วันไตโลก 2562“ทุกคน ทั่วไทย ไตแข็งแรง” Kidney Health for Everyone Everywhere “สัญญาณอันตราย” ของโรคไต

06 Mar 2019
ผศ.พญ.วรางคณา พิชัยวงศ์
วันไตโลก 2562“ทุกคน ทั่วไทย ไตแข็งแรง” Kidney Health for Everyone Everywhere “สัญญาณอันตราย” ของโรคไต

แพทย์ผู้เชี่ยวชาญอายุรกรรมโรคไต โรงพยาบาลราชวิถี

มีรายงานพบว่าคนไทยเป็นโรคไตเรื้อรังกันมากขึ้น ข้อมูลจากการศึกษาจากสมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย พบว่าคนไทยป่วยเป็นโรคไตเรื้อรัง ประมาณร้อยละ 17.6 ของประชากร หรือประมาณ 8-10 ล้านราย มีผู้ป่วยที่ต้องได้รับการบำบัดทดแทนไตประมาณ 1,439 รายต่อล้านประชากร และมีแนวโน้มมากขึ้นเป็นทุกปี ๆ โรคไตจึงไม่ใช่โรคที่ไกลตัวอีกต่อไป โรคไตเรื้อรังเกิดได้จากหลายสาเหตุที่สำคัญ ได้แก่ โรคเบาหวานโรคภาวะความดันโลหิตสูง โรคเอสแอลอี (SLE) หรืออาจเกิดจากผลข้างเคียงที่จากการใช้ยาบางชนิดเป็นประจำ โดยเฉพาะกลุ่มยาแก้ปวด หรือ"ยาเอ็นเสด" รวมทั้งโรคไตที่เกิดจากพันธุกรรม "สัญญาณอันตราย" ของโรคไต ได้แก่ อาการบวม บวมรอบดวงตา ขากดบุ๋มสองข้าง ปัสสาวะลำบาก ปัสสาวะแดงเป็นเลือด หรือมีฟองปัสสาวะบ่อยตอนกลางคืน ปวดบั้นเอว ในขณะที่ผู้ป่วยโรคไตส่วนมากมักไม่ปรากฏอาการใด ๆ การจะทราบว่าท่านเป็นโรคไตหรือไม่ ต้องอาศัยการคัดกรองโรคไต ซึ่งทำได้ไม่ยากด้วยการตรวจวัดความดันโลหิตการตรวจเลือดหาค่าซีรั่มครีเอตินิน หรือค่าอัตราการกรองของไต (eGFR) เพื่อหาระดับการทำงานของไต ร่วมกับตรวจปัสสาวะประชาชนทั่วไปควรได้รับการตรวจสุขภาพประจำปีอย่างสม่ำเสมอ เพื่อคัดกรองโรคไตและหาความเสี่ยงอื่นๆ ในการเกิดโรคผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงควรตรวจติดตามการทำงานของไตถี่มากขึ้น

อย่างไรก็ตามหากท่านเริ่มมีการของทำงานไตลดลง โรคไตเรื้อรังจะไม่หายขาดแต่สามารถชะลอความเสื่อมของไตได้เพื่อลดการเข้าสู่ระยะที่ต้องได้รับการบำบัดทดแทนไต ท่านอาจสอบถามแพทย์ผู้ดูแลว่าไตท่านมีความเสื่อมอยู่ในระดับใด ระยะของไตเรื้อรังแบ่งตามอัตราการกรองของไต มีทั้งหมด 5 ระยะ ท่านควรได้รับคำแนะนำการรักษาจากอายุรแพทย์โรคไต เมื่อการทำงานไตของท่านอยู่ในระดับ 4 หรือ 5 เนื่องจากไตเรื้อรังระดับ 5 เป็นระยะที่ท่านต้องเตรียมความพร้อมสำหรับการบำบัดทดแทนไต ในช่วงสัปดาห์ที่สองของเดือนมีนาคมในแต่ละปี กำหนดให้เป็นวันไตโลก

ในปีนี้มีการรณรงค์เพื่อกระตุ้นให้ประชาชนตื่นตัวในการดูแลรักษาสุขภาพไตมีสุขภาวะที่ดี ลดจำนวนผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง ลดการได้รับการบำบัดทดแทนไม่ว่าจะเป็นการล้างไตช่องท้อง การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม แม้ว่าปัจจุบันประเทศไทยจะมีระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า(สปสช.) ที่ทำให้ประชาชนเข้าถึงการบริบาลได้ทุกราย มีสิทธิประโยชน์ครอบคลุมการรักษา แต่หากมีจำนวนผู้ป่วยมากเกินไป จะเป็นภาระงบประมาณทางสาธารณสุขในอนาคตได้และส่งผลต่อการเข้าถึงการรักษาได้ ดังนั้นการคัดกรองหาความเสี่ยง รวมถึงการชะลอความเสื่อมของไตจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่สุด

การป้องกันการเกิดโรคไตทำได้โดย การดื่มน้ำสะอาดเป็นประจำออกกำลังกาย ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การเลือกรับประทานอาหาร โดยเฉพาะลดการบริโภคเค็ม งดดื่มเหล้า สูบบุหรี่ จะช่วยป้องกันและชะลอการเสื่อม

ของไตได้ มีข้อมูลพบว่าคนไทยมีพฤติกรรมการบริโภคเค็มมากกว่าปกติกว่า 2 เท่า มากกว่าค่าที่กำหนด หรือมากกว่า 2000 มิลลิกรัมต่อวัน (โซเดยี ม 4,320 มิลลิกรัม) หรือเปรียบเทียบเป็นเกลือ 10.8 กรัมต่อวัน โดยทั่วไปแนะนำไม่ควรบริโภคเกลือเกิน 5 กรัมต่อวันหรือเทียบเท่ากับ 1 ช้อนชาต่อวัน น้ำปลาหรือซอสปรุงรสไม่เกิน 4 ช้อนชาหรือ 1 ช้อนโต๊ะต่อวัน การลดความเค็มในอาหารจะลดการเกิดโรคที่เกิดจากการบริโภคโซเดียมเกินได้ซึ่งรวมถึงโรคไตเรื้อรัง และโรคภาวะความดันโลหิตสูง

ทั้งนี้ ควรระมัดระวังความเค็มที่มีอยู่ในอาหารที่ได้รับการแปรรูปมาแล้วรวมทั้งอาหารกระป๋อง โดยท่านจะทราบปริมาณโซเดียมในอาหารได้จากข้อมูลฉลากข้างผลิตภัณฑ์ ทั้งนี้สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทยร่วมกับกระทรวงสาธารณสุขและหน่วยงานต่างๆขอได้จัดงาน "วันไตโลก" (World Kidney Day) ประจำปี 2562 ภายใต้คำขวัญ"Kidney Health for Everyone Everywhere" หรือ"ทุกคนทั่วไทย ไตแข็งแรง" เพื่อให้ความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับโรคไตและการป้องกันโรคไตอย่างเหมาะสม ในวันอาทิตย์ที่ 17 มีนาคม 2562 นี้ ณ เอเทรียมโซน ชั้น 1 ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ถนนราชประสงค์ ตั้งแต่เวลา 10.00 – 18.00 น และในวันที่ 11-17 มีนาคม 2562 ได้จัดเป็นสัปดาห์รณรงค์ลดการบริโภคเค็มด้วย

วันไตโลก 2562“ทุกคน ทั่วไทย ไตแข็งแรง” Kidney Health for Everyone Everywhere “สัญญาณอันตราย” ของโรคไต วันไตโลก 2562“ทุกคน ทั่วไทย ไตแข็งแรง” Kidney Health for Everyone Everywhere “สัญญาณอันตราย” ของโรคไต