“แลศิลป์ ถิ่นละโว้” จากปากกา ยา น้ำชา กาแฟ สู่ศิลปะที่มากกว่าความงาม

20 Nov 2017
เมื่อเร็ว ๆ นี้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วศิน ปัญญาวุธตระกูล ผู้อำนวยการกองส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยนเรศวร เป็นประธานเปิดงานนิทรรศการศิลปกรรม "แลศิลป์ ถิ่นละโว้" ณ หอศิลป์มหาวิทยาลัยนเรศวร โดยเป็นการจัดแสดงผลงานจิตรกรรม ประติมากรรม และสื่อผสม จำนวนกว่า ๑๐๐ ชิ้น ฝีมือของกลุ่มศิลปินเมืองละโว้
“แลศิลป์ ถิ่นละโว้” จากปากกา ยา น้ำชา กาแฟ สู่ศิลปะที่มากกว่าความงาม

นิทรรศการศิลปกรรม "แลศิลป์ ถิ่นละโว้" ครั้งนี้ ไม่ได้มีเพียงผลงานจากสีน้ำ สีน้ำมัน สีอะคริลิก หรือวัสดุที่เราเห็นโดยทั่วไปเท่านั้น ศิลปินได้สร้างมิติใหม่ หลุดกรอบเดิม ๆ ด้วยการใช้วัสดุใกล้ตัวที่คาดไม่ถึง เช่น การนำชาและกาแฟสดมาละลายน้ำ ได้สีน้ำตาล ออกมาเป็นภาพซีเปียพระอิศวรทรงช้างเอราวัณ ในชื่อผลงาน ""องค์อินทร์""แสดงออกถึงความเก่าแก่ เข้มขลัง, การนำยารักษาโรคที่มีสีสัน เช่น ยาแดง ยาแก้ไอ มาระบายแต่งแต้มเป็นผลงานสุดตระการ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผลงานชุด ""ภูมิพลมหาราช"" ที่ศิลปินบรรจงใช้ปากกาสีดำ แดง น้ำเงิน ขีดเขียน เป็นเส้นสาย พระบรมสาทิสลักษณ์อันแสนงดงาม เพื่อถวายความอาลัยและน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ตลอดจนผลงานดอกไม้ของพ่อ, เทพแห่งฝน, รอยยิ้มของพ่อ, พระราชาในดวงใจ, คิดถึงในหลวงรัชกาลที่ ๙, หยาดเหงื่อพ่อ เป็นต้น

สำหรับผลงานศิลปะทั้งหมดกว่า ๑๐๐ ชิ้นนี้ ประกอบด้วยผลงาน ๓ ชุด ความประทับใจจากการทัวร์บ้านเกิด ประเทศกัมพูชา เนื่องจากในอดีตเมืองละโว้เคยเป็นเมืองลูกหลวงของกัมพูชา ตัวอย่างผลงานเช่น คืนชีพนางอัปสรา, วังนารายณ์, วังนารายณ์คู่บ้าน, อัปสรา, นครธม, พระโพธิสัตว์แห่งนครธม อัตลักษณ์ของจังหวัดลพบุรี เช่น ล.ลิงลพบุรี, ศาลามหากาฬคู่เมือง, ลพบุรีสีสัน, ละโว้ธานีลพบุรีโบราณ, ปรางค์สามยอดลือเลื่อง, เมืองแห่งดินสอพอง, ริมเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์, น้อยหน่าลพบุรี ซึ่งมีชื่อเสียงมากในสมัยรัชกาลที่ ๕

ผลงานจากแนวคิดผสมผสานจินตนาการ สะท้อนเรื่องราว เหตุการณ์ต่าง ๆ เช่น แม่บัว, ลีลาวดี, สีสันกับความรู้สึก, คอย, วัด, อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา, ไม่สุข ไม่ทุกข์, สิบห้าค่ำเดือนสิบเอ็ด, เมล็ดข้าว, rose

นิทรรศการ ""แลศิลป์ ถิ่นละโว้"" จัดแสดงตลอดเดือนพฤศจิกายน ๒๕๖๐ ในวันและเวลาราชการ ณ หอศิลป์ฯ อาคารวิสุทธิกษัตริย์ กองส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยนเรศวร โทร. ๐ ๕๕๙๖ ๑๑๔๘

“แลศิลป์ ถิ่นละโว้” จากปากกา ยา น้ำชา กาแฟ สู่ศิลปะที่มากกว่าความงาม “แลศิลป์ ถิ่นละโว้” จากปากกา ยา น้ำชา กาแฟ สู่ศิลปะที่มากกว่าความงาม “แลศิลป์ ถิ่นละโว้” จากปากกา ยา น้ำชา กาแฟ สู่ศิลปะที่มากกว่าความงาม