เตือนเกษตรกรผู้ปลูกกุหลาบ..โดยเฉพาะภาคเหนือ..ระวังโรคราแป้งขาวกุหลาบระบาด

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

          กรมส่งเสริมการเกษตร เตือนเกษตรกรผู้ปลูกกุหลาบรวมถึงไม้ตัดดอกชนิดอื่น ๆ โดยเฉพาะทางภาคเหนือของประเทศไทย ควรเฝ้าระวังโรคราแป้งขาวระบาด ซึ่งมักพบเมื่อสภาพอากาศหนาวเย็น น้ำค้างลงจัดกลางคืนมีความชื้นสูง ทำให้เชื้อโรคราแป้งขาวกุหลาบเจริญเติบโตได้ดี สามารถแพร่ระบาดโดยปลิวไปกับลม ทำความเสียหายรุนแรงได้ ดังนั้น ขอให้เกษตรกรหมั่นสำรวจแปลงของตนเองอย่างสม่ำเสมอ หากพบขุยสีขาวขึ้นปกคลุมบริเวณด้านบนใบและใต้ใบ เนื้อใบที่ถูกทำลายจะพองออก ใบบิดงอ โดยเฉพาะใบอ่อน และยอดอ่อนของกุหลาบ ขอให้เตรียมการป้องกัน หรือขอคำแนะนำจากเจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรอำเภอ หรือสำนักงานเกษตรจังหวัดใกล้บ้าน เพื่อหาแนวทางทางป้องกันกำจัดก่อนเกิดการระบาดรุนแรง
          นายประสงค์ ประไพตระกูล รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร เปิดเผยว่า โรคราแป้งกุหลาบเป็นโรคที่สำคัญชนิดหนึ่งของกุหลาบ และไม้ตัดดอกอีกหลายชนิด โรคราแป้งมีลักษณะเป็นผงสีขาวคล้ายผงแป้งเคลือบอยู่บนผิวใบ ทั้งด้านบนและด้านใต้ใบ พบมากในใบอ่อน และยอดอ่อนของกุหลาบ เนื้อเยื่อส่วนที่เชื้อราเกาะอยู่จะพองออก หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า โรคใบพอง ทำให้ใบบิดงอ ถ้าใบถูกราแป้งเข้าทำลายมาก จะมองเห็นบริเวณที่เป็นโรคมีสีม่วงถึงดำ และหลุดร่วงในที่สุดต้นกุหลาบแคระแกร็น ดอกกุหลาบที่เชื้อราปกคลุมดอกจะไม่บาน หรือบานแต่ดอกไม่สมบูรณ์เสียรูปทรง
          กรมส่งเสริมการเกษตร ขอแนะนำวิธีการป้องกันกำจัดโรคราแป้งขาวกุหลาบ ดังนี้ ๑. ตัดแต่งกิ่งกุหลาบที่เป็นโรค เก็บใบหลุดร่วงที่โคนต้นนำไปเผาทำลายทิ้ง ๒. ในช่วงที่มีการระบาดของโรคควรงดให้ปุ๋ยที่มีธาตุไนโตรเจนสูง เพราะจะทำให้โรคระบาดอย่างรุนแรง ๓. หากมีการระบาดมาก ควรใช้สารเคมีประเภทที่มีกำมะถันหรือทองแดงฉีดพ่นช่วงเช้าหรือเย็น สัปดาห์ละ 1 ครั้ง ๔. สำหรับสารเคมีที่ใช้อื่นๆ เช่น เบนเลท , คาราแทน อัตราการใช้ตามคำแนะนำที่ระบุไว้ในฉลาก
เตือนเกษตรกรผู้ปลูกกุหลาบ..โดยเฉพาะภาคเหนือ..ระวังโรคราแป้งขาวกุหลาบระบาด
 
เตือนเกษตรกรผู้ปลูกกุหลาบ..โดยเฉพาะภาคเหนือ..ระวังโรคราแป้งขาวกุหลาบระบาด

ข่าวกรมส่งเสริมการเกษตร+สภาพอากาศหนาวเย็นวันนี้

กรมส่งเสริมการเกษตร เดินหน้าเตรียมพร้อมรับมือภัยน้ำท่วมในพื้นที่เกษตรตามความเปราะบางของแต่ละพื้นที่ เสริมแผน 4 ระยะ ลดผลกระทบเกษตรกร

ประเทศไทยมีพื้นที่เขตเกษตรกรรมประมาณ 153.18 ล้านไร่ หรือ ร้อยละ 48 ของพื้นที่ประเทศ รองรับเกษตรกรกว่า 5.8 ล้านครัวเรือน เป็นแหล่งผลิตสินค้าเกษตรและอาหารสำคัญภายในประเทศ และสำหรับการส่งออก สร้างความมั่นคงด้านอาหารและรายได้ของประเทศ รวมถึงลักษณะภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นที่ราบน้ำท่วมถึง (Flood Plain) ทำให้พื้นที่เกษตรในหลายจังหวัดได้รับผลกระทบจาก น้ำท่วมในฤดูน้ำหลาก ส่งผลให้เกษตรกรต้องมีการปรับตัวและเตรียมความพร้อม เพื่อลดความเสี่ยงและผลกระทบทางการผลิตที่อาจเกิดขึ้นจากความแปรปรวนของสภาพอากาศ

นางธัญธิตา บุญญมณีกุล รองเลขาธิการสำนักงา... โครงการส่งเสริมและพัฒนาสินค้าเกษตรชีวภาพ หนุนเกษตรกรสร้างรายได้จากสมุนไพร-แมลงเศรษฐกิจ — นางธัญธิตา บุญญมณีกุล รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.)...

กรมส่งเสริมการเกษตร ลงนามบันทึกความเข้าใจ... เกษตรฯ ผนึกกำลังรัฐ-เอกชน ยกระดับกาแฟไทย ดันรายได้เกษตรกรโตอย่างยั่งยืน — กรมส่งเสริมการเกษตร ลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชนกว่...

กรมส่งเสริมการเกษตร แจ้งเตือนเกษตรกรผู้ปล... เตือนชาวนาระวังหนอนกอข้าวระยะแตกกอ — กรมส่งเสริมการเกษตร แจ้งเตือนเกษตรกรผู้ปลูกข้าว เฝ้าระวังหนอนกอข้าว แมลงศัตรูข้าวระยะแตกกอ เนื่องจากพื้นที่ปลูกข้าว...

กรมส่งเสริมการเกษตร จับมือภาคีเครือข่ายเร... เกษตรฯ ส่งมอบท่อนพันธุ์มันสำปะหลังต้านโรคใบด่างฯ หนุนเกษตรกรผลิตได้มั่นใจมากขึ้น — กรมส่งเสริมการเกษตร จับมือภาคีเครือข่ายเร่งส่งมอบท่อนพันธุ์มันสำปะหลังพ...

นายพีรพันธ์ คอทองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษต... เกษตรฯ เผยแนวทางจัดการน้ำท่วมภาคเกษตรไทย 4 ระยะ — นายพีรพันธ์ คอทองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร เปิดเผยว่า ปี 2568 ประเทศไทยเข้าสู่ฤดูฝน เมื่อวันที่ 15 ...

นางธัญธิตา บุญญมณีกุล รองเลขาธิการสำนักงา... 3 ปี ผลสำเร็จแปลงใหญ่ทุเรียนหนองโสน สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจแล้วรวมกว่า 23.79 ล้านบาท — นางธัญธิตา บุญญมณีกุล รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กร...