ทรัพย์สินจุฬาฯ (PMCU) ติดตั้งสถานีตรวจอากาศ Environmental Sensor Network

12 Mar 2018
ทรัพย์สินจุฬาฯ (PMCU) ตระหนักถึงปัญหาสภาวะบรรยากาศกรุงเทพมหานครที่ถูกปกคลุมด้วยฝุ่นพิษเข้าสู่สภาวะวิกฤติด้วยค่า PM2 เกินมาตรฐานโลก ซึ่งกำหนดไว้ที่ 10 มิลลิกรัมต่อลูกบาศก์ และในประเทศไทยกำหนดไว้ไม่เกิน 50 มิลลิกรัมต่อลูกบาศก์เมตร โดยร่วมกับโครงการ Environmental Sensor Network ติดตั้งสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศ ช่วยวัดปริมาณฝุ่นในอากาศ ด้วยประสิทธิภาพการเฝ้าระวัง และประเมินผลสภาวะฝุ่นพิษอย่างแม่นยำ รวมทั้งประเมินผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนในพื้นที่อย่างมีประสิทธิ์ภาพ
ทรัพย์สินจุฬาฯ (PMCU) ติดตั้งสถานีตรวจอากาศ Environmental Sensor Network

โดยการติดตั้งสถานีตรวจอากาศ (Environmental Sensor Network) ทำการติดตั้งขึ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจวัดคุณภาพอากาศและสิ่งแวดล้อมที่กระจายปกคลุมพื้นที่กรุงเทพมหานครในขณะนี้ได้กระจายการติดตั้งให้ครอบคลุมพื้นที่ Chula Smart City ที่สามารถช่วยให้มีการเฝ้าระวังและประเมินผลกระทบได้อย่างถูกต้องแม่นยำยิ่งขึ้น ทั้งนี้นอกจากการเฝ้าระวังและประเมินผลที่แม่นยำดังกล่าวแล้วยังสามารถเชื่อมโยงไปกับการเฝ้าระวังผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนได้อย่างถูกต้องทำให้การกำหนดนโยบายต่างๆ ที่จะป้องกันและแก้ไขปัญหาเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพอยู่บนพื้นฐานของข้อมูลที่ได้อย่างมีประสิทธิ์ภาพ ซึ่งในขณะนี้ได้ทำการติดตั้งแล้วใน 2 สถานที่หลัก ประกอบด้วย สถานีตรวจอากาศ บริเวณอุทยาน 100 ปี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (Weather Station) และ สยามสแควร์ (อุปกรณ์เซ็นเซอร์)

โดยที่สถานีอุทยาน 100 ปี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (Weather Station) สามาถวัดความเร็วของกระแสลม, วัดทิศทางของกระลม,วัดปริมาณน้ำฝน,วัดอุณหภูมิ, วัดความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศและวัดปริมาณอนุภาคฝุ่นละอองในอากาศ ขนาด PM1, PM2.5 และ PM 10 โดยใช้พลังงานจาก โซล่าเซล

ส่วนที่สยามสแควร์ เป็นอุปกรณ์เซ็นเซอร์ ที่สามารถวัดอุณหภูมิในพื้นที่, ช่วยวัดความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศ และ วัดปริมาณ ฝุ่นละอองในอากาศขนาด PM1,PM2.5 และ PM10 โดยใช้พลังงานจากกระแสไฟฟ้าในพื้นที่ ซึ่งมีอัตราการใช้พลังงานไฟฟ้าเท่ากับ 1.8 หน่วย ต่อเดือน ต่อ 1 จุดติดตั้ง โดยคุณลักษณะของเครือข่ายเซ็นเซอร์ ซึ่งเป็นเครือข่ายตรวจสอบคุณภาพอากาศและสิ่งแวดล้อมแบบ Real Time

สำหรับการติดตั้งเครือข่าย Environment Sensors ดังกล่าวจะเป็นประโยชน์ต่อพื้นที่โดยทำให้ทราบถึงคุณภาพของสภาพอากาศในบริเวณดังกล่าว ซึ่งสามารถช่วยในการวางแผนปรับปรุงพื้นที่ในอนาคตได้นอกจากนี้ข้อมูลที่ได้ยังสามารถนำไปต่อยอดการวิจัยและสร้างเครือข่ายด้านคุณภาพอากาศ อีกทั้งยังช่วยในการจัดการคุณภาพอากาศอย่างยั่งยืนให้กับชุมชนในพื้นที่พื้นที่ Chula Smart City อีกด้วย