ปภ.รายงานยังคงมีสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ 15 จังหวัด พร้อมประสานจังหวัดภาคใต้ตอนล่างเตรียมพร้อมรับมือฝนตกหนักถึงหนักมากในระยะนี้

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

          กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) รายงานสถานการณ์น้ำไหลหลาก และน้ำเอ่อล้นตลิ่งในพื้นที่ 23 จังหวัด รวม 79 อำเภอ 482 ตำบล 2,825 หมู่บ้าน ปัจจุบันยังคงมีสถานการณ์ใน 15 จังหวัด ได้แก่ สุโขทัย พิจิตร นครสวรรค์ สิงห์บุรี ลพบุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี ชัยนาท สุพรรณบุรี หนองบัวลำภู ขอนแก่น มหาสารคาม กาฬสินธุ์ และร้อยเอ็ด ทั้งนี้ ปภ.ได้ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัยครอบคลุมทุกมิติ มุ่งดูแลชีวิตความเป็นอยู่และความปลอดภัยเป็นหลัก พร้อมระดมเครื่องจักรกลด้านสาธารณภัยสนับสนุนการแก้ไขปัญหาอุทกภัย ควบคู่กับการเร่งระบายน้ำออกจากพื้นที่น้ำท่วมขัง เพื่อคลี่คลายสถานการณ์ให้กลับสู่ภาวะปกติโดยเร็ว
          นายชยพล ธิติศักดิ์ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) เปิดเผยว่า สถานการณ์อุทกภัย น้ำไหลหลาก และน้ำเอ่อล้นตลิ่งจากอิทธิพลของพายุดีเปรสชัน และการระบายน้ำจากเขื่อนเจ้าพระยา ตั้งแต่วันที่ 10 ตุลาคม - 4 พฤศจิกายน 2560 ทำให้เกิดน้ำไหลหลากและน้ำเอ่อล้นตลิ่งในพื้นที่ 23 จังหวัด รวม 79 อำเภอ 482 ตำบล 2,825 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 126,390 ครัวเรือน 327,420 คน ผู้เสียชีวิต 10 ราย ปัจจุบันยังคงมีสถานการณ์ใน 15 จังหวัด แยกเป็น ลุ่มน้ำยม 1 จังหวัด ได้แก่ สุโขทัย น้ำท่วมพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอศรีสำโรง และอำเภอกงไกรลาศ รวม 2 ตำบล 7 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 54 ครัวเรือน 126 คน ผู้เสียชีวิต 1 ราย ลุ่มน้ำยมและลุ่มน้ำน่าน 1 จังหวัด ได้แก่ พิจิตร น้ำเอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมพื้นที่ 8 อำเภอ ได้แก่ อำเภอสามง่าม อำเภอโพธิ์ประทับช้าง อำเภอบึงนาราง อำเภอโพทะเล อำเภอเมืองพิจิตร อำเภอตะพานหิน อำเภอวังทรายพูน และอำเภอบางมูลนาก รวม 43 ตำบล 274 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 11,512 ครัวเรือน 30,795 คน ผู้เสียชีวิต 2 ราย ลุ่มน้ำเจ้าพระยา 6 จังหวัด ได้แก่ นครสวรรค์ น้ำเอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมพื้นที่ 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองนครสวรรค์ อำเภอพยุหะคีรี อำเภอโกรกพระ และอำเภอชุมแสง รวม 38 ตำบล 238 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 15,763 ครัวเรือน 33,097 คน สิงห์บุรี น้ำเอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมพื้นที่ 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภออินทร์บุรี อำเภอเมืองสิงห์บุรี อำเภอพรหมบุรี และอำเภอท่าช้าง รวม 19 ตำบล 94 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 6,295 ครัวเรือน 16,367 คน ผู้เสียชีวิต 1 ราย ลพบุรี น้ำเอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมพื้นที่อำเภอบ้านหมี่ รวม 5 ตำบล 32 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 4,076 ครัวเรือน 9,037 คน ผู้เสียชีวิต 1 ราย อ่างทอง น้ำเอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมพื้นที่ 5 อำเภอ ได้แก่ อำเภอป่าโมก อำเภอวิเศษชัยชาญ อำเภอเมืองอ่างทอง อำเภอโพธิ์ทอง และอำเภอไชโย รวม 30 ตำบล 92 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 2,595 ครัวเรือน 6,747 คน พื้นที่การเกษตรได้รับความเสียหาย 6,017 ไร่ พระนครศรีอยุธยา น้ำเอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมพื้นที่ 7 อำเภอ ได้แก่ อำเภอบางบาล อำเภอเสนา อำเภอบางปะอิน อำเภอผักไห่ อำเภอพระนครศรีอยุธยา อำเภอบางไทร และอำเภอบางปะหัน รวม 99 ตำบล 589 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 37,463 ครัวเรือน 97,403 คน และปทุมธานี น้ำเอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองปทุมธานี และอำเภอสามโคก รวม 21 ตำบล 67 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 4,352 ครัวเรือน 11,315 คน ลุ่มน้ำเจ้าพระยาและลุ่มน้ำท่าจีน 1 จังหวัด ได้แก่ ชัยนาท น้ำเอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมพื้นที่ 5 อำเภอ ได้แก่ อำเภอมโนรมย์ อำเภอสรรพยา อำเภอเมืองชัยนาท อำเภอวัดสิงห์ และอำเภอหันคา รวม 23 ตำบล 114 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 4,151 ครัวเรือน 10,377 คน ลุ่มน้ำท่าจีน 1 จังหวัด ได้แก่ สุพรรณบุรี น้ำเอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมพื้นที่ 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอบางปลาม้า อำเภอสองพี่น้อง อำเภอเมืองสุพรรณบุรี และอำเภอเดิมบางนางบวช รวม 37 ตำบล 227 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ12,523 ครัวเรือน 43,035 คน ลุ่มน้ำชี 5 จังหวัด ได้แก่ หนองบัวลำภู ผลกระทบจากน้ำเขื่อนอุบลรัตน์หนุนและไหลเข้าท่วมพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอศรีบุญเรือง และอำเภอโนนสัง รวม 8 ตำบล 65 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 628 ครัวเรือน 1,570 คน ขอนแก่น น้ำท่วมพื้นที่ 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภออุบลรัตน์ อำเภอน้ำพอง อำเภอเมืองขอนแก่น และอำเภอภูเวียง รวม 11 ตำบล 38 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 3,266 ครัวเรือน 7,510 คน มหาสารคาม น้ำท่วมพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอโกสุมพิสัย อำเภอกันทรวิชัย และอำเภอเมืองมหาสารคาม รวม 19 ตำบล 122 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 516 ครัวเรือน 1,341 คน กาฬสินธุ์ น้ำท่วมพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอฆ้องชัย และอำเภอกมลาไสย รวม 5 ตำบล 9 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 22 ครัวเรือน 55 คน และร้อยเอ็ด น้ำท่วมพื้นที่อำเภอจังหาร รวม 3 ตำบล 7 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 159 ครัวเรือน 548 คน ทั้งนี้ ปภ.ได้ประสานจังหวัด หน่วยทหาร องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ เร่งให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัยอย่างเต็มกำลัง โดยแจกจ่ายถุงยังชีพและเครื่องอุปโภคบริโภคเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนในเบื้องต้นแก่ผู้ประสบภัย รวมถึงระดมเครื่องจักรกลด้านสาธารณภัยสนับสนุนการแก้ไขปัญหาอุทกภัย พร้อมประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ติดตั้งเครื่องสูบน้ำและเครื่องผลักดันน้ำเพิ่มเติม เพื่อเร่งระบายน้ำออกจากพื้นที่น้ำท่วมขังสู่ลำน้ำสายหลัก นอกจากนี้ จากการตรวจสอบสภาพอากาศกับกรมอุตุนิยมวิทยา พบว่า หย่อมความกดอากาศต่ำยังคงปกคลุมภาคใต้ตอนล่าง ทำให้ภาคใต้ยังคงมีฝนตกชุกหนาแน่นกับฝนตกหนักถึงหนักมากบางพื้นที่บริเวณจังหวัดสุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส กระบี่ ตรัง และสตูล อาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และลมกระโชกแรง คลื่นลมบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันมีกำลังแรง ขอให้ชาวเรือเดินเรือด้วยความระมัดระวัง เรือเล็กควรงดออกจากฝั่ง และประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณชายฝั่งภาคใต้ฝั่งตะวันออกระวังคลื่นซัดฝั่งในระยะนี้ ท้ายนี้ ประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย สามารถติดต่อขอความช่วยเหลือได้ทางสายด่วนนิรภัย 1784 ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อประสานให้การช่วยเหลือโดยด่วนต่อไป
 
 

ข่าวกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย+สถานการณ์น้ำไหลหลากวันนี้

ปภ.รายงานเกิดน้ำไหลหลากในพื้นที่ 5 จังหวัด เร่งประสานการช่วยเหลือผู้ประสบภัยโดยด่วน

กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) รายงานเกิดสถานการณ์น้ำไหลหลากในพื้นที่ 5 จังหวัด ได้แก่ นครราชสีมา นครนายก อุตรดิตถ์ กำแพงเพชร และปราจีนบุรี รวม 11 อำเภอ 19 ตำบล 31 หมู่บ้าน ซึ่ง ปภ.ได้ร่วมกับหน่วยทหาร จังหวัดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งระบายน้ำท่วมขัง พร้อมสำรวจความเสียหายและให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัยในเบื้องต้นแล้ว กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) เปิดเผยว่า ตั้งแต่วันที่ 3 5 ตุลาคม 2563 เกิดฝนตกหนัก ทำให้น้ำไหลหลากในพื้นที่ 5 จังหวัด ได้แก่ นครราชสีมา นครนายก อุตรดิตถ์ กำแพงเพชร

ปภ.รายงานสถานการณ์น้ำไหลหลาก 11 จังหวัด และวาตภัยในจังหวัดกาฬสินธุ์ เร่งให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัย

กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) รายงานเกิดน้ำไหลหลากในพื้นที่ภาคเหนือ 11 จังหวัด ได้แก่ น่าน แพร่ เชียงใหม่ ลำปาง พะเยา อุตรดิตถ์ ลำพูน แม่ฮ่องสอน สุโขทัย ตาก และพิษณุโลก...

กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ร่วมกั... NT ยืนยันความพร้อม ร่วมทดสอบระบบแจ้งเตือนภัย Cell Broadcast ในพื้นที่จริง — กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้...

ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ผู้นำด้านดิจิทัลทรานส... ชไนเดอร์ อิเล็คทริค แนะ 7 วิธี เช็กระบบไฟฟ้า เพิ่มความปลอดภัย รับมือหยุดยาวเทศกาลสงกรานต์ — ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ผู้นำด้านดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่น ในการจัดก...

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข มอบทีม SEhRT ป... 'ภัยแล้ง' ทีม SEhRT กรมอนามัย-สสจ.-ท้องถิ่น เตรียมพร้อมรับมือพื้นที่ขาดแคลนน้ำ — กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข มอบทีม SEhRT ประสานภารกิจร่วมกับสำนักงานสาธารณ...

เทศกาลสงกรานต์เป็นช่วงเวลาแห่งความสุขและก... สงกรานต์นี้ เดินทางอย่างไร้กังวล! FWD ประกันชีวิต แจกประกันอุบัติเหตุฟรี 30,000 สิทธิ์ — เทศกาลสงกรานต์เป็นช่วงเวลาแห่งความสุขและการเดินทาง เพื่อช่วยลดควา...

นางสาวกาญจนา ภูพิพัฒน์ผล รองผู้อำนวยการสำ... กทม. เดินหน้ากำจัดปลาหมอคางดำ ลดผลกระทบเกษตรกร-แปรรูปสร้างรายได้ — นางสาวกาญจนา ภูพิพัฒน์ผล รองผู้อำนวยการสำนักพัฒนาสังคม รักษาราชการแทนผู้อำนวยการสำนักพั...

นายเจษฎา จันทรประภา ผู้อำนวยการสำนักการระ... กทม. เร่งถ่ายเทไหลเวียนน้ำในคลองช่องนนทรี เตรียมขุดลอกดินเลน-ทำความสะอาดท่อลอด — นายเจษฎา จันทรประภา ผู้อำนวยการสำนักการระบายน้ำ (สนน.) กทม. กล่าวชี้แจงกร...

กทม. เตรียมพร้อมระบบระบายน้ำรองรับสถานการณ์ฝน

นายเจษฎา จันทรประภา ผู้อำนวยการสำนักการระบายน้ำ (สนน.) กทม. กล่าวกรณีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) แจ้งเตือนสถานการณ์น้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำท่วมขังว่า กทม. ได้จัดทำแผนเตรียมความพร้อมด้านระบบระบายน้ำ เพื่อรองรับสถานการณ์ฝนตกหนัก โดยใช้แผน...