ฝุ่น PM2.5 ที่มาจากภาคเกษตร ป้องกันได้อย่างไร

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

          นอกจากข่าวการเลือกตั้งแล้ว ข่าวที่นับเป็นกระแสฮอตฮิตติดชาร์ต คงหนีไม่พ้นข่าวเจ้าฝุ่นจิ๋วแต่ผลลัพธ์ไม่จิ๋วของ PM2.5 ที่สร้างความเดือดร้อนตั้งแต่ช่วงปลายเดือนมกราคมที่ผ่านมาจนถึงวันนี้ แม้ภาครัฐและหน่วยงานต่างๆ จะพยายามหาวิธีหลากหลายมาสกัดกั้น เช่น การฉีดละอองน้ำ การทำฝนเทียม การฉีดน้ำกวาดถนน หรือห้ามไม่ให้ประชาชนใช้รถ ล้วนแต่เป็นการแก้ไขปัญหาไม่ตรงจุด ถึงแม้ฝุ่นพิษจะเจือจางไปแต่ก็จะกลับมาอีก
          แหล่งกำเนิด PM2.5 มีแบบปล่อยโดยตรงกับแหล่งกำเนิดปฐมภูมิ ไม่ว่าจะเป็นการคมนาคมขนส่ง การผลิตไฟฟ้า การเผาในที่โล่งและอุตสาหกรรมการผลิต ขึ้นอยู่กับว่าพื้นที่ใดมีแหล่งกำเนิดแบบใดเป็นหลัก ปัญหาฝุ่นในกรุงเทพฯ นั้นมีมานานหลายปีแล้ว เพียงแต่ปีนี้เห็นชัดเจนจนหลายๆ คนจึงเริ่มตระหนก ทั้งที่ควรตระหนักถึงปัญหานี้อย่างจริงจังมานานแล้ว ส่วนควันพิษนั้นเกิดจากการเผาไหม้ ไม่ว่าจะเป็นการเผาไหม้จากเครื่องรถยนต์ จากการเผาขยะ หรือจากการเผาสิ่งปฏิกูลต่างๆ ที่เป็นอันตรายร้ายแรง ก็ถือเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เป็นมะเร็งและโรคต่าง ๆ ซึ่งเป็นต้นเหตุการณ์ตายก่อนวัยอันควรของประชากรประเทศกว่า 50,000 คนต่อปี
          สำหรับภาคการเกษตรเองก็มีส่วนในการสร้างฝุ่นหรือควันพิษ อันเกิดจากการเผาตอซังฟางข้าว และเผาไร่อ้อยซึ่งทำกันมาอย่างต่อเนื่องช้านาน สิ่งต่างๆ เหล่านี้ล้วนทำให้เกิดก๊าซเรือนกระจกที่เป็นสาเหตุของภาวะโลกร้อน ถึงเวลาที่เกษตรกรไทยต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเหล่านี้เสียใหม่ เพื่อช่วยลดฝุ่น ควัน และมลภาวะ โดยเริ่มจากการใช้จุลินทรีย์ท้องถิ่นไทย อย่างหน่อกล้วย หรือมูลสัตว์เคี้ยวเอื้องย่อยสลายตอซังฟางข้าวแทนการเผา รวมทั้งยังเป็นการเตรียมแปลงนาเพิ่มแร่ธาตุให้ดิน ชาวนาในพื้นที่ภาคกลางแถบจังหวัดอ่างทอง ชัยนาท สิงห์บุรี ก่อนการทำนารุ่นต่อไปจะต้องมีการเตรียมการเป็นระยะเวลา 15-30 วัน ในช่วงเวลานี้เราสามารถใช้จุลินทรีย์ท้องถิ่นไทยที่ทำจากมูลสัตว์เคี้ยวเอื้อง (วัว ควาย แพะ ฯลฯ) 2 กิโลกรัมต่อน้ำสะอาด 20 ลิตร แล้วเติมกากน้ำตาล 10 ลิตร หมักไว้ 7 วันก็นำไปใช้ได้ หรือการทำจุลินทรีย์จากหน่อกล้วย คัดเลือกหน่อที่อวบอ้วนต้นสูงไม่เกิน 1 เมตรขุดให้มีดินติดราก 3/10 ส่วน เพราะในดินจะมีจุลินทรีย์ติดมาด้วย นำมาสับหรือบดให้ละเอียด ใส่กากน้ำตาลผสมในอัตราส่วน หน่อกล้วย 3 ส่วนต่อกากน้ำตาล 1 ส่วนโดยไม่ต้องใช้น้ำ นำจุลินทรีย์ที่หมักได้ มาเทตรงท่อระบายน้ำให้กระจายไปทั่วผืนนาให้ท่วมใช้ 5 ลิตรต่อไร่ ทิ้งไว้ 1 สัปดาห์ให้ย่อยสลายตอซังฟางข้าวแทนการเผา
          มีข้อมูลว่ากว่าร้อยละ 60 ของชาวไร่อ้อยทั่วประเทศ ใช้วิธีการเผาอ้อยก่อนตัด เพราะการเผาทำให้ใบอ้อยหายไปช่วยให้สะดวกต่อการตัด แต่นอกจากจะสร้างมลพิษแล้วยังมีปัญหาที่ตามมาก็คือ อ้อยที่ผ่านการเผานั้น ค่าความหวานจะลดลงและเก็บไว้ได้ไม่นาน ราคาจึงถูกกว่าอ้อยสดมาก สำหรับวิธีแก้ปัญหาคือนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยตัดเพื่อให้เก็บเกี่ยวได้สะดวก รวดเร็ว ไม่ก่อมลภาวะด้วยการเผาไร่อ้อยอีกต่อไป หรือจัดตั้งกลุ่มด้านสิ่งแวดล้อมร่วมกับโรงงานรับซื้ออ้อยเพื่อกำหนดนโยบายร่วมกัน เช่น กำกับคุณภาพอ้อย โดยมีมาตรการตัดราคาสำหรับเกษตรกรที่ใช้วิธีการเผาอ้อย เพื่อให้เกษตรกรส่วนใหญ่เห็นความสำคัญในเรื่องของการรักษาสิ่งแวดล้อม ลด ละ เลิกสิ่งที่ทำให้เกิดฝุ่นหรือควันพิษจากภาคเกษตรกรรม ถือเป็นการแก้ไขปัญหาที่ยั่งยืนอีกหนึ่งวิธี นอกจากสามารถป้องกันฝุ่นพิษแล้วยังเป็นการเพิ่มแร่ธาตุ ปุ๋ย ให้กับดิน รวมถึงสามารถลดการนำเข้าสารเคมีจากต่างประเทศได้อีกด้วย
          ดังนั้นฝุ่น PM2.5 ที่มาจากภาคเกษตรสามารถป้องกันได้ ปัญหาเรื่องฝุ่นหรือสารพิษเป็นเรื่องที่ใกล้ตัวมาก เราอาจจะเริ่มจากจุดเล็กๆ อย่างตัวเราก่อนโดยการลด ละ เลิกการเผาขยะ ช่วยกันสร้างพื้นที่สีเขียวให้มากขึ้น ปลูกต้นไม้เพื่อดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และฝุ่นควันต่างๆ หรือปลูกพืชผักปลอดสารพิษทานเองที่บ้านของเรา ช่วยกันคนละไม้คนละมือ ซึ่งถือเป็นการแก้ปัญหาอย่างยั่งยืนที่ทุกคนทุกฝ่ายต้องร่วมมือกัน ไม่ว่าจะเป็นภาคการเกษตร ภาคอุตสาหกรรม และหน่วยงานของรัฐ เพื่อส่งต่อโลกที่ไร้มลภาวะให้ลูกหลานของเรา
          สนับสนุนบทความโดยนายมนตรี บุญจรัส
          กรรมการผู้จัดการบริษัท ไทยกรีน อะโกร จำกัด (ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ)
          สำหรับผู้ที่มีข้อสงสัยหรือต้องการคำปรึกษา สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่โทร. 02 986 1680 – 2
ฝุ่น PM2.5 ที่มาจากภาคเกษตร ป้องกันได้อย่างไร
 

ข่าวการทำฝนเทียม+ผลิตไฟฟ้าวันนี้

รายงานสำคัญฉบับใหม่โดย VDE Renewables แสดงให้เห็นถึงข้อได้เปรียบด้านความปลอดภัย, ความมั่นคงทางไซเบอร์ และผลผลิตพลังงานที่สูงขึ้นของระบบผลิตไฟฟ้าโซล่าร์เซลล์ SolarEdge

รายงานพบว่าความสามารถด้านความปลอดภัยขั้นสูงของ SolarEdge ช่วยลดความเสี่ยงของระบบผลิตไฟฟ้าโซล่าร์เซลล์และป้องกันอันตรายจากไฟไหม้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมทั้งยังเหนือกว่ากฎระเบียบความปลอดภัยระดับสากลสำหรับระบบผลิตไฟฟ้าโซล่าร์เซลล์ กลไกความมั่นคงทางไซเบอร์ที่แข็งแกร่งของ SolarEdge ได้รับการระบุว่าเป็นสิ่งสำคัญในการลดความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับภัยคุกคามทางไซเบอร์ โซลูชั่นอินเวอร์เตอร์ Power Optimizer ของบริษัทแสดงให้เห็นถึงผลผลิตพลังงานที่สูงขึ้นสำหรับทั้งหลังคาแบบเรียบง่ายและซับซ้อน

ONNEX SOLAR by SCG Smart Living ผู้เชี่ยว... แกมโบลพลิกโฉมโรงงานพลังงานสะอาด ติดตั้งโซล่าร์เซลล์ ONNEX by SCG ช่วยลดค่าไฟสูงสุด 50% — ONNEX SOLAR by SCG Smart Living ผู้เชี่ยวชาญงานติดตั้งระบบผลิตไฟฟ...

เมื่อเร็ว ๆ นี้ นายวิสุทธิ์ หนูงาม ผู้จัด... ภาพข่าว: ปตท. มอบน้ำแข็งแห้งแก่กรมฝนหลวงฯ แก้ปัญหาภัยแล้งต่อเนื่อง — เมื่อเร็ว ๆ นี้ นายวิสุทธิ์ หนูงาม ผู้จัดการฝ่ายบริหารจัดการโรงแยกก๊าซและกิจการเพื่อช...

"บีไอจี" พร้อมส่งน้ำแข็งแห้งบริสุทธิ์ ให้... “บีไอจี” พร้อมส่งน้ำแข็งแห้ง สนับสนุนการทำฝนเทียมแก้ปัญหาฝุ่นเกินมาตรฐาน — "บีไอจี" พร้อมส่งน้ำแข็งแห้งบริสุทธิ์ ให้กรมฝนหลวงและการบินเกษตร สำหรับปฏิบัติก...

ร้าน "ธาน" ร้านอาหารไทยพื้นถิ่นสไตล์อินโน... เชฟเทเบิล “สามป่า ห้าฤดู” ณ ร้านธาน — ร้าน "ธาน" ร้านอาหารไทยพื้นถิ่นสไตล์อินโนเวทีฟที่มุ่งเน้นการเคารพวัตถุดิบ และเชิดชูเกษตรกรผู้อยู่เบ...

ปตท. มอบน้ำแข็งแห้ง สร้างฝนหลวงฯ ต่อเนื่องเป็นปีที่ 20

นายนพดล ปิ่นสุภา รองกรรมการผู้จัดการใหญ่หน่วยธุรกิจก๊าซธรรมชาติ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ในวันนี้ (1มีนาคม 2561) ปตท. ได้มอบน้ำแข็งแห้งจำนวน 800 ตัน มูลค่ารวม 6,400,000 ล้านบาท (หกล้านสี่แสนบาท) ให้แก่ นายกฤษฎา บุญราช...

ปตท. มอบน้ำแข็งแห้ง 700 ตัน สร้างฝนเทียมแก้ปัญหาภัยแล้ง พร้อมร่วมรณรงค์ใช้น้ำอย่างรู้คุณค่า

นายสมชาย กูใหญ่ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่แยกก๊าซธรรมชาติ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ในปีนี้ ปตท. ได้ร่วมสนับสนุนโครงการฝนหลวงโดยมอบน้ำแข็งแห้งจำนวน 700 ตัน มูลค่ารวม 5,600,000 บาท (ห้าล้านหกแสนบาท)...