คาดบริโภคเอกชนปี 61 ทรงตัว สวนกระแสการส่งออกเติบโตต่อเนื่อง

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

          ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีเอ็มบี หรือ TMB Analytics คาดว่าการบริโภคภาคเอกชนปี 2561 มีแนวโน้มทรงตัวโดยขยายตัวได้ 3.2% เนื่องจากปัจจัยหนุนการบริโภคที่ไม่ได้ปรับดีขึ้นจากปีนี้มากนัก ทั้งถึงแม้ว่าการส่งออกที่แม้จะขยายตัวดีแต่มูลค่าการส่งออกที่เพิ่มขึ้นส่วนมากมาจากบริษัทขนาดใหญ่ซึ่งมีสัดส่วนการจ้างงานน้อย ทำให้การจ้างงานที่เพิ่มขึ้นยังอยู่ในวงจำกัด อีกทั้ง ราคาสินค้าเกษตรก็คาดว่าจะทรงตัวในปีหน้า
          การส่งออกที่เติบโตดีต่อเนื่องจากเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าที่ขยายตัวดี โดย 9 เดือนที่ผ่านมาขยายตัวรวมกว่า 9.3% และคาดว่าจะขยายตัวได้รวม 6-8% ในปีนี้ ถือเป็นการขยายตัวสูงที่สุดในรอบ 6 ปีที่ผ่านมา ซึ่งมูลค่าการส่งออกเกือบ 90% มาจากบริษัทใหญ่ มีเพียง 10% เท่านั้นที่มาจาก SMEs แต่หากพิจารณาสัดส่วนการจ้างงาน จะพบว่าบริษัทใหญ่มีสัดส่วนการจ้างงานเพียง 13% ของการจ้างงานทั้งระบบ ทำให้แรงงานส่วนใหญ่ยังไม่ได้รับประโยชน์อย่างเต็มที่จากการส่งออกที่ขยายตัวดี ในขณะที่การจ้างงานส่วนใหญ่อยู่ใน SMEs และภาคเกษตร โดยมีสัดส่วน 55% และ 32% ตามลำดับ แต่ความสามารถในการแข่งขันและผลิตภาพการผลิต (Productivity) ผลผลิตของ SMEs ไทยยังด้อยกว่าบริษัทขนาดใหญ่ค่อนข้างมาก เมื่อเปรียบเทียบกับ SMEs ในประเทศที่พัฒนาแล้ว เช่น ประเทศอังกฤษ ที่มีสัดส่วนการจ้างงานโดย SMEs ใกล้เคียงกับประเทศไทย คือประมาณ 53% ของการจ้างงานทั้งหมด แต่มีผลผลิตคิดเป็นสัดส่วนประมาณ 51% ของผลผลิตทั้งหมดของประเทศ ในขณะที่ SMEs ไทย กลับมีสัดส่วนผลผลิตเพียง 36-37% ของผลผลิตรวมเท่านั้น
          นอกจากนี้ ราคาสินค้าเกษตรที่คาดว่าจะทรงตัวในปีหน้าก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้คาดว่าการขยายตัวของการบริโภคภาคเอกชนในปีหน้าจะใกล้เคียงกับในปีนี้ เนื่องจากแรงงานกว่า 32% ในประเทศไทยอยู่ในภาคเกษตร กำลังซื้อของผู้บริโภคกลุ่มนี้จึงขึ้นอยู่กับราคาสินค้าเกษตรเป็นหลัก แต่สินค้าเกษตรที่เป็นพืชเศรษฐกิจของไทย เช่น ข้าว อ้อย ยางพารา และมันสำปะหลัง กลับมีปัญหาการกระจุกตัวของตลาดส่งออก ทำให้ราคามีความอ่อนไหวต่อปัจจัยภายนอก 
          ยกตัวอย่างเช่น มันสำปะหลัง ที่ส่งออกไปจีนกว่า 70% แต่ความต้องการจากจีนชะลอตัวลงจากการเปลี่ยนนโยบายบริหารราคาสินค้าเกษตรตั้งแต่ปลายปี 2558015 ราคาจึงลดลงจาก 2.1 บาทต่อกิโลกรัมตั้งแต่ไตรมาส 4 ปี 25582015 เหลือเพียง 1.3 บาทต่อกิโลกรัมในปัจจุบัน โดย ศูนย์วิเคราะห์ฯTMBA คาดว่าในปี 2561 ราคาสินค้าเกษตรหลักในปีหน้าจะไม่เปลี่ยนแปลงจากปีนี้มาก ถึงแม้ราคายางพาราและปาล์มจะมีแนวโน้มสูงขึ้นเล็กน้อย แต่ราคาอ้อยคาดว่าจะลดลง ในขณะที่ข้าวและมันสำปะหลังมีแนวโน้มทรงตัว
          เศรษฐกิจที่ขยายตัวดีแบบกระจุกตัวอยู่ที่บริษัทใหญ่ซึ่งจ้างแรงงานไม่มาก ประกอบกับราคาสินค้าเกษตรที่ยังมีแนวโน้มทรงตัว ทำให้คาดว่าการบริโภคภาคเอกชนในปี 2561 จะขยายตัวที่ 3.2% ซึ่งใกล้เคียงกับปี 2560 ที่ประเมินมาณไว้ที่ 3.1%
          ดังนั้น การเร่งพัฒนาบุคคลากรและแรงงานเพื่อช่วยยกระดับค่าจ้างแรงงานและเพิ่มกำลังซื้อในระยะยาว การปรับปรุงกระบวนการการผลิตให้มีประสิทธิภาพและใช้นวัตกรรมเพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้าของผู้ประกอบการธุรกิจ SMEs และภาคเกษตร เพื่อยกระดับความสามารถในการแข่งขันและเพิ่มโอกาสการเติบโตทางธุรกิจ รวมทั้งการกระจายตลาดส่งออกเพื่อไม่ให้ราคาสินค้าเกษตรถูกกระทบจากปัจจัยภายนอกได้ง่าย จึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยสนับสนุนการขยายตัวของการบริโภคภาคเอกชนในระยะยาว
 
 

ข่าวศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจทีเอ็มบี+ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจวันนี้

ทีเอ็มบี เอสเอ็มอี พบ 9 ปัญหาดราม่าทายาทธุรกิจ พร้อมแนะ 3 ทางออก “ปรับพื้นฐาน - สร้างความเชื่อมั่น – ผสานการบริหาร”

ทีเอ็มบี เอสเอ็มอี เผยผลงานวิจัยปัญหาและทัศนคติในหัวข้อ "9 ดราม่าทายาทธุรกิจ รุ่น 2 ทางเลือก-ทางรอดของเอสเอ็มอี4.0" พบปมปัญหา ทั้งเรื่องขาดความรู้ ขาดประสบการณ์ ไม่มีอำนาจการบริหารที่แท้จริง และไม่ได้รับความเชื่อมั่นจากทั้งภายในและภายนอกบริษัท พร้อมแนะนำ 3 ทางออกแก้ไขปัญหา นอกจากนี้ ได้เปิดตัว TMB SME Insights เว็บไซต์ คอมมูนิตี้ฮับ ที่รวบรวมความรู้ ข่าวสารใหม่ๆ และบทความวิเคราะห์ข้อมูลทางเศรษฐกิจจากศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจทีเอ็มบี (TMB Analytics) สำหรับผู้ประกอบการเอสเอ็มอีโดยเฉพาะ เพื่อ

นายนริศ สถาผลเดชา หัวหน้าเจ้าหน้าที่บริหา... ทีเอ็มบีหั่นเป้าเศรษฐกิจเหลือโต 3% มองปัจจัยบวกจากรัฐบาลใหม่หนุนเศรษฐกิจครึ่งปีหลัง — นายนริศ สถาผลเดชา หัวหน้าเจ้าหน้าที่บริหาร ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจทีเ...

5 พืชเศรษฐกิจ ชี้นำเศรษฐกิจภูมิภาค

TMB Analytics ชี้ปี 2560 ราคามันสำปะหลังและข้าวแนวโน้มสดใส ดันเศรษฐกิจภาคเหนือ อีสานคึกคัก อ้อย ยาง ปาล์ม ปริมาณผลผลิตเพิ่ม ชดเชยกับราคาที่ลดลง แนะเกษตรกรรวมตัวลดต้นทุนการผลิต เพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ ควบคู่กับภาครัฐเพิ่มการใช้ในประเทศเพื่อลดพึ่งพิงการส่งออก ศูนย์วิ...

เงินเฟ้อไทยต่ำจริงมั้ย แล้วดอกเบี้ยควรขึ้นเมื่อไหร่

ประเทศไทยใช้อัตราเงินเฟ้อในการกำหนดเป้าหมายนโยบายการเงิน โดยมีกรอบเป้าหมายอยู่ในช่วง 1-4% แต่ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา อัตราเงินเฟ้อของไทยกลับเฉลี่ยไม่เกิน 1% ต่อปี ทำให้ ธปท. ยังต้องคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับ 1.5% เป็นระดับที่เกือบต่ำสุดที่เคยมีมา...

อัตราดอกเบี้ยไทย ถึงเวลาต้องขึ้นหรือยัง

ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีเอ็มบี หรือ TMB Analytics มองว่า ธปท.มีโอกาสขึ้นดอกเบี้ยได้ในปีนี้โดยจะเป็นการขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป จากอัตราดอกเบี้ยโลกที่อยู่ในช่วงขาขึ้น ประกอบกับเศรษฐกิจในประเทศที่ขยายตัวดีต่อเนื่อง เพื่อลดพฤติกรรม Search for yield โดยผลกระทบต่อ...

ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีเอ็มบี หรือ TMB ... บาทแข็ง ค่าแรงเพิ่ม ธุรกิจไหนเจ็บ — ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีเอ็มบี หรือ TMB Analytics ประเมินเงินบาทแข็งค่าบวกค่าแรงขั้นต่ำที่เพิ่มขึ้น กำไรหดเฉลี่ย 0.6...

ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีเอ็มบี เผยความเช... SME ความเชื่อมั่นด้านรายได้ฟื้น กังวลค่าแรงขั้นต่ำกระทบต้นทุนกิจการปีจอ — ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีเอ็มบี เผยความเชื่อมั่น SME ด้านรายได้ในไตรมาส 4 เพิ่มข...

สภาธุรกิจตลาดทุนไทย (FETCO) จัดงานสัมมนา Capital Market Outlook “เศรษฐกิจไทยขยับ เตรียมรับเทคโนโลยีเปลี่ยน”

สภาธุรกิจตลาดทุนไทย (FETCO) ขอเชิญผู้สนใจร่วมงานสัมมนา Capital Market Outlook "เศรษฐกิจไทยขยับ เตรียมรับเทคโนโลยีเปลี่ยน" โดยได้รับเกียรติจาก ดร. วิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย...

ดอกเบี้ยไทยต่ำกว่าดอกเบี้ยเฟด ไม่เป็นไรจริงหรือ

ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีเอ็มบี หรือ TMB Analytics ยังคงมุมมองเดิมว่าธปท.จะคงดอกเบี้ยนโยบายตลอดปีนี้ แต่จะเริ่มมีแรงกดดันให้ต้องปรับขึ้น จากส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยไทยและสหรัฐฯที่ลดลง ซึ่งจะทำให้ผู้ส่งออกได้รับผลกระทบจากอัตราแลกเปลี่ยนล่วงหน้า (Forward...