ทีซีดีซี เผย กูเกิล นำนิทรรศการ “ศาสตรา สถาปัตย์ ไทย” เผยแพร่แบบออนไลน์ เปิดให้ทั่วโลกศึกษางานสถาปัตยกรรมไทยจาก “พระเมรุมาศ รัชกาลที่ 9”

20 Mar 2018
ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC) ร่วมกับ กูเกิลคัลเชอรัลอินสติติวท์ (Google Cultural Institute) นำเสนอเนื้อหานิทรรศการ "ศาสตรา สถาปัตย์ ไทย: พระเมรุมาศ จุดเชื่อมจักรวาลและการออกแบบ" (Insight | Thai | Architecture) บนเว็บไซต์ จัดทำรูปภาพ คำบรรยาย และวิดีโอความละเอียดสูง พร้อมคำบรรยายภาษาอังกฤษ เพื่อเผยแพร่ กระจายองค์ความรู้ด้านศิลปะ สถาปัตยกรรมไทยที่มีความวิจิตรงดงาม ผ่านกรณีศึกษาพระเมรุมาศและพระที่นั่งทรงธรรม สถาปัตยกรรมชั่วคราวในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร โดยเปิดโอกาสให้ชาวต่างชาติได้เข้าศึกษาเข้าชมโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ผู้สนใจสามารถเข้าชมนิทรรศการดังกล่าวได้ที่ https://artsandculture.google.com/exhibit/RwKihz4TUTJ3JQ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อ ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ โทรศัพท์ 02-105-7441 และ www.tcdc.or.th
ทีซีดีซี เผย กูเกิล นำนิทรรศการ “ศาสตรา สถาปัตย์ ไทย” เผยแพร่แบบออนไลน์ เปิดให้ทั่วโลกศึกษางานสถาปัตยกรรมไทยจาก “พระเมรุมาศ รัชกาลที่ 9”

นายกิตติรัตน์ ปิติพานิช รักษาการผู้อำนวยการศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC) กล่าวว่า กูเกิลคัลเชอรัลอินสติติวท์ (Google Cultural Institute) คือเครื่องมือหนึ่งของทางกูเกิล ที่ถูกคิดค้นขึ้นเพื่อให้ผู้ที่สนใจศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับศิลปะและวัฒนธรรม สามารถชมพิพิธภัณฑ์ได้แบบเสมือนจริง (Virtual Reality) รวมไปถึงฟังก์ชั่นการชมนิทรรศการต่างๆ พร้อมรายละเอียดในแต่ละส่วน และสามารถชมภาพศิลปะความละเอียดสูง พร้อมข้อมูลเกี่ยวกับวัตถุและภาพศิลปะต่างๆ ในพิพิธภัณฑ์ โดยปัจจุบันสามารถเข้าชมพิพิธภัณฑ์ได้มากกว่า 850 แห่งทั่วโลก และนิทรรศการอีกมากมาย ซึ่งในประเทศไทยมีเพียงพิพิธภัณฑ์เพียง 7 แห่งเท่านั้นที่สามารถเข้าชมผ่านเว็ปไซต์กูเกิลคัลเชอรัลอินสติติวท์ได้

นายกิตติรัตน์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ล่าสุด ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC) ได้ร่วมมือกับ กูเกิลคัลเชอรัลอินสติติวท์ (Google Cultural Institute) นำเสนอเนื้อหานิทรรศการ "ศาสตรา สถาปัตย์ ไทย: พระเมรุมาศ จุดเชื่อมจักรวาลและการออกแบบ" (Insight | Thai | Architecture) หนึ่งในนิทรรศการประวัติศาสตร์ของไทยที่ควรค่าแก่การเก็บรักษา นิทรรศการนำเสนอศิลปะและสถาปัตยกรรมไทย ที่ปรากฏบนพระเมรุมาศและพระที่นั่งทรงธรรม สถาปัตยกรรมชั่วคราวในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร โดยได้จัดทำเป็นเนื้อหานิทรรศการออนไลน์ ประกอบไปด้วย รูปภาพ คำบรรยาย และวิดีโอความละเอียดสูง พร้อมคำบรรยายภาษาอังกฤษเพื่อให้ประชาชนคนไทย เยาวชนรุ่นหลัง รวมถึงชาวต่างชาติที่มีความสนใจในศิลปวัฒนธรรมไทยได้ศึกษา เข้าชม

เนื้อหาในนิทรรศการถูกแบ่งออกเป็น 5 ส่วน เช่นเดียวกับนิทรรศการจริงที่ถูกจัดแสดง ณ ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ ระหว่างวันที่ 11 ตุลาคม 2560 – 7 มกราคม 2561 ได้แก่ 1) โซน "คติจักรวาล" นำเสนอความเชื่อทางศาสนาที่ส่งผลต่อการออกแบบสถาปัตยกรรมไทย 2) โซน "แบบจำลองพระเมรุมาศ รัชกาลที่ 9" บอกเล่าพัฒนาการในการออกแบบสถาปัตยกรรมชั่วคราวในช่วงรัตนโกสินทร์ 3) โซน "ห้องจำลองโรงขยายแบบ" แสดงกระบวนการร่างแบบพระเมรุมาศขนาดเท่าจริง และการจัดแสดงแบบร่างมือในส่วนงานสร้างพระเมรุมาศ และพระที่นั่งทรงธรรม 4) โซน "ต้นแบบงานก่อนออกสู่สาธารณะ" จัดแสดงชิ้นงานสำเร็จทางจิตกรรม ศิลปกรรม และสถาปัตยกรรมที่ใช้งานพระราชพิธี 5) โซน "แรงบันดาลใจจากครูสู่งานสถาปัตย์ไทย" บอกเล่าแนวความคิดและวิถีการถ่ายทอดความรู้จากครูทางด้านศิลปกรรมและสถาปัตยกรรม นายกิตติรัตน์ กล่าวเพิ่มเติม

ผู้สนใจสามารถเข้าชมนิทรรศการ "ศาสตรา สถาปัตย์ ไทย: พระเมรุมาศ จุดเชื่อมจักรวาลและการออกแบบ" (Insight | Thai | Architecture) แบบออนไลน์ได้ที่ https://artsandculture.google.com/exhibit/RwKihz4TUTJ3JQ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ โทรศัพท์ 02-105-7441 และ www.tcdc.or.th

ทีซีดีซี เผย กูเกิล นำนิทรรศการ “ศาสตรา สถาปัตย์ ไทย” เผยแพร่แบบออนไลน์ เปิดให้ทั่วโลกศึกษางานสถาปัตยกรรมไทยจาก “พระเมรุมาศ รัชกาลที่ 9” ทีซีดีซี เผย กูเกิล นำนิทรรศการ “ศาสตรา สถาปัตย์ ไทย” เผยแพร่แบบออนไลน์ เปิดให้ทั่วโลกศึกษางานสถาปัตยกรรมไทยจาก “พระเมรุมาศ รัชกาลที่ 9” ทีซีดีซี เผย กูเกิล นำนิทรรศการ “ศาสตรา สถาปัตย์ ไทย” เผยแพร่แบบออนไลน์ เปิดให้ทั่วโลกศึกษางานสถาปัตยกรรมไทยจาก “พระเมรุมาศ รัชกาลที่ 9”