มธ. ปักหมุดสู่ “มหาวิทยาลัยแห่งผู้ประกอบการ” และ “สตาร์ทอัพดิสทริก” เปิดตัว 33 สตาร์ทอัพหน้าใหม่ พร้อมก้าวสู่เวทีระดับประเทศ

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

          • มธ. เตรียมเปิด "ธรรมศาสตร์ครีเอทีฟสเปซ" โคเวิร์คกิ้งสเปซ 3 โซนเอื้อสร้างธุรกิจ พร้อมให้บริการเต็มรูปแบบกลางปี 2561
          มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) ตั้งเป้าเดินหน้าสู่ มหาวิทยาลัยแห่งผู้ประกอบการ (Entrepreneurial University) และสตาร์ทอัพดิสทริก (Startup District) พร้อมเปิด "ธรรมศาสตร์ครีเอทีฟสเปซ" (TCS - Thammasat Creative Space) โคเวิร์คกิ้งสเปซครบวงจรด้วย 3 โซนเพื่อกำเนิดธุรกิจ ได้แก่ โซนพื้นที่ทำงาน เพื่อสร้างสรรค์และแลกเปลี่ยนแนวคิด โซนเมคเกอร์สเปซ เพื่อสร้างต้นแบบผลงาน และโซนอเนกประสงค์ เพื่อจัดกิจกรรมพร้อมดันสตาร์ทอัพหน้าใหม่ โดยจะพร้อมให้บริการอย่างเต็มรูปแบบภายในกลางปี 2561 นอกจากนี้ยังได้จัด โครงการธรรมศาสตร์สตาร์ทอัพไทยแลนด์ลีก (Thammasat Startup Thailand League) พร้อมโชว์ตัวอย่างผลงานนวัตกรรมสตาร์ทอัพเยาวชนรุ่นใหม่ 33 ชิ้นครอบคลุมผลงานหลากหลายอุตสาหกรรมธุรกิจ จากนักศึกษาหลากหลายคณะของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อาทิ "Foster" แอปพลิเคชั่นผู้ช่วยหาจุดฝากกระเป๋าสัมภาระในพื้นที่ท้องถิ่นสำหรับนักท่องเที่ยว, "Phoenix AgriDrone" โดรนตรวจเช็คสุขภาพพืชไร่ พืชสวน เพื่อการดูแลและเพิ่มผลผลิตอย่างมีประสิทธิภาพและประหยัดต้นทุน, และ"Happy Ending" ธุรกิจบริการเตรียมความพร้อมในการจัดงานศพ โดยทั้ง 33 ทีมนักศึกษาได้รับรางวัลเพื่อพัฒนาผลงานต้นแบบและเตรียมพร้อมเข้าร่วมประกวดในเวทีระดับประเทศStartup Thailand 2017 ต่อไป
          สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ งานสื่อสารองค์กรมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โทร.02-564-4493 หรือ www.tu.ac.th
          ศาสตราจารย์ ดร.สมคิด เลิศไพฑูรย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า เพื่อเป็นการปรับตัวถึงบทบาทของสถานศึกษาระดับอุดมศึกษาให้สอดคล้องกับทิศทางการขับเคลื่อนประเทศด้วยนวัตกรรมตามนโยบาย "ไทยแลนด์ 4.0" มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้ตั้งเป้าทำหน้าที่ ส่งเสริมและสนับสนุนการสร้างและนำองค์ความรู้ นวัตกรรม และผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ทั้งในเชิงวิชาการและการนำไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ เอื้อต่อการสร้างให้เกิดสตาร์ทอัพ และพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการเอสเอ็มอี จึงทำให้มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้ปักหมุดสู่การเป็น มหาวิทยาลัยแห่งผู้ประกอบการ (Entrepreneurial University) และสตาร์ทอัพดิสทริก (Startup District) เน้นการสร้างทักษะผู้ประกอบการแก่นักศึกษา (Entrepreneurial Skils) สร้างระบบนิเวศน์สตาร์ทอัพ (Startup Ecosystems) ถ่ายทอดเทคโนโลยี (Technology Transfer) และบ่มเพาะ (Incubator) พัฒนาความเป็นผู้ประกอบการและวิสาหกิจเริ่มต้นแก่นักศึกษา คณาจารย์ ศิษย์เก่า และผู้ประกอบการ ตลอดจนนักลงทุนที่สนใจ
          ศาสตราจารย์ ดร.สมคิด กล่าวเพิ่มเติมว่า ในการนี้มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยการสนับสนุนจากสำนักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์ ได้จัดตั้งพื้นที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Co-Working Space) ในชื่อ "TCS – Thammasat Creative Space" ณ บริเวณชั้น 1 หอสมุดป๋วย อึ้งภากรณ์ ด้วยพื้นที่ใช้สอย 1,500 ตารางเมตร พร้อมด้วยงานระบบและครุภัณฑ์ประกอบอาคาร สิ่งอำนวยความสะดวกพื้นฐานในการปฏิบัติงาน รวมมูลค่าทั้งสิ้นกว่า 6 ล้านบาท โดยแบ่งพื้นที่เป็น 3 โซนหลัก ได้แก่ 1) โซนพื้นที่ทำงาน อำนวยความสะดวกด้วยพื้นที่ทำงานขนาดใหญ่ เพื่อให้เกิดบรรยากาศของการสร้างสรรค์ และพบปะ แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ระหว่างผู้ใช้งาน 2) โซนเมคเกอร์สเปซ (Maker Space) พื้นที่สำหรับการสร้างต้นแบบผลงาน ที่มีอุปกรณ์อำนวยความสะดวกอย่างครบครัน อาทิ เครื่องพิมพ์สามมิติ (3D Printer) เครื่องตัดเลเซอร์ (Laser Cut) ฯลฯ 3) โซนอเนกประสงค์ พื้นที่กว้างที่ถูกออกแบบให้สามารถปรับเปลี่ยนได้โดยง่ายเพื่อให้เหมาะสมกับการจัดกิจกรรมได้อย่างยืดหยุ่นและหลากหลาย เช่น การนำเสนอผลงานหรือไอเดีย, การเล่าเรื่องราวของผู้ที่ประสบความสำเร็จเพื่อสร้างแรงบันดาลใจ (TED Talk), การประกวดแผนธุรกิจ (Pitching), การจัดอบรม เวิร์คช็อปต่างๆ เพื่อจุดประกายความรู้ ฯลฯ ทั้งนี้ พื้นที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้ดังกล่าว จะพร้อมให้บริการอย่างเต็มรูปแบบประมาณกลางปี 2561
          ดร.สุทธิกร กิ่งแก้ว ผู้อำนวยการศูนย์ให้คำปรึกษาและพัฒนาผู้บริหารทางธุรกิจ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) ได้ดำเนินโครงการประกวดแข่งขันไอเดียธุรกิจสตาร์ทอัพระดับประเทศ (Startup Thailand League) เพื่อให้ความรู้และสร้างความพร้อมให้แก่นักศึกษา คณาจารย์และนักวิจัยในการประยุกต์ใช้องค์ความรู้ เพื่อพัฒนาสู่ธุรกิจเข้าประกวดแข่งขันในงานระดับภูมิภาค และระดับประเทศต่อไป โดยล่าสุดได้ทำการคัดเลือกผลงานทีมนักศึกษาที่ผ่านเกณฑ์จำนวนทั้งสิ้น 33 ทีม ครอบคลุมผลงานหลากหลายอุตสาหกรรมธุรกิจ จากนักศึกษาหลากหลายคณะของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อาทิ ผลงาน "Foster" แอปพลิเคชั่นผู้ช่วยหาจุดฝากกระเป๋าสัมภาระในพื้นที่ท้องถิ่นสำหรับนักท่องเที่ยว, ผลงาน "Phoenix AgriDrone" โดรนตรวจเช็คสุขภาพพืชไร่ พืชสวน เพื่อการดูแลและเพิ่มผลผลิตอย่างมีประสิทธิภาพและประหยัดต้นทุน, และผลงาน "Happy Ending" ธุรกิจบริการเตรียมความพร้อมในการจัดงานศพ โดยแต่ละทีมที่ผ่านการคัดเลือกจะได้รับเงินรางวัลทีมละ 100,000 บาทในการพัฒนาชิ้นงานต้นแบบ เพื่อเตรียมความพร้อมสู่การประกวดในเวทีระดับประเทศ Startup Thailand 2017 ต่อไป
          ด้าน นายชินโชติ เถรปัญญาภรณ์ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 คณะเศรษฐศาสตร์ มธ. เจ้าของผลงาน "Foster" แอปฯหาจุด Drop กระเป๋าแบบทันใจ กล่าวว่า สำหรับแอปพลิเคชั่นดังกล่าว มีแนวคิดมาจากปัญหาเรื่องการดูแลสัมภาระของนักท่องเที่ยวอิสระ (Backpacker) ที่ต้องพกติดตัวจำนวนมาก และเสี่ยงต่อการถูกโจรกรรมตลอดการเดินทาง โดยแอปฯ จะทำหน้าที่เป็นแพลทฟอร์มกลางในการช่วยค้นหาร้านค้าพาร์ทเนอร์ที่รับฝากสัมภาระ ในจุดที่นักท่องเที่ยวต้องการเดินทาง พร้อมแสดงรายละเอียดร้านค้า และจำนวนสัมภาระที่ฝากได้ โดยที่ไม่ต้องกังวลว่าจะสูญหาย เนื่องจากทางร้านค้าจะต้องลงทะเบียนยืนยันตัวตน ขณะที่ทีม Foster จะเป็นผู้รับประกันสัมภาระ ทั้งนี้ ตลอดการเข้าร่วมโครงการธรรมศาสตร์สตาร์ทอัพไทยแลนด์ลีก เป็นระยะเวลา 3 เดือน ได้รับความรู้ด้านการตลาดที่ชัดเจนยิ่งขึ้น รวมถึงการพัฒนาฟังก์ชันของแอปฯ ให้สอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมายในด้านต่างๆ อาทิ ข้อกำหนดทางด้านความแตกต่างของสกุลเงิน ฯลฯ อย่างไรก็ตาม ทางทีมผู้พัฒนามีความมุ่งหวังว่าหากแอปฯ Foster ได้รับการพัฒนาและใช้งานจริง จะสามารถช่วยกระจายรายได้ไปยังร้านค้าที่อยู่ในแหล่งท่องเที่ยวได้มากยิ่งขึ้น
          ทั้งนี้ ศาสตราจารย์ ดร.สมคิด เลิศไพฑูรย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้มอบรางวัลให้กับกลุ่มนักศึกษาที่ผ่านการคัดเลือกพิจารณารวมทั้งสิ้น 33 ทีม เพื่อนำไปพัฒนาชิ้นงานต้นแบบและต่อยอดเป็นธุรกิจสตาร์ทอัพเพื่อเข้าร่วมในงาน Startup Thailand 2017 กิจกรรมดังกล่าวจัดขึ้นเมื่อเร็วๆ นี้ ณ ธรรมศาสตร์ครีเอทีฟสเปซ (Thammasat Creative Space) ชั้น 1 หอสมุดป๋วย อึ้งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต
          สำหรับผู้สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ งานสื่อสารองค์กร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โทร.02-564-4493 หรือ www.tu.ac.th
มธ. ปักหมุดสู่ “มหาวิทยาลัยแห่งผู้ประกอบการ” และ “สตาร์ทอัพดิสทริก” เปิดตัว 33 สตาร์ทอัพหน้าใหม่ พร้อมก้าวสู่เวทีระดับประเทศ
 
มธ. ปักหมุดสู่ “มหาวิทยาลัยแห่งผู้ประกอบการ” และ “สตาร์ทอัพดิสทริก” เปิดตัว 33 สตาร์ทอัพหน้าใหม่ พร้อมก้าวสู่เวทีระดับประเทศ
มธ. ปักหมุดสู่ “มหาวิทยาลัยแห่งผู้ประกอบการ” และ “สตาร์ทอัพดิสทริก” เปิดตัว 33 สตาร์ทอัพหน้าใหม่ พร้อมก้าวสู่เวทีระดับประเทศ

ข่าวมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์+มหาวิทยาลัยธรรมศาสวันนี้

วว. จับมือพันธมิตรไทย-จีน เสริมสร้างความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม

ดร.โศรดา วัลภา รองผู้ว่าการบริการอุตสาหกรรม สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นประธานเปิดการสัมมนาหัวข้อเรื่อง "The China-Thailand Forum on Innovation and Development in Environmental Science and Engineering" จัดโดย กลุ่มบริการอุตสาหกรรม วว. ร่วมกับ Kunming University of Science and Technology National Science Park.,Ltd. (ประเทศจีน) และคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) ภายใต้การดำเนิน

ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ ร่วมกับ สมาคมนัก... รวมใจ ให้โลหิต 1 พฤษภาคม วันแรงงานไทย May Day : Give Blood Save Lives — ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ ร่วมกับ สมาคมนักศึกษาเก่าพาณิชยศาสตร์ และการบัญชีมหาวิทยา...

พ่วงผลกระทบสุขภาพจิต และโครงสร้างแรงงาน เ... สัญญาณเตือนระดับชาติ! มธ. ชี้ชัด "สังคมสูงวัยสมบูรณ์แบบ" ตัวเร่งวิกฤตเศรษฐกิจไทย — พ่วงผลกระทบสุขภาพจิต และโครงสร้างแรงงาน เผยตัวเลขผู้สูงวัยเตรียมพุ่งสูง...

นายณัฏฐชัย ศิริโก (ที่ 3 จากขวา) ประธานเจ... AMR โชว์นวัตกรรมผลิตป้ายทะเบียนอัตโนมัติ พร้อมต้อนรับพาร์ทเนอร์ ขยายโอกาสสู่อาเซียน — นายณัฏฐชัย ศิริโก (ที่ 3 จากขวา) ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอเอ...

ศูนย์หนังสือจุฬาฯ ชวนร่วมงานสัปดาห์หนังสื... ศูนย์หนังสือจุฬาฯ ชวนร่วมงานสัปดาห์หนังสือฯ — ศูนย์หนังสือจุฬาฯ ชวนร่วมงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ครั้งที่ 53 และงานสัปดาห์หนังสือนานาชาติครั้งที่ 23 ณ...

อาจารย์วารสารฯ มธ. แนะ "สื่อ" นำเสนอข่าวเ... อาจารย์วารสารฯ มธ. แนะ "สื่อ" นำเสนอข่าวเซนซิทีฟต้องสร้างวิจารณญาณ มากกว่าปลุกเร้าอารมณ์ร่วม — อาจารย์วารสารฯ มธ. แนะ "สื่อ" นำเสนอข่าวเซนซิทีฟต้องสร้างวิ...

ถนนพระอาทิตย์นั้นเริ่มตั้งแต่ถนนพระสุเมรุ... นัท วอล์คเกอร์ พาวอล์ค: เที่ยวชมเมืองเก่า สัมผัสเสน่ห์ยามเย็นริมถนนพระอาทิตย์ — ถนนพระอาทิตย์นั้นเริ่มตั้งแต่ถนนพระสุเมรุไปจนถึงมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ตลอด...