมสร้างความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม

ดร.โศรดา วัลภา รองผู้ว่าการบริการอุตสาหกรรม สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นประธานเปิดการสัมมนาหัวข้อเรื่อง "The China-Thailand Forum on Innovation and Development in Environmental Science and Engineering" จัดโดย กลุ่มบริการอุตสาหกรรม วว. ร่วมกับ Kunming University of Science and Technology National Science Park.,Ltd. (ประเทศจีน) และคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) ภายใต้การดำเนิน

ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ ร่วมกับ สมาคมนัก... รวมใจ ให้โลหิต 1 พฤษภาคม วันแรงงานไทย May Day : Give Blood Save Lives — ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ ร่วมกับ สมาคมนักศึกษาเก่าพาณิชยศาสตร์ และการบัญชีมหาวิทยา...

พ่วงผลกระทบสุขภาพจิต และโครงสร้างแรงงาน เ... สัญญาณเตือนระดับชาติ! มธ. ชี้ชัด "สังคมสูงวัยสมบูรณ์แบบ" ตัวเร่งวิกฤตเศรษฐกิจไทย — พ่วงผลกระทบสุขภาพจิต และโครงสร้างแรงงาน เผยตัวเลขผู้สูงวัยเตรียมพุ่งสูง...

นายณัฏฐชัย ศิริโก (ที่ 3 จากขวา) ประธานเจ... AMR โชว์นวัตกรรมผลิตป้ายทะเบียนอัตโนมัติ พร้อมต้อนรับพาร์ทเนอร์ ขยายโอกาสสู่อาเซียน — นายณัฏฐชัย ศิริโก (ที่ 3 จากขวา) ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอเอ...

ศูนย์หนังสือจุฬาฯ ชวนร่วมงานสัปดาห์หนังสื... ศูนย์หนังสือจุฬาฯ ชวนร่วมงานสัปดาห์หนังสือฯ — ศูนย์หนังสือจุฬาฯ ชวนร่วมงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ครั้งที่ 53 และงานสัปดาห์หนังสือนานาชาติครั้งที่ 23 ณ...

อาจารย์วารสารฯ มธ. แนะ "สื่อ" นำเสนอข่าวเ... อาจารย์วารสารฯ มธ. แนะ "สื่อ" นำเสนอข่าวเซนซิทีฟต้องสร้างวิจารณญาณ มากกว่าปลุกเร้าอารมณ์ร่วม — อาจารย์วารสารฯ มธ. แนะ "สื่อ" นำเสนอข่าวเซนซิทีฟต้องสร้างวิ...

ถนนพระอาทิตย์นั้นเริ่มตั้งแต่ถนนพระสุเมรุ... นัท วอล์คเกอร์ พาวอล์ค: เที่ยวชมเมืองเก่า สัมผัสเสน่ห์ยามเย็นริมถนนพระอาทิตย์ — ถนนพระอาทิตย์นั้นเริ่มตั้งแต่ถนนพระสุเมรุไปจนถึงมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ตลอด...