กระทรวงทรัพยากรฯ ร่วม กยท. เดินหน้าแก้ปัญหาบุกรุกผืนป่า โซนนิ่งพื้นที่ปลูกยางที่เหมาะสม หวังคุมปริมาณยาง-ลดผลผลิต

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

          เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และ กยท. แถลงข่าวการดำเนินการแก้ปัญหาบุกรุกพื้นที่ป่าเพื่อปลูกยางพารา เน้นดำเนินการไม่ให้กระทบกับเกษตรกรชาวสวนยาง โดยมี นางสาวสุทธิลักษณ์ ระวิวรรณ รองปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นประธานการแถลงข่าวฯ ร่วมกับ ดร.ธีธัช สุขสะอาด ผู้ว่าการ กยท. ย้ำว่า การดำเนินการครั้งนี้เป็นอีกหนึ่งมาตรการเร่งด่วน เพื่อควบคุมปริมาณยางที่ปลูกในพื้นที่ป่ารวมถึงพื้นที่ไม่เหมาะสม หวังลดปริมาณผลผลิตยางเพื่อให้เกิดความสมดุลของกลไกตลาด
          นางสาวสุทธิลักษณ์ ระวิวรรณ รองปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เผยว่า จากการที่รัฐบาลมีนโยบายเร่งดำเนินการแก้ปัญหาบุกรุกพื้นที่ป่า เพื่อปลูกยางพารา และลดปริมาณน้ำยางพาราจากพื้นที่ป่าที่ถูกบุกรุก ทั้งในเขตป่าสงวนแห่งชาติ และเขตป่าอนุรักษ์ เพื่อนำมาฟื้นฟูให้กลับเป็นป่าที่มีสภาพสมบูรณ์ดังเดิมโดยเฉพาะกลุ่มนายทุน ดังนั้น เพื่อสนองนโยบายของรัฐบาล ซึ่งเป็นมาตรการเร่งด่วนในการควบคุมปริมาณน้ำยางพาราจำนวนประมาณ 300,000 ตัน/ปี ควบคู่การแก้ไขปัญหากลุ่มราษฎรผู้ยากไร้ จึงได้ประสานงานกับการยางแห่งประเทศไทย สำรวจการถือครอบครอง เพื่อจะนำข้อมูลไปจัดสรรที่ดินทำกิน ตามนโยบายของคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ (คทช.)
          "มาตรการแก้ไขปัญหาสวนยางพาราในพื้นที่ป่า กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้กำหนดออกมา 6 แนวทาง ได้แก่ 1.) เร่งรัดดำเนินคดีสวนยางพารานายทุนที่อยู่ในพื้นที่ป่า 1.32 ล้านไร่ ซึ่งปัจจุบันดำเนินคดีไปแล้ว 160,000 ไร่ 2.) ควบคุมพื้นที่ที่ถูกดำเนินคดีทั้งหมดไม่ให้มีการกรีดน้ำยาง 3.) ลดการกรีดยางในพื้นที่รับผิดชอบของ อ.อ.ป. จำนวน 86,000 ไร่ โดยในปี 2560 - 2561 จะดำเนินการลดพื้นที่ปลูกยางพาราประมาณ 20,000 ไร่ คาดว่า จะช่วยลดปริมาณน้ำยางได้ประมาณ 1,500 ตัน/ปี และจะดำเนินการอย่างต่อเนื่องปีละ 5% จนกว่าจะสามารถลดพื้นที่ปลูกยางพาราได้ทั้งหมด 4.) เร่งรัดดำเนินการจัดที่ดินทำกินตามนโยบายของคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ (คทช.) สำหรับราษฎรผู้ยากไร้ที่ทำสวนยางพาราในพื้นที่ลุ่มน้ำชั้น 3 , 4 , 5 มีพื้นที่ประมาณ 3.6 ล้านไร่ 5.) เร่งรัดดำเนินการ แก้ไขปัญหาราษฎรผู้ยากไร้ที่ทำสวนยางพาราในพื้นที่ป่าลุ่มน้ำชั้น 1 , 2 ในรูปแบบสิทธิทำกินแบบมีเงื่อนไข โดยการปลูกไม้ท้องถิ่นผสมผสานกับไม้ยางพารา และ 6.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมร่วมกับการยางแห่งประเทศไทย จะเร่งรัดดำเนินการแก้ไขปัญหาราษฎรผู้ยากไร้ที่ทำสวนยางพารา ตามแนวทางในข้อ 4 และ ข้อ 5" รองปลัดกระทรวงทรัพยากรฯ กล่าวเพิ่มเติม
          ด้าน ดร.ธีธัช สุขสะอาด ผู้ว่าการ กยท. เผยว่า การดำเนินการร่วมกันระหว่าง กยท. และกระทรวงทรัพยากรฯ เพื่อตอบสนองนโยบายของรัฐบาลที่จะต้องมีการทำโซนนิ่งพื้นที่ปลูกยางที่เหมาะสม เพราะสถานการณ์ราคายาง ส่วนหนึ่งมีสาเหตุจากการส่งออกยางพาราในรูปวัตถุดิบ ซึ่งระดับราคาถูกกำหนดจากความต้องการซื้อ-ขาย และความต้องการใช้ยางพาราของโลก ซึ่งเราไม่สามารถไปกำหนดความต้องการใช้ได้ เพราะเป็นตัวแปรที่ขึ้นอยู่กับการขยายตัวของเศรษฐกิจ และการขยายตัวของประเทศผู้ใช้ แต่สิ่งที่ประเทศไทยสามารถดำเนินการได้ คือ การสร้างสมดุลของปริมาณผลผลิตให้มีความเหมาะสม จากการพยากรณ์การใช้ยางพาราของโลก แต่ละปีจะเติบโตประมาณ 3-4 เปอร์เซ็นต์ แต่การเพิ่มของปริมาณผลผลิตเพิ่มขึ้นมากกว่า เนื่องจากในช่วงปี 2553 ยางพารามีราคาสูงมาก ชาวสวนยางทั้งไทยและต่างประเทศที่สามารถปลูกยางได้ ก็หันมาปลูกยางเป็นจำนวนมาก และช่วงเวลานี้มีที่ผลผลิตออกมาพร้อมกันมากจึงมีผลต่อราคา
          "นโยบายที่รัฐบาลได้มอบไว้ คือ ทำอย่างไรให้สามารถสร้างสมดุลของผลผลิตและความต้องการใช้ให้ได้ และการดูแลเกษตรกรให้ทั่วถึง ส่วนในเรื่องพื้นที่ปลูกยางที่บุกรุกเข้าไปในพื้นที่ของราชการ เช่น ป่าไม้หรืออุทยาน ซึ่งมีอยู่ประมาณ 1 ล้านกว่าไร่ จึงเป็นเป้าหมายของรัฐบาลที่ต้องเข้าไปดำเนินการควบคุม ซึ่งคาดว่าจะมีผลต่อปริมาณของผลผลิตในแต่ละช่วงปีได้" ผู้ว่าการ กยท. กล่าวทิ้งท้าย
กระทรวงทรัพยากรฯ ร่วม กยท. เดินหน้าแก้ปัญหาบุกรุกผืนป่า โซนนิ่งพื้นที่ปลูกยางที่เหมาะสม หวังคุมปริมาณยาง-ลดผลผลิต
 
กระทรวงทรัพยากรฯ ร่วม กยท. เดินหน้าแก้ปัญหาบุกรุกผืนป่า โซนนิ่งพื้นที่ปลูกยางที่เหมาะสม หวังคุมปริมาณยาง-ลดผลผลิต
กระทรวงทรัพยากรฯ ร่วม กยท. เดินหน้าแก้ปัญหาบุกรุกผืนป่า โซนนิ่งพื้นที่ปลูกยางที่เหมาะสม หวังคุมปริมาณยาง-ลดผลผลิต
 
 

ข่าวกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม+กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติวันนี้

อ.อ.ป. ร่วมประชุมภาคีป่าไม้แห่งสหประชาชาติ ครั้งที่ 20 (UNFF20)

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) นำโดย นายจตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ปกท.ทส.) พร้อมด้วย นายสุรชัย อจลบุญ อธิบดีกรมป่าไม้ และผู้แทนจากกรมป่าไม้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม สำนักงานปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงการต่างประเทศ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ รวมถึง นายประสิทธิ์ เกิดโต รักษาการแทนผู้อำนวยการองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้

รอยัล คลิฟ โฮเต็ล กรุ๊ปได้รับตราสัญลักษณ์... รอยัล คลิฟ พัทยา ตอกย้ำความเป็นผู้นำด้านสิ่งแวดล้อม กับการคว้ารางวัล G-Green ระดับดีเยี่ยม — รอยัล คลิฟ โฮเต็ล กรุ๊ปได้รับตราสัญลักษณ์ G-Green โรงแรมที่เป...

นายประสิทธิ์ เกิดโต รักษาการแทนผู้อำนวยกา... อ.อ.ป. รับเกียรติบัตร "องค์กรพัฒนาคุณธรรม ประจำปี 2567" — นายประสิทธิ์ เกิดโต รักษาการแทนผู้อำนวยการองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ (รษก.ผอ.อ.อ.ป.) เป็นผู้แทนปลัด...