ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ร่วมกับ สมาคมผู้ผลิตเภสัชภัณฑ์ของญี่ปุ่น หรือ JPMA (Japan Pharmaceutical Manufacturers Association) และ The Biotechnology & Pharmaceutical Industries Promotion Office (BPIPO) ประเทศไต้หวัน ริเริ่มร่วมกันจัดตั้ง สมาคม"เครือข่ายความร่วมมือการค้นหายาจากสารสกัดผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ" และเมื่อเร็วๆ นี้ ผู้แทนจากทั้ง 3 ประเทศได้ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความเข้าใจใน "พิธีสารนาโงยา"ณ Nihonbashi Life Science Building, โตเกียว ประเทศญี่ปุ่น โดยได้ความร่วมมือจาก Asia Partnership Conference of Pharmaceutical Associations หรือ APAC
พิธีสารนาโงยา ว่าด้วยการเข้าถึงทรัพยากรชีวภาพและการแบ่งปันผลประโยชน์ที่ได้จากการใช้ทรัพยากรชีวภาพอย่างยุติธรรมและเท่าเทียม ตามอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ รวมถึงแนวปฏิบัติเพื่อส่งเสริมการใช้สารสกัดผลิตภัณฑ์ธรรมชาติเพื่อการค้นหายาที่ได้ร่างขึ้นเมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา เครือข่ายความร่วมมือการค้นหายาจากสารสกัดผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ มุ่งมั่นที่จะพัฒนาสร้างกลไกการร่วมพัฒนายา โดยการนำทรัพยากรธรรมชาติอันอุดมสมบูรณ์ของประเทศไทยมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในการพัฒนายาใหม่จากธรรมชาติด้วยเทคโนโลยีขั้นสูง โดยใช้ทรัพยากรของเอเซียให้เกิดประโยชน์และใช้ได้จริง
แกนนำเครือข่ายความร่วมมือฯ โดย ดร.นเรศ ดำรงชัย ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ และ ดร.อัทสึชิ ฮะสุโอะกะ บริษัท ทาเคดา (ประเทศญี่ปุ่น) จำกัด หัวหน้าคณะทำงานเครือข่ายผู้เชี่ยวชาญการค้นหายา (Drug Discovery Alliances Expert Working Group) ของ APAC (DAEWG, APAC) ปฏิบัติหน้าที่เป็นประธานและรองประธานของสมาคมฯ โดยมีหน่วยงานของประเทศญี่ปุ่น ไทย และไต้หวัน ประสานการทำงานร่วมกัน ซึ่งคาดว่าในอนาคตจะมีประเทศมาเลเซียมาร่วมเป็นเครือข่ายด้วยกัน ปัจจุบันกำลังเปิดรับสมัครผู้สนใจเข้าร่วมเครือข่ายจากบริษัทที่อยู่ในสมาคมผู้ผลิตเภสัชภัณฑ์ของญี่ปุ่น หรือ JPMA (Japan Pharmaceutical Manufacturers Association) ซึ่งสามารถสรุปรายชื่อของบริษัทที่เข้าร่วมเป็นเครือข่ายได้ภายในเดือนพฤศจิกายน และจะเริ่มดำเนินกิจกรรมตั้งแต่เดือนธันวาคมนี้เป็นต้นไป
สมาคมโภชนาการแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จัดงานประชุมวิชาการสารอาหารและสารพฤกษเคมี ครั้งที่ 1 ในวันศุกร์ที่ 2 สิงหาคม 2562 เวลา 08.00 16.00 น. ณ ห้องแกรนด์บอลรูม โรงแรมเซ็นจูรี่ พาร์ค กรุงเทพฯ การจัดงานประชุมวิชาการครั้งนี้ เพื่อแลกเปลี่ยนและเรียนรู้ในด้านการวิจัยทางโภชนาการรวมไปถึงการทดสอบเพื่อประกอบการขึ้นทะเบียนกับ อย. โดยความร่วมมือระหว่างกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน) หรือ ทีเซลส์ (TCELS) ฝ่ายโปร
ทีเซลส์ จับมือร่วมกับ มูลนิธิอัลไซเมอร์แห่งประเทศไทย จัดกิจกรรม “สร้างสรรค์สังคมไทย ห่างไกลอัลไซเมอร์” ครั้งที่ 10
—
กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดย ศู...
ทีเซลส์ จับมือจุฬาฯ แถลงผลวิจัยสำเร็จใช้เซลล์นักฆ่ารักษาผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาว
—
ที่มา: ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาตร์ (องค์การมหาชน) กระทรวงวิทยาศ...
ทีเซลส์ จับมือร่วมกับจุฬาฯ จัดงานแถลงข่าว “ก้าวแรกสู่ความสำเร็จ การรักษามะเร็งเม็ดเลือดขาวด้วยเซลล์นักฆ่า”
—
กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดย ศูนย์ความเ...
ทีเซลส์ ขับเคลื่อนงานประชุมระดับนานาชาติ “หุ่นยนต์ทางการแพทย์”
—
กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดย ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน) หรื...
ทีเซลส์ ผลักดันเทคโนโลยีระดับห้องปฏิบัติการสู่การนำไปใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์
—
กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์ก...
ทีเซลส์ ขับเคลื่อนงานประชุมระดับนานาชาติ “หุ่นยนต์ทางการแพทย์”
—
กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดย ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน) หรื...
TCELS จับมือร่วมกับ สวทช. หนุนการวิจัย พัฒนา และทดสอบทางคลินิก อาหารฟังก์ชั่น เปิดรับสมัครผู้ประกอบการอุตสาหกรรมอาหาร ตอบโจทย์สังคมผู้สูงวัย
—
กระทรวงวิทย...
ทีเซลส์ ขับเคลื่อนการใช้เซลล์ต้นกำเนิดของไทยด้วยเครือข่ายนักวิจัยเซลล์ต้นกำเนิด
—
กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (อ...
ทีเซลส์ เชิญชวนผู้ประกอบการ SMEs สมัครเข้าร่วมโครงการ “คุณภาพ ความปลอดภัย และประสิทธิผลของเครื่องสำอางและเสริมอาหาร”
—
กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยศ...