วศ. เน้นร่วมมือเครือข่าย สร้างความเข้มแข็ง แหล่งเรียนรู้สารนิเทศสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

          20 กรกฏาคม 2561 ดร.ลดา พันธ์สุขุมธนา ผู้อำนวยการสำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประธานคณะทำงานศูนย์ประสานงานสารนิเทศสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ศปว.) พร้อมกับบุคลากรสำนักหอสุมดฯ และบุคลากรในหน่วยงานสมาชิกเครือข่าย ศปว. เข้าเยี่ยมชมฝ่ายบริการความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป้าหมายร่วมมือเครือข่าย สร้างความเข้มแข็ง แหล่งเรียนรู้สารนิเทศสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งได้รับเกียรติจาก นางกุลประภา นาวานุเคราะห์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ให้การต้อนรับ ณ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) จังหวัดปทุมธานี
          การเข้าเยี่ยมชมครั้งนี้ เป็นการสร้างเครือข่ายความร่วมมือ แลกเปลี่ยนความรู้ และเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดี ในด้านการให้บริการข้อมูล การให้บริการข้อมูลสารสนเทศด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ร่วมกันระหว่างเครือข่ายสมาชิก ศปว. เนื่องจาก ฝ่ายบริการความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (Science and Technology Knowledge Services: STKS) (สวทช.) เป็นหน่วยงานบริการเพื่อสังคมความรู้ดิจิทัลแบบเปิด และเป็นเวทีแลกเปลี่ยนความรู้ในอินเทอร์เน็ต และเป็นศูนย์รวมความรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อบริการแก่ชุมชนวิจัย ผู้สร้างนวัตกรรม ทั้งภาคการผลิต
          ในวันเดียวกันนี้ มีการประชุมคณะทำงาน ศปว.ครั้งที่ 1/2561 การประชุมครั้งนี้ คณะทำงานฯ ร่วมกันพิจรณา platfrom กลาง ศปว.เพื่อการสืบค้นสารสนเทศ โดยเน้นการใช้ประโยชน์ของเทคโนโลยีบูรณาการกับข้อมูลสารสนเทศทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เสริมความรู้ให้กับผู้ใช้บริการ และยกระดับศักยภาพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประชาชนในประเทศ สู่ Thailand 4.0 พร้อมพิจารณาวางแผนการทำงานในปี 62

วศ. เน้นร่วมมือเครือข่าย สร้างความเข้มแข็ง แหล่งเรียนรู้สารนิเทศสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ข่าววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี+กุลประภา นาวานุเคราะห์วันนี้

คลังความรู้ SciMath สสวท. พาหายสงสัย "น้ำท่วมอุโมงค์รถไฟฟ้าใต้ดินได้หรือไม่ ?"

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) พาคลายข้อกังขากับบทความ "น้ำท่วมอุโมงค์รถไฟฟ้าใต้ดินได้หรือไม่" เคยสงสัยหรือเปล่าว่าหากเกิดเหตุการณ์น้ำท่วม น้ำจะไหลลงไปในอุโมงค์ของรถไฟฟ้าใต้ดินได้หรือไม่ ความรู้ทางวิศวกรรมได้เตรียมการป้องกันไว้อย่างไร เนื่องจากจุดที่น้ำสามารถเข้าไปได้มีอยู่ 3 จุด คือจุดแรก ทางเข้า-ออกสถานี จุดที่สอง คือ อาคารระบายอากาศ และจุดที่สาม คือ จุดที่รถไฟฟ้าใช้ในการขึ้นลงเพื่อซ่อมบำรุง หาคำตอบเติมเต็มความรู้กันได้ที่คลังความรู้ SciMath สสวท. https://www.scimath.org

สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประ... วว. จัดงานสัมมนาเชิงปฏิบัติการ …เสริมสร้างขีดความสามารถของบุคลากรด้านการปกป้องดิน — สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กระทรวงการอุดมศึ...

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโล... สสวท. ชวนครูเตรียมพร้อมรับเปิดเทอมกับ "ระบบจัดการเรียนรู้ออนไลน์ My IPST" — สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ชวนคุณครูเตรียมพร้อมรับเปิ...

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโล... สำหรับนักเรียนทุน พสวท. ระดับมัธยมศึกษา ปีการศึกษา 2567 — สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) จัดค่ายวิทยาศาสตร์ภาคฤดูร้อนสำหรับนักเรียนทุ...

ดร.โศรดา วัลภา รองผู้ว่าการบริการอุตสาหกร... วว. จับมือพันธมิตรไทย-จีน เสริมสร้างความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม — ดร.โศรดา วัลภา รองผู้ว่าการบริการอุตสาหกรรม สถาบันวิจัยวิทย...