“นวัตวิถีชิโบริ” มัดย้อมแบบไทยผสานญี่ปุ่น สร้างสรรค์ลวดลายใหม่ให้เยาวชนเห็นคุณค่าของศิลปะวัฒนธรรม

12 Jul 2018
เมื่อวันที่ ๑๑ กรกฎาคม ๒๕๖๑ ณ พิพิธภัณฑ์ผ้า มหาวิทยาลัยนเรศวร ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วศิน ปัญญาวุธตระกูล ผู้อำนวยการกองส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม เป็นประธานเปิดโครงการพัฒนาเส้นทางการเรียนรู้ "นวัตวิถีชิโบริ" มีครูและนักเรียนจากโรงเรียนต่าง ๆ ในจังหวัดพิษณุโลกเข้าร่วมโครงการ จำนวน ๕๐ คน โดยบุคลากรของกองส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมเป็นวิทยากร ฝึกสอนนำนวัตกรมการมัดย้อมของไทยผสมผสานกับวิธีทำผ้ามัดย้อมแบบชิโบริของประเทศญี่ปุ่น ทั้งในแบบร้อนและแบบเย็น เป็นผ้าเช็ดหน้าและผ้าคลุมไหล่ลวดลายต่าง ๆ เช่น ลายคุโมหรือการบิดเกลียวและรัด, ลายอาราชิหรือการพันแกน, ลายอิตาจิเมะหรือการพับและมัด, ลายโมคุเมะหรือการเย็บรูด ซึ่งถือเป็นมิติใหม่แห่งการสร้างสรรค์ลวดลาย ให้เยาวชนสามารถนำไปพัฒนาต่อยอดเป็นสินค้าทางวัฒนธรรมที่สร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ตนเองและสถาบันการศึกษา ทั้งยังเป็นการกระตุ้นความคิดในการพัฒนานวัตกรรมการมัดย้อมที่มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมเป็นของตนเอง นับว่าสอดคล้องกับนโยบายแผนพัฒนาการศึกษามหาวิทยาลัยนเรศวร ฉบับที่ ๑๒ (พ.ศ. ๒๕๖๐ – ๒๕๖๔) ที่มุ่งส่งเสริมการดำเนินงานด้านทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมให้กว้างขวาง แพร่หลายและยั่งยืนต่อไป
“นวัตวิถีชิโบริ” มัดย้อมแบบไทยผสานญี่ปุ่น สร้างสรรค์ลวดลายใหม่ให้เยาวชนเห็นคุณค่าของศิลปะวัฒนธรรม “นวัตวิถีชิโบริ” มัดย้อมแบบไทยผสานญี่ปุ่น สร้างสรรค์ลวดลายใหม่ให้เยาวชนเห็นคุณค่าของศิลปะวัฒนธรรม “นวัตวิถีชิโบริ” มัดย้อมแบบไทยผสานญี่ปุ่น สร้างสรรค์ลวดลายใหม่ให้เยาวชนเห็นคุณค่าของศิลปะวัฒนธรรม “นวัตวิถีชิโบริ” มัดย้อมแบบไทยผสานญี่ปุ่น สร้างสรรค์ลวดลายใหม่ให้เยาวชนเห็นคุณค่าของศิลปะวัฒนธรรม