ปภ.รายงานเกิดอุทกภัยใน 2 จังหวัด พร้อมให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัยโดยด่วน

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

          กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) รายงานเกิดสถานการณ์อุทกภัยใน 2 จังหวัด ได้แก่ ประจวบคีรีขันธ์ และสุราษฎร์ธานี รวม 9 อำเภอ 16 ตำบล 70 หมู่บ้าน โดยจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ระดับน้ำลดลง ขณะที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี สถานการณ์อุทกภัยคลี่คลายแล้ว แต่ยังคงมีน้ำท่วมขังพื้นที่ลุ่มต่ำทางการเกษตร ทั้งนี้ ปภ. ได้ร่วมกับจังหวัด หน่วยทหาร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัย ทั้งแจกจ่ายเครื่องอุปโภคบริโภคและน้ำดื่มพร้อมระบายน้ำออกจากพื้นที่น้ำท่วมขัง รวมถึงจัดเจ้าหน้าที่สำรวจและจัดทำบัญชีความเสียหาย เพื่อให้การช่วยเหลือตามระเบียบกระทรวงการคลังต่อไป 
          นายชยพล ธิติศักดิ์ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) เปิดเผยว่า ฝนที่ตกหนักต่อเนื่อง ทำให้เกิดน้ำไหลหลากใน 2 จังหวัด ได้แก่ ประจวบคีรีขันธ์ และสุราษฎร์ธานี รวม 9 อำเภอ 16 ตำบล 70 หมู่บ้าน โดยจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ น้ำไหลหลากในพื้นที่ 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอหัวหิน อำเภอสามร้อยยอด อำเภอกุยบุรี และอำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์ รวม 7 ตำบล 12 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 11 ครัวเรือน ปัจจุบันระดับน้ำลดลง สุราษฎร์ธานี น้ำไหลหลาก ในพื้นที่ 5 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเคียนซา อำเภอพระแสง อำเภอคีรีรัฐนิคม อำเภอพนม และอำเภอพุนพิน รวม 9 ตำบล 58 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 915 ครัวเรือน 3,010 คน ผู้เสียชีวิต 1 ราย บ้านเรือนเสียหาย 38 หลัง ถนนเสียหาย 104 สาย พื้นที่การเกษตรคาดว่าเสียหาย 1,800 ไร่ ปัจจุบันสถานการณ์คลี่คลายแล้ว แต่ยังคงมีน้ำท่วมขังพื้นที่ลุ่มต่ำทางการเกษตรบางแห่ง
          ทั้งนี้ ปภ. ได้ร่วมกับจังหวัด หน่วยทหาร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัย โดยแจกจ่าย เครื่องอุปโภคบริโภคและน้ำดื่ม พร้อมเร่งระบายน้ำออกจากพื้นที่น้ำท่วมขัง รวมถึงจ่ายเงินสงเคราะห์ครอบครัวผู้ชีวิต อีกทั้งจัดเจ้าหน้าที่สำรวจและจัดทำบัญชีความเสียหาย เพื่อให้การช่วยเหลือตามระเบียบกระทรวงการคลังต่อไป ท้ายนี้ หากประชาชนได้รับความเดือดร้อนจากอุทกภัยสามารถติดต่อขอความช่วยเหลือได้ทางด่วนนิรภัย 1784 ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อประสานให้การช่วยเหลือโดยด่วนต่อไป
 
 
 

ข่าวกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย+จังหวัดประจวบคีรีขันธ์วันนี้

NT ร่วม ปภ. ทดสอบระบบ Cell Broadcast ในพื้นที่ครั้งแรก แจ้งผลมีประสิทธิภาพ รวดเร็ว ครอบคลุม เสริมความพร้อมระบบเตือนภัยแห่งชาติ

บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) หรือ NT ร่วมกับ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทดสอบระบบแจ้งเตือนภัยพิบัติผ่านเทคโนโลยี Cell Broadcast เป็นครั้งแรกของประเทศในลักษณะเสมือนจริงในพื้นที่ระดับเล็ก ภายในอาคารและบริเวณโดยรอบ ประกอบด้วย ศาลากลางจังหวัดเชียงราย ศาลากลางจังหวัดสุพรรณบุรี ศาลากลางจังหวัดอุบลราชธานี ศาลากลางจังหวัดสงขลา และอาคารศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา กรุงเทพมหานคร โดยผลการทดสอบเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถส่งข้อความแจ้งเตือนไปยัง

กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ร่วมกั... NT ยืนยันความพร้อม ร่วมทดสอบระบบแจ้งเตือนภัย Cell Broadcast ในพื้นที่จริง — กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้...

ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ผู้นำด้านดิจิทัลทรานส... ชไนเดอร์ อิเล็คทริค แนะ 7 วิธี เช็กระบบไฟฟ้า เพิ่มความปลอดภัย รับมือหยุดยาวเทศกาลสงกรานต์ — ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ผู้นำด้านดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่น ในการจัดก...

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข มอบทีม SEhRT ป... 'ภัยแล้ง' ทีม SEhRT กรมอนามัย-สสจ.-ท้องถิ่น เตรียมพร้อมรับมือพื้นที่ขาดแคลนน้ำ — กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข มอบทีม SEhRT ประสานภารกิจร่วมกับสำนักงานสาธารณ...

เทศกาลสงกรานต์เป็นช่วงเวลาแห่งความสุขและก... สงกรานต์นี้ เดินทางอย่างไร้กังวล! FWD ประกันชีวิต แจกประกันอุบัติเหตุฟรี 30,000 สิทธิ์ — เทศกาลสงกรานต์เป็นช่วงเวลาแห่งความสุขและการเดินทาง เพื่อช่วยลดควา...

นางสาวกาญจนา ภูพิพัฒน์ผล รองผู้อำนวยการสำ... กทม. เดินหน้ากำจัดปลาหมอคางดำ ลดผลกระทบเกษตรกร-แปรรูปสร้างรายได้ — นางสาวกาญจนา ภูพิพัฒน์ผล รองผู้อำนวยการสำนักพัฒนาสังคม รักษาราชการแทนผู้อำนวยการสำนักพั...

นายเจษฎา จันทรประภา ผู้อำนวยการสำนักการระ... กทม. เร่งถ่ายเทไหลเวียนน้ำในคลองช่องนนทรี เตรียมขุดลอกดินเลน-ทำความสะอาดท่อลอด — นายเจษฎา จันทรประภา ผู้อำนวยการสำนักการระบายน้ำ (สนน.) กทม. กล่าวชี้แจงกร...

กทม. เตรียมพร้อมระบบระบายน้ำรองรับสถานการณ์ฝน

นายเจษฎา จันทรประภา ผู้อำนวยการสำนักการระบายน้ำ (สนน.) กทม. กล่าวกรณีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) แจ้งเตือนสถานการณ์น้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำท่วมขังว่า กทม. ได้จัดทำแผนเตรียมความพร้อมด้านระบบระบายน้ำ เพื่อรองรับสถานการณ์ฝนตกหนัก โดยใช้แผน...