ไขมันทรานส์ ภัยร้ายใกล้ตัว....พร้อมเคล็ดลับหลีกเลี่ยง 4 ข้อ

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

          หลังจากกระทรวงสาธารณสุขได้ประกาศราชกิจจานุเบกษา สั่งห้ามผลิต นำเข้า หรือจำหน่ายอาหารที่มีไขมันทรานส์และอาหารที่มีน้ำมันที่ผ่านกระบวนการเติมไฮโดรเจนบางส่วนเป็นส่วนประกอบ ซึ่งจะเริ่มมีผลในเดือน มกราคม 2562 คนไทยจึงเริ่มตื่นตัวและหันมาใส่ใจเกี่ยวกับผลกระทบต่อการบริโภคอาหารต่างๆ จากมาตราการนี้ แม้ว่ากฎหมายจะมาจากเป้าหมายขององค์กรอนามัยโลก ที่มีจุดประสงค์ในการกวาดล้างไขมันทรานส์ออกจากห่วงโซ่อาหารของโลก เนื่องจากความเสี่ยงต่อสุขภาพจากการบริโภคไขมันทรานส์ แต่ผู้คนในสื่อออนไลน์ยังมีความสับสนเกี่ยวกับข้อเท็จจริง เช่น เราจะทราบได้อย่างไรว่าอาหารแต่ละชนิดแต่ละประเภทนั้น มีส่วนประกอบของไขมันทรานส์หรือไม่? เราจะเลี่ยงมันได้อย่างไร? และเราจะบริโภคอะไรได้บ้าง?
          ไขมันทรานส์คืออะไร และทำไมถึงต้องหลีกเลี่ยง?
          ไขมันทรานส์สังเคราะห์ เป็นหนึ่งในประเภทของไขมันไม่อิ่มตัว ซึ่งผลิตจากกระบวนการวิธีทางอุตสาหกรรมที่ได้เริ่มต้นในปี 2445 ด้วยการเพิ่มไฮโดรเจนเข้าไปในน้ำมันพืช ซึ่งวิธีนี้ได้ถูกนำไปใช้ในวงกว้างเพราะช่วยลดต้นทุนการผลิตได้มาก และยังช่วยให้อาหารเสียได้ยากขึ้นอีกด้วย แต่อย่างไรก็ตาม งานวิจัยสมัยใหม่ได้แสดงให้เห็นถึงความเกี่ยวข้องระหว่างการบริโภคอาหารที่มีไขมันทรานส์กับโรคที่คร่าชีวิตคนมากที่สุดในโลกอย่างโรคหัวใจ โดยที่แย่ไปกว่านั้นคือไขมันทรานส์ ยังเป็นตัวลดระดับไขมันดี และเพิ่มปริมาณไขมันประเภทที่อันตรายอย่างเช่นคอเลสเตอรอลอีกด้วย จึงเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจหรือโรคหลอดเลือดสมอง นอกจากนั้น ไขมันทรานส์ยังมีส่วนต่อการก่อให้เกิดโรคที่ไม่ติดต่อ (NCDs) อื่นๆ เช่น โรคความดันสูง หรือ เบาหวานชนิดที่สอง
          สารพัดวิธีหลีกเลี่ยงไขมันทรานส์
          1. จดจำรายการอาหารที่มีไขมันทรานส์ไว้ให้ขึ้นใจ
          การบริโภคอาหารที่ประกอบไปด้วยไขมันทรานส์นั้นถูกพิสูจน์แล้วว่ามีแต่ผลเสียต่อสุขภาพในระยะยาว และเป็นที่น่ากลัวว่าอาหารหลายชนิดนั้นเต็มไปด้วยไขมันชนิดนี้ แม้ว่าอาจจะฟังดูน่ากลัว แต่แท้จริงแล้วเราสามารถสังเกตไขมันทรานส์และหลีกเลี่ยงได้โดยง่าย เพราะส่วนใหญ่แล้วไขมันประเภทนี้จะอยู่ในมาการีน ขนมอบ อาหารทอด ขนมขบเคี้ยว แป้งเค้กสำเร็จรูป และครีมแต่งหน้าเค้ก 
          อาหารที่มักจะมีส่วนผสมของไขมันทรานส์
          - มาการีน
          - โดนัท, พาย, คุกกี้, บิสกิต, และเค้ก
          - เฟรนช์ฟรายส์ และอาหารทอดส่วนใหญ่ที่ใช้น้ำมันที่ส่วนผสมของไขมันทรานส์ทอด
          - อาหารแช่แข็ง
          - ครีมเทียม
          
ไขมันทรานส์ ภัยร้ายใกล้ตัว....พร้อมเคล็ดลับหลีกเลี่ยง 4 ข้อ
          2. อ่านฉลากโภชนาการและส่วนประกอบของอาหาร
          ผู้ผลิตอาหารทุกรายจะต้องระบุปริมาณไขมัน ทรานส์ลงบนฉลากโภชนาการ ซึ่งจะช่วยผู้บริโภคในการตัดสินใจ หรือเปรียบเทียบกับตัวเลือกอื่นได้ง่ายขึ้น แท้จริงแล้วเราควรเลือกอาหารหรือขนม ขบเคี้ยวที่มีไขมันทรานส์เป็นศูนย์ หากรู้สึกไม่มั่นใจ ลองดูส่วนผสมที่ฉลากและมองหาคำว่า "Partially Hydrogenated Oils" ซึ่งจะเป็นตัวบ่งชี้ว่าอาหารนั้นมีไขมันทรานส์อยู่หรือไม่
ไขมันทรานส์ ภัยร้ายใกล้ตัว....พร้อมเคล็ดลับหลีกเลี่ยง 4 ข้อ
          3. เปลี่ยนมาใช้น้ำมันประกอบอาหารที่ปราศจากไขมันทรานส์
          เมื่อพูดถึงประโยชน์ทางสุขภาพ น้ำมันทำอาหารแต่ละประเภทนั้นแตกต่างกัน เนื่องจากน้ำมันเป็นส่วนประกอบที่เป็นปัจจัยหลักในการทำอาหาร จึงเป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องเลือกใช้ให้ถูกต้อง หนึ่งวิธีง่ายๆ คือการเปลี่ยนมาใช้น้ำมันมะกอกในการประกอบอาหาร เพราะนอกจากจะดีต่อสุขภาพและได้รสชาติที่อร่อยแล้ว น้ำมันมะกอกยังปราศจากไขมันทรานส์ และอุดมไปด้วยกรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว (MUFAs) ที่ดีต่อระบบหัวใจและสุขภาพ
          สมาคมโรคหัวใจสหรัฐอเมริกา เปิดเผยว่า ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยวที่พบในน้ำมันมะกอกนั้นช่วยลดไขมัน LDL และคอเลสเตอรอลในเลือด ซึ่งช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจและโรคหลอดเลือดสมองอีกด้วย นอกจากนั้น น้ำมันมะกอกยังอุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระที่เรียกว่าโพลีฟีนอล ซึ่งได้รับการพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์แล้วว่า ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล ความดันโลหิต และความเสี่ยงจากการเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ
ไขมันทรานส์ ภัยร้ายใกล้ตัว....พร้อมเคล็ดลับหลีกเลี่ยง 4 ข้อ
          4. เลือกรับประทานแต่ขนมขบเคี้ยวที่ดีต่อสุขภาพ
          การเลือกรับประทานขนมขบเคี้ยวในปริมาณที่พอดี นับว่าเป็นส่วนหนึ่งของโภชนาการที่สมดุล อันจะช่วยให้คุณรู้สึกมีพลังระหว่างวัน แต่น่าเสียดายว่า ขนมขบเคี้ยวสำเร็จรูปแบบห่อที่วางขายโดยทั่วไปนั้น มักเต็มไปด้วยไขมันทรานส์ที่ควรหลีกเลี่ยง ซึ่งเคล็ดลับในการเลือกรับประทานขนมขบเคี้ยวนั้น คือ เลือกขนมขบเคี้ยวที่ปราศจากไขมันทรานส์ เช่น อัลมอนด์ แอปเปิล แครอทแท่ง หรือ โยเกิร์ตกรีก ที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพและยังอร่อยเหมือนกัน

          เกี่ยวกับเบอร์ทอลลี่
          เบอร์ทอลลี่ ก่อตั้งโดยมร. ฟรานเชสโก เบอร์ทอลลี่ ในปี 1865 ที่เมืองลุคคา แคว้นทัสคานี แบรนด์เบอร์ทอลลี่(R) ถือเป็นหัวใจสำคัญในการประกอบอาหารอิตาเลียนและวัฒนธรรมการกินแบบอิตาเลียน ในฐานะแบรนด์น้ำมันมะกอกที่เป็นที่ชื่นชอบในระดับโลก (ภายใต้แบรนด์ดีโอเลโอ) มานานกว่า 150 ปี พันธกิจของเบอร์ทอลลี่(R) คือการรักษาคุณภาพ ความมุ่งมั่นในการดึงความพิเศษจากส่วนผสมต่างๆตามธรรมชาติออกมาให้กับการปรุงอาหาร และการรักษาวัฒนธรรมในการสรรค์สร้างอาหารให้มีรสชาติโดดเด่น สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม สามารถดูได้ที่ https://www.facebook.com/BertolliTH/ https://www.facebook.com/whatdidsheeat/
 
 
 
 

ข่าวกระทรวงสาธารณสุข+องค์กรอนามัยโลกวันนี้

'แปลงใหญ่มะม่วงส่งออกหนองแซง' จ.กาฬสินธุ์ ส่งออกมะม่วงน้ำดอกไม้สีทองคุณภาพสร้างรายได้กลุ่มปีละ 4 ล้านบาท

นายนพดล ศรีพันธุ์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 4 ขอนแก่น (สศท.4) สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยถึงการติดตามการดำเนินงานของกลุ่มแปลงใหญ่วิสาหกิจชุมชนกลุ่มมะม่วงส่งออกหนองแซง หมู่ที่ 9 ตำบลสำราญ อำเภอสามชัย จังหวัดกาฬสินธุ์ นับเป็นกลุ่มที่มีศักยภาพการผลิตและแปรรูปมะม่วงน้ำดอกไม้สีทอง เพื่อการส่งออกสู่ตลาดต่างประเทศ ได้รับการรับรองมาตรฐาน GAP ได้รับการรับรองมาตรฐานแหล่งแปรรูปตามมาตรฐาน GMP และได้รับมาตรฐาน อย. ของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุขเพื่อสร้างความมั่น

กทม. เฝ้าระวัง-เตรียมพร้อมสถานพยาบาลในสังกัดรับมือโรคลิชมาเนีย

นางเลิศลักษณ์ ลีลาเรืองแสง ผู้อำนวยการสำนักการแพทย์ (สนพ.) กทม. กล่าวถึงการติดตามสถานการณ์และเฝ้าระวังการเจ็บป่วยของประชาชนในพื้นที่กรุงเทพฯ จากโรคลิชมาเนีย (Leishmaniasis) รวมถึงการเตรียมพร้อมสถานพยาบาลในสังกัด เพื่อรองรับการดู...

กทม. รุกเข้มมาตรการเฝ้าระวังป้องกันควบคุมการระบาดโรคลิชมาเนียในกรุงเทพฯ

นางภาวิณี รุ่งทนต์กิจ ผู้อำนวยการสำนักอนามัย (สนอ.) กทม. กล่าวถึงมาตรการเฝ้าระวังและป้องกันโรคลิชมาเนียในพื้นที่กรุงเทพฯ รวมทั้งการรณรงค์ส่งเสริมความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องให้แก่ประชาชนเกี่ยวกับวิธีป้องกันตนเองให้ปลอดภัยจาก...

สุพัตรา จิราธิวัฒน์ (กลาง) รองกรรมการผู้จ... ให้การต้อนรับคณะกระทรวงสาธารณสุข — สุพัตรา จิราธิวัฒน์ (กลาง) รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สำนักนโยบายองค์กรสัมพันธ์และภาพลักษณ์ บริษัทกลุ่มเซ็นทรัล จำกัด ...

พิธีเปิดอาคารนิทรรศการไทย (Thailand Pavil... พิธีเปิดอาคารนิทรรศการไทย (Thailand Pavilion) สุดยิ่งใหญ่ — พิธีเปิดอาคารนิทรรศการไทย (Thailand Pavilion) สุดยิ่งใหญ่ นำเสนอความเป็นไทยสู่สายตาชาวโลก ในงา...