กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข โดยโรงพยาบาลเลิดสิน ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ และความเข้าใจกับบริษัท แอมเจน (ประเทศไทย) จำกัด เพื่อรณรงค์โครงการ “รู้ทัน...กันหักซ้ำ” ของกระดูกสะโพกในผู้สูงอายุ

22 Mar 2018
จากสถานการณ์ระดับโลกรวมถึงประเทศไทยที่ได้ก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มตัวภาวะกระดูกสะโพกหักหรือHip fracture จากภาวะกระดูกพรุนได้มีอุบัติการณ์ที่ทวีความรุนแรงขึ้นเป็นเงาตามตัวและจะเพิ่มขึ้นในอัตราเร่งภายในระยะเวลาไม่กี่ปีข้างหน้า สอดคล้องกับการศึกษาของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่เกี่ยวกับBurden of osteoporosis in Thailand ในปีพ.ศ. 2542 พบว่าอุบัติการณ์การเกิดกระดูกสะโพกหักในผู้สูงอายุคนไทยจะสูงขึ้นจากปีละ 180 รายต่อแสนประชากรผู้สูงวัยเป็น 450-750 รายต่อแสนประชากรผู้สูงวัยภายในปีพ.ศ. 2568 จัดเป็นปัญหาทางสาธารณสุขขนาดใหญ่และยังมีการศึกษาจากต่างประเทศพบว่าผู้ป่วยกลุ่มนี้กว่า 20% จะเสียชีวิตภายใน 1 ปี, 40% จะไม่สามารถเดินด้วยตัวเองได้และมากถึง 80% ไม่สามารถทำกิจวัตรประจำวันด้วยตัวเอง
กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข โดยโรงพยาบาลเลิดสิน ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ และความเข้าใจกับบริษัท แอมเจน (ประเทศไทย) จำกัด เพื่อรณรงค์โครงการ “รู้ทัน...กันหักซ้ำ” ของกระดูกสะโพกในผู้สูงอายุ

ซึ่งการบันทึกข้อตกลงความร่วมมือและความเข้าใจระหว่าง กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข โดยโรงพยาบาล เลิดสินและบริษัท แอมเจน (ประเทศไทย)จำกัด ในครั้งนี้ มุ่งรณรงค์ให้ความรู้โครงการ "รู้ทัน...กันหักซ้ำ" สนับสนุนจัดประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาบุคลากรทางการแพทย์ ในการขับเคลื่อนโครงการให้เป็นรูปธรรม เพื่อพัฒนาคุณภาพการดูแลรักษาผู้ป่วยกลุ่มนี้ให้ดียิ่งขึ้น ตามนโยบายที่กระทรวงสาธารณสุขได้ออกประกาศให้โครงการ "รู้ทัน...กันหักซ้ำ" เป็นหนึ่งในโครงการพัฒนาระบบบริการสุขภาพ 2560

นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ข้อตกลงความร่วมมือขององค์กรที่เกี่ยวข้องในการทำงานร่วมกันเป็นไปตามนโยบายที่กระทรวงฯ ได้ออกประกาศให้โครงการ "รู้ทัน...กันหักซ้ำ"เป็นหนึ่งในโครงการพัฒนาระบบบริการสุขภาพ 2560 ให้ดำเนินไปตามแผนงานเพื่อตอบสนองแนวโน้มความเปลี่ยนแปลงของสังคมและประชากรตลอดจนความต้องการด้านสุขภาพของประเทศได้ทันท่วงที ซึ่งการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือและความเข้าใจระหว่างกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข โดยโรงพยาบาลเลิดสิน และบริษัท แอมเจน (ประเทศไทย) จำกัด ครั้งนี้ ถือเป็นความร่วมมือในการพัฒนาศักยภาพบุคลากร ทีมงาน "รู้ทัน...กันหักซ้ำ" ให้มีประสิทธิภาพสอดคล้องไปกับแนวทางของ Fracture Liaison Services (FLS) ซึ่งเป็นระบบการบริหารรูปแบบหนึ่งเพื่อขจัดปัญหาช่องว่างของการดูแลผู้ป่วย (care gap) และการจัดตั้งเครือข่าย การพัฒนาบุคลากรด้านสารสนเทศ และผู้เกี่ยวข้องของโรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ "รู้ทัน...กันหักซ้ำ" ให้มีความเข้าใจที่ถูกต้องร่วมกัน

นพ.สมพงษ์ ตันจริยภรณ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลเลิดสิน กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ซึ่งเป็นผู้ดำเนินโครงการ "รู้ทัน...กันหักซ้ำ" กล่าวว่า โครงการรณรงค์ฯ ในครั้งนี้ นอกจากหน่วยงานแพทย์และสาธารณสุขแล้ว ยังต้องได้รับความร่วมมือจากทุกหน่วยงานทุกภาคส่วน เพื่อผลักดันให้ความรู้แก่ประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เรื่องการป้องกันเพื่อให้ประชาชนส่วนใหญ่ที่กำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดี และลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคกระดูกพรุน ซึ่งสถิติผู้ป่วยโรคนี้เพิ่มสูงขึ้นทุกปี ประมาณร้อยละ50 ของผู้ที่กระดูกหักหนึ่งจุดอันเนื่องมาจากกระดูกพรุน ก็จะมีโอกาสเกิดภาวะกระดูกหักซ้ำเพิ่มได้อีกในบริเวณอื่นๆ โดยกระดูกบริเวณที่พบว่ามีโอกาสหักได้บ่อยได้แก่ กระดูกสะโพกกระดูกหลัง กระดูกข้อมือ และผู้หญิงในวัยหมดประจำเดือนเนื่องจากฮอร์โมนเอสโตรเจนที่มีส่วนช่วยในการสร้างกระดูกจะลดต่ำลงมาก จึงทำให้เกิดภาวะสลายเซลล์กระดูกมีมากกว่าการสร้างเซลล์กระดูก

จากสถิติของการเกิดกระดูกหักซ้ำในผู้ป่วยโรคกระดูกพรุน พบว่าจะมีกระดูกสะโพกหักซ้ำอีกข้างได้ร้อยละ 10 และกระดูกส่วนอื่นๆ หักตามมาได้ร้อยละ 12.20 ดังนั้นหากสามารถลดการเกิดกระดูกหักซ้ำลงได้ร้อยละ 25-50 หมายถึง การลดกระดูกสะโพกหักซ้ำ ให้เหลือร้อยละ 5 และกระดูกหักในส่วนอื่นๆ ให้เหลือร้อยละ 6-10 จะพบความแตกต่างของจำนวนผู้ป่วยสะสมในระยะที่ผ่านไปอย่างเห็นได้ชัด

สำหรับแนวทางการรักษาภาวะกระดูกหักซ้ำประกอบด้วย การผ่าตัดรักษากระดูกสะโพกหัก แบบ Fast Track Surgery (ผ่าตัดไว) เพื่อลดภาวะแทรกซ้อนเพิ่มอัตราการฟื้นตัวที่ดียิ่งขึ้น การเข้าถึงการประเมินและการรักษาภาวะกระดูกพรุน (Osteoporosis treatment) ที่ถูกต้องและเหมาะสม การประเมินความเสี่ยงต่อภาวะหกล้ม ผู้ป่วยและผู้ดูแลสามารถเข้าถึงองค์ความรู้ การฟื้นฟูและบริหารร่างกายที่เหมาะสมเพื่อป้องกันการล้มซ้ำ และเพื่อการฟื้นฟูสมรรถนะหลังการผ่าตัดให้ดียิ่งขึ้น ผู้ป่วยและผู้ดูแลสามารถเข้าถึงองค์ความรู้ที่สำคัญด้านอื่นๆ การขยายขอบเขตการดูแลไปยัง Primary health care ในชุมชน มีการส่งต่อการดูแลไปยังชุมชนเพื่อการแก้ไขปัญหาแบบยั่งยืน

นาย อีริค อึ้ง ผู้จัดการ บริษัท แอมเจน ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าวว่า บริษัทแอมเจนรู้สึกภูมิใจเป็นอย่างยิ่งที่ได้ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือและความเข้าใจ ร่วมกับโรงพยาบาลเลิดสิน และกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ในการขจัดปัญหาช่องว่างของการดูแลผู้ป่วยกระดูกหักจากโรคกระดูกพรุนในประเทศไทย ทำให้ประชาชนมีสุขภาพที่ดีขึ้น โดยโครงการ "รู้ทัน...กันหักซ้ำ" เป็นโครงการที่สอดคล้องกับพันธกิจของบริษัทฯ ในการช่วยเหลือผู้ป่วย นอกเหนือจากวิธีการรักษาด้วยยา เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้ป่วยให้ดีขึ้น โดยบริษัทหวังเป็นอย่างยิ่งว่าความสำเร็จในการดำเนินโครงการในครั้งนี้สามารถพัฒนาการให้บริการผู้ป่วยโรงกระดูกพรุนได้ดียิ่งขึ้น

กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข โดยโรงพยาบาลเลิดสิน ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ และความเข้าใจกับบริษัท แอมเจน (ประเทศไทย) จำกัด เพื่อรณรงค์โครงการ “รู้ทัน...กันหักซ้ำ” ของกระดูกสะโพกในผู้สูงอายุ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข โดยโรงพยาบาลเลิดสิน ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ และความเข้าใจกับบริษัท แอมเจน (ประเทศไทย) จำกัด เพื่อรณรงค์โครงการ “รู้ทัน...กันหักซ้ำ” ของกระดูกสะโพกในผู้สูงอายุ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข โดยโรงพยาบาลเลิดสิน ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ และความเข้าใจกับบริษัท แอมเจน (ประเทศไทย) จำกัด เพื่อรณรงค์โครงการ “รู้ทัน...กันหักซ้ำ” ของกระดูกสะโพกในผู้สูงอายุ