วิลลิส ทาวเวอร์ส วัทสัน เผยผลสำรวจ คาดอัตราเงินเดือนในไทยปรับขึ้นที่ร้อยละ 5.5 ในปี 2561

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

          วิลลิส ทาวเวอร์ส วัทสัน (NASDAQ: WLTW) บริษัทที่ปรึกษาด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล โบรกเกอร์ และโซลูชั่นส์ชั้นนำระดับโลก เผยผลสำรวจจากรายงานการวางแผนจัดสรรงบประมาณเงินเดือนในเอเชียแปซิฟิก ปี 2560 - ไตรมาส 3) (2017 Salary Budget Planning Report - Asia Pacific (Third Quarter)) คาดว่า อัตราเงินเดือนในประเทศไทยจะปรับขึ้นที่ร้อยละ 5.5 ในปี 2561 เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากปี 2560 ที่อัตราการขึ้นเงินเดือนอยู่ที่ร้อยละ 5.2 
          เมื่อเทียบกับตลาดสำคัญอื่น ๆ ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก การปรับอัตราเงินเดือนในประเทศไทยยังอยู่ในระดับกลางของกลุ่ม โดยอินเดีย (ร้อยละ 10) ศรีลังกา (ร้อยละ 8.6) และอินโดนีเซีย (ร้อยละ 8.5) จะมีการปรับอัตราเงินเดือนเพิ่มขึ้นมากที่สุด ในขณะที่ญี่ปุ่น (ร้อยละ 2.3) จะมีการปรับอัตราเงินเดือนเพิ่มน้อยที่สุด 

          การปรับอัตราเงินเดือนสำหรับทุกกลุ่มอุตสาหกรรมในประเทศไทยช่วงปี 2559-2561 มีแนวโน้มใกล้เคียงกัน โดยกลุ่มอุตสาหกรรมก่อสร้าง มีการขึ้นเงินเดือนต่ำสุดที่ร้อยละ 4 ในปี 2560 และคาดว่าอัตราการขึ้นเงินเดือนจะยังคงต่ำสุดในกลุ่ม โดยอยู่ที่ร้อยละ 5 ในปี 2561 ส่วนกลุ่มประกันชีวิตมีอัตราการขึ้นเงินเดือนลดลงต่อเนื่องทุกปี แต่คาดว่าจะยังรักษาระดับที่ค่าเฉลี่ยมาตรฐานของทุกกลุ่มอุตสาหกรรม ที่ร้อยละ 5.5 (ดูแผนภูมิที่ 2 ด้านล่าง)
          ผลสำรวจประจำปีเกี่ยวกับค่าตอบแทนรวมของทุกกลุ่มอุตสาหกรรม ประจำปี 2560 (2017 General Industry Total Compensation Survey) ของวิลลิส ทาวเวอร์ส วัทสัน พบว่า อัตราการลาออกของพนักงานโดยรวมในประเทศไทยอยู่ที่ร้อยละ 12 ในปี 2560 ซึ่งเท่ากับปีก่อนหน้า โดยต่ำกว่าอัตราการลาออกของพนักงานทั่วทั้งภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (ร้อยละ 15) โดยกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีอัตราการลาออกของพนักงานสูงสุด ได้แก่ กลุ่มผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ (ร้อยละ 18) และกลุ่มประกันชีวิต (ร้อยละ 16) ส่วนกลุ่มไฮเทค (ร้อยละ 11) และกลุ่มบริหารสินทรัพย์ (ร้อยละ 10) มีอัตราการลาออกของพนักงานต่ำที่สุด
          สาเหตุการลาออกของพนักงานสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ ความต้องการเงินเดือนที่สูงขึ้น โอกาสความก้าวหน้าในสายอาชีพ และความสัมพันธ์กับหัวหน้าหรือผู้จัดการ "บริษัทต่าง ๆ ในประเทศไทยรับรู้ถึงสาเหตุเหล่านี้เป็นอย่างดี อย่างไรก็ตาม อาจจะต้องใช้เวลาในการพัฒนาแผนด้านทรัพยากรบุคคลที่จำเป็นเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว" คุณพิชญ์พจี สายเชื้อ กรรมการผู้จัดการ บริษัท วิลลิส ทาวเวอร์ส วัทสัน ประเทศไทย กล่าว "เราอาจใช้แนวทางแก้ปัญหาที่ทำได้เร็วมาช่วย เช่น การสร้างความต่างในการจ่ายค่าตอบแทน การเลื่อนตำแหน่งพนักงานที่มีศักยภาพ และที่สำคัญที่สุดคือ การเตรียมความพร้อมทั้งความรู้และเครื่องมือด้านทรัพยากรบุคคลที่เหมาะสมแก่เหล่าผู้จัดการหรือหัวหน้างาน เพื่อให้พวกเขาสามารถบริหารจัดการคนได้อย่างดีด้วย"
          โบนัสในปี 2560 แตกต่างกันในแต่ละกลุ่มอุตสาหกรรม โดยอยู่ที่ 1.8 เดือน ถึง 5.5 เดือน ของเงินเดือนพื้นฐาน กลุ่มผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และกลุ่มประกันภัย จ่ายโบนัสต่ำสุดที่ 1.8 เดือน ซึ่งน้อยกว่าค่าเฉลี่ยของทุกกลุ่มอุตสาหกรรม (2.4 เดือน) ส่วนกลุ่มบริหารสินทรัพย์ มีการจ่ายโบนัสสูงที่สุดโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 5.5 เดือน 
          "องค์กรทั้งหลายต้องเข้าใจว่าค่าตอบแทนที่เป็นตัวเงินเป็นเพียงองค์ประกอบหนึ่งที่ช่วยจูงใจและรักษาพนักงานที่มีความสามารถไว้" คุณโทนี่ คันธาภัสระ ผู้อำนวยการ ฝ่ายธุรกิจที่ปรึกษาด้านผลตอบแทนและทรัพยากรบุคคล บริษัท วิลลิส ทาวเวอร์ส วัทสัน ประเทศไทย กล่าว "สิ่งที่สำคัญไม่แพ้กันคือ การเข้าใจว่าปัจจัยอะไรที่ช่วยกระตุ้นให้พนักงานมีส่วนร่วมและผูกพันกับองค์กร รวมทั้งการสร้างคุณค่าให้แก่พนักงาน (Employee Value Proposition – EVP) ที่เหมาะสมและตรงกับความต้องการของพนักงานในองค์กร" 
          ผู้จบการศึกษาระดับปริญญาตรี สามารถเรียกเงินเดือนเริ่มต้นที่ 15,000 บาท ส่วนผู้ที่จบการศึกษาระดับปริญญาโท สามารถเรียกเงินเดือนเริ่มต้นที่ 20,500 บาท เป็นอย่างน้อย กลุ่มวิชาชีพที่เสนออัตราค่าจ้างเริ่มต้นสูงสุดสำหรับผู้ที่เพิ่งจบการศึกษา ได้แก่ สาขาวิศวกรรมศาสตร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ กฎหมาย ทรัพยากรบุคคล การเงินและบัญชี 
          สายงานที่สรรหาและว่าจ้างพนักงานได้ยาก ได้แก่ ฝ่ายขายและพัฒนาธุรกิจ (ร้อยละ 46.5) เทคโนโลยีสารสนเทศ (ร้อยละ 28.3) และการตลาด (ร้อยละ 25.3) ตามลำดับ ส่วนสายงานที่องค์กรรักษาพนักงานไว้ได้ยากที่สุด ได้แก่ ฝ่ายขายและพัฒนาธุรกิจ (ร้อยละ 52) ตามมาด้วยฝ่ายบริการลูกค้า/สนับสนุนด้านเทคนิค (ร้อยละ 24) และเทคโนโลยีสารสนเทศและวิศวกรรมศาสตร์ (ร้อยละ 16) 
          คุณโทนี่ กล่าวเสริมว่า "ท่ามกลางการแข่งขันเพื่อจูงใจและรักษาพนักงานที่มีศักยภาพไว้ในองค์กร บริษัทต่าง ๆ จำเป็นต้องเข้าใจเทรนด์ที่เกิดขึ้นในอุตสาหกรรม และมองผลสะท้อนจากตลาดว่าอะไรคือสิ่งสำคัญสำหรับพนักงาน ซึ่งจะช่วยให้บริษัทสามารถรักษาพนักงานที่มีฝีมือ และคงขีดความสามารถในการแข่งขันเอาไว้ได้ นอกจากนี้ ข้อมูลที่น่าเชื่อถือก็จะช่วยให้องค์กรสามารถตัดสินใจและบริหารจัดการบุคลากรของตนได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ"
วิลลิส ทาวเวอร์ส วัทสัน เผยผลสำรวจ คาดอัตราเงินเดือนในไทยปรับขึ้นที่ร้อยละ 5.5 ในปี 2561
วิลลิส ทาวเวอร์ส วัทสัน เผยผลสำรวจ คาดอัตราเงินเดือนในไทยปรับขึ้นที่ร้อยละ 5.5 ในปี 2561
 
 

ข่าววิลลิส ทาวเวอร์ส วัทสัน+ทาวเวอร์ส วัทสันวันนี้

CEO การบินไทยเปิดประชุมสัมมนาประกันภัยเครื่องบินระดับสากล Aviation Conference 2023

นายชาย เอี่ยมศิริ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ได้รับเกียรติ เป็นประธานกล่าวเปิดการประชุมสัมมนา Aviation Conference 2023 หรือ การประชุมสัมมนาประกันภัยเครื่องบินประจำปี 2566 จัดโดยบริษัท วิลลิส ทาวเวอร์ส วัทสัน (Willis Towers Watson-WTW) ซึ่งเป็นบริษัทนายหน้ารับประกันภัยต่อ (Reinsurance Broker) มีจุดมุ่งหมายเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และรับฟัง ความคืบหน้าในธุรกิจประกันภัยเครื่องบิน การบริหารความเสี่ยง รวมทั้งแนวทางการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน โดยมีผู้แทนจากบริษัทประกันภัย

วิลลิส ทาวเวอร์ส วัทสันชี้อัตราอัตราการขึ้นเงินเดือนในเอเชียแปซิฟิกกลับฟื้นตัวเป็นครั้งแรกในรอบสี่ปี

อัตราการขึ้นเงินเดือนในธุรกิจสินค้าอุปโภคบริโภคยังคงสูงที่สุด ขณะที่ธุรกิจประกันในประเทศไทยหดตัว บริษัทวิลลิส ทาวเวอร์ส วัทสัน (NASDAQ: WLTW) บริษัทที่ปรึกษาด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล โบรกเกอร์ และ...

สมาคมประกันวินาศภัยไทย ร่วมกับ บริษัท วิล... ภาพข่าว: CEO Focus Group — สมาคมประกันวินาศภัยไทย ร่วมกับ บริษัท วิลลิส ทาวเวอร์ส วัทสัน (ประเทศไทย) จำกัด จัดสัมมนา CEO Focus Group หัวข้อ ...

ค่าใช้จ่ายสวัสดิการด้านการดูแลสุขภาพในเอเ... วิลลิส ทาวเวอร์ส วัทสัน ชี้ค่าใช้จ่ายสวัสดิการด้านการดูแลสุขภาพ ที่สูงขึ้นในไทย ยังน่าห่วง — ค่าใช้จ่ายสวัสดิการด้านการดูแลสุขภาพในเอเชียแปซิฟิก ยังคงเพิ่...

- ค่าใช้จ่ายสวัสดิการด้านการดูแลสุขภาพในเ... วิลลิส ทาวเวอร์ส วัทสัน ชี้ค่าใช้จ่ายสวัสดิการด้านการดูแลสุขภาพ ที่สูงขึ้นในไทย ยังน่าห่วง — - ค่าใช้จ่ายสวัสดิการด้านการดูแลสุขภาพในเอเชียแปซิฟิก ยังคงเพ...

ต้นทุนค่าแรงต่ำในไทยและกลุ่มตลาดเกิดใหม่ในอาเซียน ฉุดความสามารถการแข่งขันของจีนให้ถดถอย

· ต้นทุนแรงงานในประเทศไทย ฟิลิปปินส์ เวียดนาม และมาเลเซีย ต่ำกว่าต้นทุนแรงงานของจีนกึ่งหนึ่ง · อินโดนีเซียเป็นตลาดแรงงานที่แพงที่สุดในกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ในอาเซียน · ไทยจ่ายค่าตอบ...