การเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาเซียน ครั้งที่ 23 การประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและผู้ว่าการธนาคารกลางอาเซียน ครั้งที่ 5 และการประชุมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ในปี 2562

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

          นายลวรณ แสงสนิท ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง แถลงว่า ในปี 2562 ซึ่งประเทศไทยดำรงตำแหน่งประธานอาเซียน กระทรวงการคลังร่วมกับธนาคารแห่งประเทศไทยจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมรัฐมนตรีในส่วนของความร่วมมือด้านการเงิน (Financial Cooperation) โดยมีกำหนดการจัดประชุม 2 ช่วงเวลา คือ ช่วงแรก จะเป็นการจัดการประชุมคณะทำงานเจ้าหน้าที่อาวุโสกระทรวงการคลังและธนาคารกลางอาเซียน และการประชุมคณะทำงานต่าง ๆ ภายใต้กรอบอาเซียน ในระหว่างวันที่ 11-16 กุมภาพันธ์ 2562 ณ กรุงเทพมหานคร และช่วงหลังจะเป็นการจัดการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาเซียน (ASEAN Finance Ministers' Meeting: AFMM) ครั้งที่ 23 และการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและผู้ว่าการธนาคารกลางอาเซียน (ASEAN Finance Ministers' and Central Bank Governors' Meeting: AFMGM) ครั้งที่ 5 ในระหว่างวันที่ 3-5 เมษายน 2562 ณ จังหวัดเชียงราย (กำหนดการประชุมปรากฏตามเอกสารแนบ) 
          ประเทศไทยได้กำหนดแนวคิดหลัก (Theme) ของการดำรงตำแหน่งประธานอาเซียนของไทยในปี 2562 คือ "Advancing Partnership for Sustainability" หรือ "ร่วมมือ ร่วมใจ ก้าวไกล ยั่งยืน" มาจากนโยบายของนายกรัฐมนตรีที่ว่า ประเทศสมาชิกอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ จะต้องก้าวไปข้างหน้าด้วยกัน เพื่อสร้างประชาคมอาเซียนที่มีความยั่งยืน มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง และก้าวไปสู่อนาคตอย่างมั่นคง โดยมีความสมดุลในทั้ง 3 เสาความร่วมมือ ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคมและการเมือง และความมั่นคง 
          เพื่อให้การดำเนินการด้านความร่วมมือทางการเงินสอดคล้องกับแนวคิดของการเป็นประธานอาเซียนของไทย กระทรวงการคลังและธนาคารแห่งประเทศไทยจึงได้ร่วมกันกำหนดประเด็นหลักที่เป็นกรอบการดำเนินการด้านสารัตถะของไทย (Chair's Priorities) ไว้ใน 3 หมวดหลัก คือ (1) ความเชื่อมโยง (Connectivity) (2) ความยั่งยืน (Sustainability) และ (3) การสร้างภูมิคุ้มกัน (Resilience) โดยในแต่ละหมวด มีผลงานที่คาดว่าจะบรรลุ (Deliverables) สรุปได้ดังนี้
          1. ความเชื่อมโยง (Connectivity) จะเน้นการพัฒนาความเชื่อมโยงระบบการชำระเงินและบริการ (Financing, Payment and Service Connectivity) และการสนับสนุนการค้าและการลงทุนในภูมิภาคอาเซียน (Trade and Investment Facilitation) เพื่อการสร้างอาเซียนที่ไร้รอยต่อ (Seamless ASEAN) เช่น การส่งเสริมการใช้สกุลเงินท้องถิ่นในการชำระค่าสินค้าและบริการและการลงทุน (Local Currency Settlement) การส่งเสริมการโอนเงินอิเล็กทรอนิกส์ข้ามประเทศ การเร่งรัดการเชื่อมโยงข้อมูลใบรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าอาเซียนแบบอิเล็กทรอนิกส์ (ATIGA e-Form D) ระหว่างกันอย่างสมบูรณ์ภายใต้ระบบ ASEAN Single Window (ASW) เป็นต้น
          2. ความยั่งยืน (Sustainability) จะส่งเสริมให้ภาคการเงินมีแนวปฏิบัติเพื่อให้สามารถตอบสนองเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Finance) และสนับสนุนเรื่องการเข้าถึงบริการทางการเงิน (Financial Inclusion) ซึ่งจะช่วยยกระดับให้ภูมิภาคอาเซียนมีการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมอย่างยั่งยืน (Sustainable ASEAN) มีการจัดทำแนวทางการพัฒนาตลาดทุนอาเซียนที่ยั่งยืน และจัดทำกรอบการพัฒนาผลิตภัณฑ์ประกันภัยรายย่อย (Microinsurance) ของอาเซียน 
          3. การสร้างภูมิคุ้มกัน (Resilience) จะเป็นการสร้างกรอบความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ (Cybersecurity Framework) และความร่วมมือด้านการกำกับดูแลสินทรัพย์ดิจิทัล (Digital Asset Oversight) เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายยุทธศาสตร์สำคัญ คือ ดิจิทัลอาเซียน โดยสนับสนุนการพัฒนาความรู้ด้านความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ (Cybersecurity) แก่บุคลากรด้านการเงินของประเทศสมาชิก และผลักดันให้เกิดเครือข่ายกลไกการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงานกำกับดูแลตลาดทุนพร้อมกับเผยแพร่ข้อมูลให้กับประชาชนในภูมิภาคเพื่อป้องกันการหลอกลวง (Scams) รวมทั้งการให้ความรู้ด้านพัฒนาการของสินทรัพย์ดิจิทัล
          การดำเนินการเพื่อให้บรรลุตามผลงาน (Deliverables) ข้างต้น จะส่งผลให้เศรษฐกิจของอาเซียนมีความเชื่อมโยงกันในทุกมิติ มีโครงสร้างพื้นฐานที่พร้อมต่อการพัฒนาในระยะยาว และมีกระบวนการด้านภาษีศุลกากรและสรรพากรระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนเป็นมาตรฐานและมีความคล่องตัวเพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ การพัฒนาเศรษฐกิจของประชาคมอาเซียนจะเป็นไปอย่างยั่งยืนและทั่วถึง สามารถรับมือกับความผันผวนของเศรษฐกิจโลกได้ และที่สำคัญ เศรษฐกิจของประชาคมอาเซียนจะมีความทันสมัย มีความพร้อมในการนำเทคโนโลยีมาใช้พัฒนาเศรษฐกิจได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ มีมาตรการพร้อมรับมือภัยคุกคามของโลกไซเบอร์ และมีกฎเกณฑ์รองรับนวัตกรรมทางการเงินรูปแบบใหม่ เพื่อส่งเสริมให้ภูมิภาคอาเซียนก้าวสู่การเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจของโลกต่อไป
 
 
 

ข่าวรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง+สำนักงานเศรษฐกิจการคลังวันนี้

รายงานความคืบหน้าการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบประจำเดือนธันวาคม 2563

นายพรชัย ฐีระเวช ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการเงิน ในฐานะโฆษกสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง เปิดเผยว่า ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2563 ภาพรวมการประกอบธุรกิจสินเชื่อรายย่อยระดับจังหวัดภายใต้การกำกับ (สินเชื่อพิโกไฟแนนซ์) มีผู้ที่ได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังให้ประกอบธุรกิจสินเชื่อพิโกไฟแนนซ์และเปิดดำเนินการแล้วสะสมสุทธิ 917 ราย ใน 74 จังหวัด ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบธุรกิจในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (543 ราย) รองลงมา ได้แก่ ภาคกลาง (147 ราย) ภาคเหนือ (115 ราย) ภาคตะวันออก (64 ราย) และภาคใต้ (48 ราย)

รายงานความคืบหน้าการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบประจำเดือนกันยายน 2563

นายพรชัย ฐีระเวช ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการเงิน ในฐานะโฆษกสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง เปิดเผยว่า ณ สิ้นเดือนกันยายน 2563 ภาพรวมการประกอบธุรกิจสินเชื่อรายย่อยระดับจังหวัดภายใต้การกำกับ (สินเชื่อพิโกไฟแนนซ์) มีผู้ที่...

ผลการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเอเปค ครั้งที่ 27

นายลวรณ แสงสนิท ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า นางสาวเกตสุดา สุประดิษฐ์ ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจระหว่างประเทศ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ได้รับมอบหมายเป็นผู้แทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง...

สภาธุรกิจตลาดทุนไทย ร่วมกับกระทรวงการคลัง... ภาพข่าว: "จัดงานโครงการตลาดทุนพบภาครัฐ ครั้งที่ 1/2563" — สภาธุรกิจตลาดทุนไทย ร่วมกับกระทรวงการคลังและตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จัดงานโครงการตลาดทุนพบภา...

คณะสภาธุรกิจอาเซียน-สหภาพยุโรป (EU-ASEAN Business Council: EU-ABC) เข้าเยี่ยมคารวะและหารือกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง

นายลวรณ แสงสนิท ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2563 ดร.อุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง พร้อมนายชาญกฤช ...

เป้าหมายของนโยบายการเงิน ประจำปี 2563

นายลวรณ แสงสนิท ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2562 คณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติเป้าหมายของนโยบายการเงิน ประจำปี 2563 ซึ่งเป็นข้อตกลงร่วมกันระหว่างคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ...

นายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรี และรัฐม... ธนาคารกรุงไทย ร่วมฉลองครบรอบ 150 ปี กระทรวงการคลัง เคียงข้างไทยในทุกก้าวสำคัญ — นายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ให้เกียร...

ออมสิน ท็อปฟอร์ม! คว้า 7 รางวัลรัฐวิสาหกิ... ออมสิน ท็อปฟอร์ม! คว้า 7 รางวัลรัฐวิสาหกิจ ปี 2567 "ระดับดีเด่น" มากสุดเป็นประวัติการณ์ — ออมสิน ท็อปฟอร์ม! คว้า 7 รางวัลรัฐวิสาหกิจ ปี 2567 "ระดับดีเด่น"...