อาร์ทไพรซ์ เผยรายงานตลาดศิลปะร่วมสมัยปี 2018 ชี้ยอดประมูลพุ่ง 1,744% ในช่วง 18 ปีที่ผ่านมา พร้อมผลตอบแทนเฉลี่ยต่อปี 8.1% และตลาดเติบโตเต็มที่ใน 5 ทวีป

ข่าวประชาสัมพันธ์ »
          รายงานตลาดศิลปะร่วมสมัยฉบับที่ 21 สำเร็จลุล่วงด้วยความร่วมมืออย่างใกล้ชิดระหว่างอาร์ทไพรซ์ (Artprice) ผู้นำระดับโลกด้านข้อมูลข่าวสารตลาดศิลปะ ซึ่งก่อตั้งและบริหารงานโดยคุณเธียร์รี เออร์มานน์ กับอาร์ททรอน (Artron) / AMMA (Art Market Monitor of Artron) ผู้ให้บริการข้อมูลตลาดศิลปะจากจีน ซึ่งก่อตั้งและบริหารงานโดยคุณหวัน เจี่ย

          (โลโก้: https://mma.prnewswire.com/media/644091/Artprice_Logo.jpg )

          ปัจจัยชี้วัดหลัก 3 ประการของตลาดศิลปะร่วมสมัยมีการเติบโตเท่าๆกันในระยะเวลา 12 เดือนสิ้นสุด ณ เดือนมิถุนายน 2018 (ยอดประมูลทั่วโลกเพิ่มขึ้น 19% ผลงานที่ขายได้เพิ่มขึ้น 17% และดัชนีราคาเพิ่มขึ้น 18%) ชี้ให้เห็นถึงการเติบโตอย่างรวดเร็วและสมดุลของศิลปะร่วมสมัยทั่วโลก 

          ปัจจุบัน ผลงานศิลปะร่วมสมัยมีผลตอบแทนเฉลี่ยต่อปีกว่า 8.1% ซึ่งน่าดึงดูดใจอย่างมากในสถานการณ์ที่เงินฝากมีอัตราดอกเบี้ยติดลบหรือเกือบเป็นศูนย์

          รายงานตลาดศิลปะร่วมสมัยปี 2018 ซึ่งเป็นตัวช่วยสำคัญที่ขาดไม่ได้สำหรับผู้เข้าร่วมมหกรรมศิลปะครั้งใหญ่ในช่วงฤดูใบไม้ร่วง โดยเฉพาะงาน Frieze และ Fiac เปิดให้อ่านโดยไม่มีค่าใช้จ่ายที่ https://www.artprice.com/artprice-reports/the-contemporary-art-market-report-2018

          หมายเหตุสำหรับรายงานของอาร์ทไพรซ์ 

          ศิลปะร่วมสมัย คือ ผลงานที่สร้างสรรค์โดยศิลปินที่เกิดหลังปีค.ศ. 1945 

          วิจิตรศิลป์ คือ จิตรกรรม ประติมากรรม ภาพวาด ภาพถ่าย วิดีโอ งานพิมพ์ ศิลปะจัดวาง

          ช่วงเวลาวิเคราะห์: 1 กรกฎาคม 2017 ถึง 30 มิถุนายน 2018 

          ในช่วง 12 เดือนดังกล่าว มีการประมูลผลงานศิลปะ 66,850 ครั้ง สะท้อนถึงความคึกคักอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน โดยเพิ่มขึ้นถึง 5.5 เท่าจากปี 2000/2001 ขณะที่ยอดประมูลทั่วโลกพุ่งขึ้น 1,744% จาก 103 ล้านดอลลาร์ในปี 2000/2001 สู่ระดับ 1.9 พันล้านดอลลาร์ ส่วนราคาเฉลี่ยของผลงานศิลปะร่วมสมัยเพิ่มขึ้นจาก 8,400 ดอลลาร์ในปี 2000/2001 เป็น 28,000 ดอลลาร์ในปัจจุบัน นอกจากนี้ ตลาดศิลปะร่วมสมัยในปัจจุบันยังมีความหลากหลายอย่างมาก โดยศิลปินร่วมสมัย 20,335 รายมีผลงานที่ได้รับการประมูลอย่างน้อยหนึ่งครั้งในช่วง 12 เดือน เพิ่มขึ้นเกือบ 5 เท่าจากปี 2000/2001 ที่มีเพียง 4,100 ราย 

          คุณเธียร์รี เออร์มานน์ ผู้ก่อตั้งและซีอีโอของอาร์ทไพรซ์ กล่าวว่า "ตลาดศิลปะร่วมสมัยเคยผ่านช่วงเวลาของการปรับโครงสร้างนาน 3 ปี และตอนนี้กลับมาอีกครั้งด้วยความแข็งแกร่งกว่าเดิมมาก ถึงแม้ว่าราคาผลงานศิลปะร่วมสมัยจะปรับตัวขึ้นอีกครั้ง แต่ก็ยังมีผลงานศิลปะให้เลือกสรรมากมาย และอัตราผลงานที่ขายไม่ได้ยังทรงตัวที่ระดับ 39% ซึ่งรับรองความสมดุลของตลาด"

          สหราชอาณาจักร (545 ล้านดอลลาร์) และจีนแผ่นดินใหญ่ (298 ล้านดอลลาร์) มียอดประมูลเพิ่มขึ้น 55% และ 15% ตามลำดับ ขณะที่สหรัฐอเมริกามียอดประมูลลดลง 13% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า ซึ่งในตอนนั้นได้รับแรงหนุนจากยอดประมูล 110.5 ล้านดอลลาร์สำหรับผลงาน Untitled (1984) ของฌอง-มิเชล บาสเกียท์ 

          ลอนดอน นิวยอร์ก ปักกิ่ง และฮ่องกง ครองสัดส่วนสูงถึง 82% ของยอดประมูลผลงานศิลปะร่วมสมัยทั่วโลก แม้ว่าจำนวนผลงานที่ขายได้จะมีสัดส่วนเพียง 17% ของทั่วโลกก็ตาม 

          ฝรั่งเศสทำผลงานโดดเด่นด้วยยอดประมูลที่พุ่งขึ้น 81% แตะที่ 71 ล้านดอลลาร์ ส่วนประเทศอื่นๆในยุโรป ได้แก่ เยอรมนี (เพิ่มขึ้น 40%) อิตาลี (เพิ่มขึ้น 31%) และเบลเยียม (เพิ่มขึ้น 27%) ครองอันดับที่ 5, 7 และ 10 ตามลำดับในตลาดศิลปะร่วมสมัยโลก นอกจากนั้นยังมีอีกหลายประเทศที่ช่วยหนุนการเติบโตของตลาดโลก ได้แก่ ญี่ปุ่น (เพิ่มขึ้น 22%) ออสเตรเลีย (เพิ่มขึ้น 15%) เกาหลีใต้ (เพิ่มขึ้น 15%) และแอฟริกาใต้ (เพิ่มขึ้น 25%)

          ข้อมูลสำคัญ

          1. ยอดประมูลทั่วโลกเพิ่มขึ้น 19% สู่ระดับ 1.9 พันล้านดอลลาร์
          2. จำนวนผลงานที่ขายได้เพิ่มขึ้น 17% จากการประมูล 66,850 ครั้ง
          3. ผลงานที่ขายไม่ได้ทั่วโลกยังทรงตัวที่ระดับ 39%
          4. ดัชนีราคาผลงานศิลปะร่วมสมัยเพิ่มขึ้น 18.5%
          5. นับตั้งแต่ปี 2000/2001 ยอดประมูลทั่วโลกพุ่งขึ้น 1,744% จาก 103 ล้านดอลลาร์ เป็น 1.9 พันล้านดอลลาร์ 
          6. นับตั้งแต่ปี 2000/2001 การประมูลผลงานศิลปะเพิ่มขึ้น 5.5 เท่า จาก 12,300 ครั้ง เป็น 66,850 ครั้ง
          7. มีการประมูลผลงานศิลปะร่วมสมัยใน 59 ประเทศในปีที่แล้ว
          8. นิวยอร์ก ลอนดอน ปักกิ่ง และฮ่องกง ครองสัดส่วนสูงถึง 82% ของยอดประมูลผลงานศิลปะร่วมสมัยทั่วโลก แม้ว่าจำนวนผลงานที่ขายได้จะมีสัดส่วนเพียง 17% ของทั่วโลกก็ตาม
          9. จีน (รวมฮ่องกงและไต้หวัน) มียอดประมูล 480 ล้านดอลลาร์ คิดเป็นสัดส่วน 26% ของตลาดโลก
          10. ยุโรปทำผลงานยอดเยี่ยม โดยฝรั่งเศสมียอดประมูลพุ่งขึ้น 81% เยอรมนีเพิ่มขึ้น 40% และอิตาลีเพิ่มขึ้น 31% 

          1. สรุปสาระสำคัญ ผลงานของตลาดศิลปะร่วมสมัย 

          2. ราคาของศิลปิน
          3. แอฟริกาและการกระจายผลงาน
          4. ข่าว 

          สุดยอดผลงานศิลปะร่วมสมัย 100 อันดับที่ถูกขายในการประมูล (กรกฎาคม 2017 - มิถุนายน 2018)

          สุดยอดศิลปินร่วมสมัย 500 อันดับเมื่อพิจารณาจากยอดประมูล (กรกฎาคม 2017 - มิถุนายน 2018)

          ศิลปะร่วมสมัย (ปัจจุบันคิดเป็น 12% ของตลาดศิลปะโลก เมื่อเทียบกับปี 2000 ที่มีสัดส่วนเพียง 2.8%) ไม่สามารถชี้วัดโดยใช้มาตรฐานเดียวกับศิลปะอิมเพรสชันนิสม์หรือศิลปะสมัยใหม่ ดัชนีความนิยมและดัชนีราคาของศิลปินร่วมสมัยมีความอ่อนไหวอย่างมากต่อหลากหลายปัจจัย โดยมักขึ้นอยู่กับสถานการณ์ต่างๆ และ "ข่าวสารในแวดวงศิลปะ" 

          ในการศึกษาข้อเท็จจริงนี้ อาร์ทไพรซ์ได้พัฒนาวิธีการใหม่ในการวิเคราะห์และเครื่องมือสนับสนุนการตัดสินใจหลากหลายประเภท โดยร่วมมือกับนักเศรษฐมิติ กองบรรณาธิการ และนักประวัติศาสตร์ศิลปะของอาร์ทไพรซ์ ผลที่ได้คือ ระเบียบวิธีที่ให้ข้อมูลเชิงลึกที่สุดเกี่ยวกับความเคลื่อนไหวของราคาในตลาด 

          คุณเธียร์รี เออร์มานน์ กล่าวว่า "ศิลปินไส้แห้งเป็นความเชื่อที่ล้าหลังในยุคสมัยใหม่ และคำกล่าวที่ว่าศิลปินที่ดีคือศิลปินที่ตายแล้วก็ใช้ไม่ได้อีกต่อไป" 

          "รายงานตลาดศิลปะร่วมสมัยปี 2018 (ฉบับที่ 21 นับตั้งแต่ปี 1997) เจาะลึกไปที่ประเด็นสำคัญ นั่นคือ บทบาทของศิลปินในยุคสมัยใหม่ ผมเชื่อว่าเราคงเห็นด้วยกับคำกล่าวของนักปรัชญา จอร์โจ อกัมเบน ที่ว่า ศิลปินร่วมสมัยคือคนที่จดจ่อกับยุคสมัยของตนเอง เพื่อรับรู้ด้านมืดมากกว่าด้านสว่าง ซึ่งเป็นบทบาทที่ฟื้นคืนมาจากการหลับใหลอันยาวนาน" 

          "ในโลกที่มีมาตรฐานและเป็นสากล ศิลปินร่วมสมัยนำมาซึ่งจิตวิญญาณพิเศษที่เราต่างโหยหามาโดยตลอด" 

          เกี่ยวกับอาร์ทไพรซ์ 

          อาร์ทไพรซ์ได้รับการจดทะเบียนใน Eurolist โดย Euronext Paris, SRD long only และ Euroclear: 7478 - Bloomberg: PRC - Reuters: ARTF

          สัมผัสอาร์ทไพรซ์ในรูปแบบวิดีโอได้ที่ https://www.artprice.com/video

          อาร์ทไพรซ์คือผู้นำระดับโลกด้านฐานข้อมูลราคาผลงานศิลปะ รวมถึงดัชนีต่างๆ กว่า 30 ล้านดัชนี และผลการประมูลงานศิลปะของศิลปินกว่า 700,000 ราย โดยมี Artprice Images(R) เป็นแหล่งข้อมูลตลาดศิลปะที่ใหญ่ที่สุดในโลกและเข้าถึงได้แบบไม่จำกัด ซึ่งประกอบด้วยห้องสมุดภาพหรือสิ่งพิมพ์ผลงานศิลปะ 126 ล้านภาพตั้งแต่ปีค.ศ.1700 จนถึงปัจจุบัน พร้อมด้วยความเห็นจากนักประวัติศาสตร์ศิลปะของอาร์ทไพรซ์

          อาร์ทไพรซ์รวบรวมข้อมูลจากผู้ประมูลทั่วโลกกว่า 6,300 รายเข้าสู่ฐานข้อมูล พร้อมกับเผยแพร่ความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับแนวโน้มตลาดศิลปะให้แก่สำนักข่าวรายใหญ่และสื่อสิ่งพิมพ์ทั่วโลกกว่า 7,200 ราย นอกจากนี้ อาร์ทไพรซ์ยังเปิดโอกาสให้สมาชิก 4,500,000 รายได้เข้าถึงตลาดซื้อขายผลงานศิลปะที่ได้มาตรฐานระดับโลก ทั้งนี้ อาร์ทไพรซ์อยู่ระหว่างเตรียมระบบบล็อกเชนสำหรับตลาดศิลปะ สามารถอ่านรายงานตลาดศิลปะโลกปี 2017 ที่อาร์ทไพรซ์เผยแพร่เมื่อเดือนมีนาคม 2018 และได้รับการรับรอง BPI ของฝรั่งเศสได้ที่ https://www.artprice.com/artprice-reports/the-art-market-in-2017

          รายงานตลาดศิลปะร่วมสมัยปี 2017 ของอาร์ทไพรซ์
          https://www.artprice.com/artprice-reports/the-contemporary-art-market-report-2017 

          ข่าวประชาสัมพันธ์อาร์ทไพรซ์
          http://serveur.serveur.com/Press_Release/pressreleaseen.htm
          https://twitter.com/artpricedotcom

          ข่าวสารตลาดศิลปะ
          https://twitter.com/artpricedotcom และ https://twitter.com/artmarketdotcom
          https://www.facebook.com/artpricedotcom และ https://plus.google.com/+artpricedotcom/posts
          http://artmarketinsight.wordpress.com/

          สัมผัสกับจักรวาลของอาร์ทไพรซ์ได้ที่ http://web.artprice.com/video ทั้งนี้ อาร์ทไพรซ์มีสำนักงานใหญ่เป็นพิพิธภัณฑ์ศิลปะร่วมสมัยชื่อดังอย่าง Abode of Chaos 
          http://goo.gl/zJssd 
          https://vimeo.com/124643720

          เฟซบุ๊กของพิพิธภัณฑ์ศิลปะร่วมสมัย Abode of Chaos
          https://www.facebook.com/la.demeure.du.chaos.theabodeofchaos999 

          ที่มา: Artprice.com

ข่าวความร่วมมือ+อาร์ทไพรซ์วันนี้

สวทช. จับมือมูลนิธิ SOS และ จ.ปทุมธานี สร้างชุมชนรักษ์อาหาร ดัน "ปทุมธานีฟูดแบงก์โมเดล" ต้นแบบการจัดการอาหารส่วนเกินระดับท้องถิ่น

สวทช. จับมือมูลนิธิ SOS และ จ.ปทุมธานี สร้างชุมชนรักษ์อาหาร ดัน "ปทุมธานีฟูดแบงก์โมเดล" ต้นแบบการจัดการอาหารส่วนเกินระดับท้องถิ่น มุ่งใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีบริหารจัดการอาหารส่วนเกินอย่างยั่งยืน สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมกับ องค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานี สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัดปทุมธานี สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดปทุมธานี และมูลนิธิสโกลารส์ ออฟ ซัสทีแนนซ์ (SOS) ลงนามความร่วมมือใน "การขยายผลโครงการบริหารจัดการอาหารส่วนเกิน

บริษัท เอสไอเอส ดิสทริบิวชั่น (ประเทศไทย)... SiS ใส่ใจสุขภาพพนักงาน จัดฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ประจำปี 2568 — บริษัท เอสไอเอส ดิสทริบิวชั่น (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ SiS เดินหน้านโยบายดูแลสุข...

"บมจ. ศรีตรังแอโกรอินดัสทรี" ("STA" หรือ ... STA เปิดบ้านต้อนรับภาครัฐ โชว์มาตรฐานรับซื้อยางโปร่งใส เป็นธรรม หนุนรัฐต้านยางเถื่อน — "บมจ. ศรีตรังแอโกรอินดัสทรี" ("STA" หรือ "บริษัทฯ") ตอกย้ำบทบาทผู้น...

กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ร่วมกับ สมาคมนายจ้างส... "กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน จับมือเอกชน ปั้นช่างเชื่อมโกอินเตอร์ รายได้ทะลุ 70,000 บาทต่อเดือน" — กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ร่วมกับ สมาคมนายจ้างส่งเสริมแรงงานไทย ลงนาม...

นายอิทธิพล อิงประสาร ผู้อำนวยการเขตปทุมวั... เขตปทุมวันกวดขันจับกุมขอทานต่างด้าว-คนไร้บ้าน พร้อมขอความร่วมมือประชาชนงดให้เงินขอทาน — นายอิทธิพล อิงประสาร ผู้อำนวยการเขตปทุมวัน กทม. กล่าวกรณีมีข้อร้อง...

Yanmar Holdings มีความภูมิใจที่จะประกาศกา... ยันม่าร์ ประกาศอย่างเป็นทางการในการสนับสนุนสมาคมฟุตบอลอาเซียน — Yanmar Holdings มีความภูมิใจที่จะประกาศการสนับสนุนอย่างเป็นทางการสำหรับการแข่งขันฟุตบอลทีม...