นวัตกรรมทางสังคม สู่วาทกรรมที่ยั่งยืน

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

          บทความโดย : ผศ. ดร.วีรณัฐ โรจนประภา
          นักวิชาการด้านสังคมผู้สูงวัย นายกสมาคมบ้านปันรัก

          โลกปัจจุบันนี้เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว สิ่งต่างๆ ที่เพียรก่อร่างพัฒนามาอาจกลายเป็นความสูญเปล่าเพียงชั่วแค่ข้ามคืน ในระยะหลังจำเป็นต้องมีคำคุณศัพท์ขยายเพิ่มขึ้นมาอีกหนึ่งคำ ซึ่งเราคุ้นหูกันดี นั่นคือคำว่า "ความยั่งยืน" ที่มักใช้ร่วมกับคำว่า "พัฒนา" จนกลายเป็นโจทย์บนหลายเวทีว่า...

ทำอย่างไรถึงจะเกิดการ "พัฒนาอย่างยั่งยืน ?"
          ในเวทีสัมมนาวิชาการของคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในหัวข้อ "การสร้างนวัตกรรมสังคมสงเคราะห์ และการพัฒนาชุมชนสู่เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน" นั้นผมในฐานะนักวิชาการด้านสังคมผู้สูงวัย และนายกสมาคมบ้านปันรัก ได้มองความ "ยั่งยืน" ในอีกมุมคือ สิ่งใดที่ทำให้การพัฒนาสังคมนั้น "ไม่ยั่งยืน" ซึ่งเมื่อตีโจทย์ในมุมนี้ จะทำให้เห็น 2 ประเด็น คือ
          1.ความไม่ยั่งยืนของประเทศไทย (หรือประเทศใด ๆ ก็ตาม) ล้วนมาจากการรุกรานจากประเทศภายนอกนั่นเอง โดยมีเหตุจากการรุกรานด้วยหวังผลประโยชน์จากทรัพยากร หรือจากระบบตลาด เป็นต้น
          2.เมื่อเห็นผู้ที่จะมาทำลายความยั่งยืนแล้ว ต่อไปก็ต้องมาหาว่า แล้วเขาจะใช้อะไรมายึดครองประเทศเรา นั่นคือการหา "อาวุธ" ที่ประเทศภายนอกจะใช้ในการโจมตีสังคมของเรานั่นเอง

          อาวุธยุคนี้ไม่เหมือนยุคดึกดำบรรพ์ ที่มีเพียงแรงกายของหัวหน้าเผ่า หรืออาจจะหินอีกสักก้อนก็พอแล้ว และไม่ได้ตรงไปตรงมาแบบยุคเกษตรกรรม ที่ใช้ปืน ผา หน้าไม้ อีกทั้งไม่ได้เด่นชัดว่าคือเงินทุนเหมือนในยุคอุตสาหกรรม แต่สิ่งที่ซ่อนรูปและทำให้ซับซ้อนมากขึ้น ก็คือ "ความรู้"
          ดังนั้น คำถามจากโจทย์ของเวทีก็คือ แล้วจะหานวัตกรรมใดมาสร้างให้คนมีความรู้ ?
          คำตอบ ย่อมไม่ใช่การใช้อำนาจสั่งให้คนไปศึกษาเล่าเรียน หรือไปบังคับกันตรงๆ แต่เป็นการใช้ "อำนาจที่ซ่อนรูป" ทำให้คนเกิดความใฝ่ที่จะอยากเรียนรู้ด้วยตนเอง ซึ่งเมื่อมาผนวกเข้ากับสภาพสังคมที่เปลี่ยนไปจากสังคมอุตสาหกรรมมาสู่สังคมโซเชียล คนสื่อสารกันด้วยสัญลักษณ์ หรือที่เรียกว่า "สังคมเชิงสัญลักษณ์" ก็พอจะเห็นภาพว่า นวัตกรรมชิ้นต่อไปที่จะเปลี่ยนโลกก็คือสิ่งที่เรียกว่า "วาทกรรม" (Discourse) หรือ "ผลึกความรู้" ที่จะส่งทั้งความจริง ความรู้ และกรอบที่ต้องการออกไปสู่ผู้รับสาร
          วาทกรรมนี้ เป็นเสมือนเครื่องมือชิ้นใหม่ล่าสุด ที่ผู้มีอำนาจใช้ปกครองคนในยุคข้อมูลข่าวสาร เป็นเครื่องมือที่ทรงอานุภาพยิ่งกว่านวัตกรรมที่พึ่งอาวุธยุทโธปกรณ์ใดๆ ที่มนุษย์เคยผลิตออกมา "วาทกรรม" นี้เองจะนำความจริงที่ปรากฏ มาผูกกับความรู้ในมุมมองที่ต้องการ แล้วบูรณาการเข้ากับอำนาจที่จะใช้เพื่อการไปสู่เป้าหมายนั้น ซึ่งผู้โดนอาวุธนี้ จะไม่รู้ตัวด้วยซ้ำว่าตัวเองถูกปกครองอยู่ นี่คือสิ่งที่โลกกำลังดำเนินไป ซึ่งเราอาจนำมาประยุกต์เพื่อตอบโจทย์บนเวทีนี้ว่า นวัตกรรมที่พึงประสงค์ในการพัฒนาอย่างยั่งยืนนี้ ก็คือ "การใช้ความคิดสร้างสรรค์รังสรรค์ 'วาทกรรม' ที่จะทำให้คนมีแรงบันดาลใจใฝ่เรียนรู้นั่นเอง!"
นวัตกรรมทางสังคม สู่วาทกรรมที่ยั่งยืน
 

ข่าวมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์+มหาวิทยาลัยธรรมศาสวันนี้

วว. จับมือพันธมิตรไทย-จีน เสริมสร้างความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม

ดร.โศรดา วัลภา รองผู้ว่าการบริการอุตสาหกรรม สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นประธานเปิดการสัมมนาหัวข้อเรื่อง "The China-Thailand Forum on Innovation and Development in Environmental Science and Engineering" จัดโดย กลุ่มบริการอุตสาหกรรม วว. ร่วมกับ Kunming University of Science and Technology National Science Park.,Ltd. (ประเทศจีน) และคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) ภายใต้การดำเนิน

ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ ร่วมกับ สมาคมนัก... รวมใจ ให้โลหิต 1 พฤษภาคม วันแรงงานไทย May Day : Give Blood Save Lives — ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ ร่วมกับ สมาคมนักศึกษาเก่าพาณิชยศาสตร์ และการบัญชีมหาวิทยา...

พ่วงผลกระทบสุขภาพจิต และโครงสร้างแรงงาน เ... สัญญาณเตือนระดับชาติ! มธ. ชี้ชัด "สังคมสูงวัยสมบูรณ์แบบ" ตัวเร่งวิกฤตเศรษฐกิจไทย — พ่วงผลกระทบสุขภาพจิต และโครงสร้างแรงงาน เผยตัวเลขผู้สูงวัยเตรียมพุ่งสูง...

นายณัฏฐชัย ศิริโก (ที่ 3 จากขวา) ประธานเจ... AMR โชว์นวัตกรรมผลิตป้ายทะเบียนอัตโนมัติ พร้อมต้อนรับพาร์ทเนอร์ ขยายโอกาสสู่อาเซียน — นายณัฏฐชัย ศิริโก (ที่ 3 จากขวา) ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอเอ...

ศูนย์หนังสือจุฬาฯ ชวนร่วมงานสัปดาห์หนังสื... ศูนย์หนังสือจุฬาฯ ชวนร่วมงานสัปดาห์หนังสือฯ — ศูนย์หนังสือจุฬาฯ ชวนร่วมงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ครั้งที่ 53 และงานสัปดาห์หนังสือนานาชาติครั้งที่ 23 ณ...

อาจารย์วารสารฯ มธ. แนะ "สื่อ" นำเสนอข่าวเ... อาจารย์วารสารฯ มธ. แนะ "สื่อ" นำเสนอข่าวเซนซิทีฟต้องสร้างวิจารณญาณ มากกว่าปลุกเร้าอารมณ์ร่วม — อาจารย์วารสารฯ มธ. แนะ "สื่อ" นำเสนอข่าวเซนซิทีฟต้องสร้างวิ...

ถนนพระอาทิตย์นั้นเริ่มตั้งแต่ถนนพระสุเมรุ... นัท วอล์คเกอร์ พาวอล์ค: เที่ยวชมเมืองเก่า สัมผัสเสน่ห์ยามเย็นริมถนนพระอาทิตย์ — ถนนพระอาทิตย์นั้นเริ่มตั้งแต่ถนนพระสุเมรุไปจนถึงมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ตลอด...