รายชื่อสุดยอดมหาวิทยาลัยระดับโลกในแต่ละสาขาวิชาเปิดเผยแล้ววันนี้
#QSWUR
QS Quacquarelli Symonds ผู้วิเคราะห์ข้อมูลด้านสถาบันอุดมศึกษาทั่วโลก ได้เผยแพร่ผลการจัดอันดับ QS World University Rankings by Subject ครั้งที่ 8 แล้ววันนี้ โครงการวิจัยครั้งนี้ได้รวบรวมข้อมูลจากสถาบันชั้นนำของโลกในสาขาวิชาทั้งหมด 48 สาขา และ 5 กลุ่มวิชา การจัดอันดับนี้เป็นผลงานที่มีความครอบคลุมมากที่สุดเมื่อเทียบกับผลงานประเภทเดียวกัน โดยออกแบบมาเพื่อให้คำแนะนำแก่ว่าที่นักศึกษาและนักศึกษาปัจจุบัน รวมไปถึงผู้ปกครอง ครูแนะแนวสายอาชีพและการศึกษา และบรรดานักวิชาการ ด้วยข้อมูลเปรียบเทียบผลงานของมหาวิทยาลัยแต่ละแห่ง
(โลโก้: http://photos.prnewswire.com/prnh/20130909/638188 )
สำหรับปีนี้ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดยังคงเป็นสถาบันที่มีความโดดเด่นที่สุดในโลก โดยสามารถครองอันดับ 1 ได้ถึง 14 สาขาวิชา ขึ้นนำสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (มีสาขาที่ครองอันดับ 1 ทั้งหมด 12 สาขาวิชา) และมหาวิทยาลัยอ๊อกซ์ฟอร์ด (ครองอันดับ 1 ใน 4 สาขาวิชา)
ผลการค้นพบสำคัญ:
- สถาบันอุดมศึกษาของสหรัฐอเมริกามีอันดับลงมากกว่าอันดับขึ้น
- มหาวิทยาลัยในสหราชอาณาจักรยังคงอยู่ในช่วงฟื้นตัวจาก Brexit โดยครองอันดับ 1 ได้ทั้งหมด 10 สาขาวิชา มากกว่าปีที่ผ่านมา 2 สาขาวิชา
- มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์มีสาขาวิชาที่ติด 10 อันดับแรกมากกว่าสถาบันอื่น ๆ (37 สาขาวิชา)
- ในทวีปยุโรป เนเธอร์แลนด์เป็นประเทศเดียวที่คว้าอันดับต้น ๆ ได้ 2 สาขาวิชา ในขณะที่สวิตเซอร์แลนด์และอิตาลีคว้าไปได้ประเทศละ 1 สาขาวิชา
- มหาวิทยาลัยในฝรั่งเศสยังอยู่ในสภาวะที่ต้องดิ้นรน โดยมีอันดับลงมากกว่าอันดับขึ้น
- มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ เป็นมหาวิทยาลัยที่โดดเด่นในเอเชีย โดยมีสาขาวิชาที่ติด 10 อันดับแรกถึง 11 สาขาวิชา
- มหาวิทยาลัยในจีนมีพัฒนาการที่ชะลอตัวลง เช่นเดียวกับรัสเซีย
- ผลการจัดอันดับปรากฎว่า มหาวิทยาลัยในอินเดียมีผลงานถอยหลังลงเล็กน้อย
- บราซิลมีสาขาวิชาที่หลุด 100 อันดับแรกเกือบถึงหนึ่งในสี่ สะท้อนให้เห็นถึงภาวะดิ้นรนของระบบการศึกษาในบราซิล
- QS ได้เพิ่มสาขาวิชาใหม่อีก 2 สาขาเข้าการจัดอันดับในปีนี้ ได้แก่ สาขาบรรณารักษ์และการจัดการข้อมูล และประวัติศาสตร์คลาสสิคและโบราณ
ผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลกตามสาขาวิชาปี 2561: รายชื่อสถาบันที่มีสาขาวิชาติด 10 อันดับแรกมากที่สุด | ||
สถาบัน | ประเทศ | จำนวนสาขาวิชาที่ติดท็อป 10 |
มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ | สหราชอาณาจักร | 37 |
มหาวิทยาลัยอ๊อกซ์ฟอร์ด | สหราชอาณาจักร | 35 |
มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์ | สหรัฐอเมริกา | 34 |
มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด | สหรัฐอเมริกา | 34 |
มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด | สหรัฐอเมริกา | 32 |
สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ | สหรัฐอเมริกา | 24 |
มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ลอสแอนเจลิส | สหรัฐอเมริกา | 14 |
วิทยาลัยเศรษฐศาสตร์แห่งลอนดอน | สหราชอาณาจักร | 13 |
มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ | สิงคโปร์ | 11 |
มหาวิทยาลัยเยล | สหรัฐอเมริกา | 11 |
(c) QS Quacquarelli Symonds 2004-2018 http://www.TopUniversities.com |
นายเบน โซวเทอร์ ผู้อำนวยการฝ่ายการวิจัยของ QS กล่าวว่า "ปีนี้อาจเป็นปีแรกนับตั้งแต่ที่ได้เริ่มทำโครงการวิจัยนี้มา ที่เราเริ่มมองเห็นประเทศต่าง ๆ ในเอเชียมีพัฒนาการที่ชะลอตัวลง โดยยังไม่มีอัตราการครองอันดับ 50 อันดับแรกมากขึ้นอย่างชัดเจน มีเพียงมหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ที่แสดงให้เห็นถึงศักยภาพทางการแข่งขันครอบคลุมสาขาวิชาต่าง ๆ จนคว้าอันดับต้น ๆ ผลลัพธ์ดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงอุปสรรคที่สถาบันหรือระบบการศึกษาแต่ละประเทศกำลังเผชิญ ด้วยเป้าหมายเพื่อบรรลุมาตรฐานคุณภาพงานวิจัยระดับโลก"
ดูรายงานการจัดอันดับฉบับเต็มได้ที่ http://www.TopUniversities.com
QS Quacquarelli Symonds ผู้วิเคราะห์ข้อมูลสถาบันอุดมศึกษาทั่วโลก ได้เปิดเผยผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลกตามสาขาวิชา "QS World University Rankings by Subjects" ที่มีข้อมูลครบถ้วนที่สุด[1] โดยเป็นการจัดอันดับมหาวิทยาลัย 1,222 แห่ง ใน 78 ประเทศ ใน 48 สาขาวิชา และ 5 กลุ่มวิชา ผลการจัดอันดับนี้ใช้ข้อมูลจากสถาบันวิชาการ 83,000 แห่งที่ให้ข้อมูลของบุคลากรกว่า 1.25 ล้านคน รวมถึงบริษัท 42,000 แห่งที่ให้ข้อมูลของพนักงาน 199,123 คน นอกจากนั้นยังมีการวิเคราะห์ข้อมูลอ้างอิง 150 ล้านข้อมูลจากเอกสารทางวิชาการ 22
ม.มหิดลได้อันดับ 1 ของประเทศไทย จากการจัดอ้นด้บของ University Ranking By Academic Performance (URAP) 2019-2020
—
เมื่อเร็วๆ นี้ได้มีการประกาศผลการจัดอันดั...
มหาวิทยาลัยขอนแก่นวางกลยุทธ์ KKU Transformation ฝ่าวิกฤติอุดมศึกษาไทย
—
ปัจจุบันการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมด้านการเรียนรู้ของบุคคลและด้านการบริหารจัดการอ...