รังแคและภาวะหนังศีรษะอักเสบ

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

          โดย รศ.นพ.รัฐพล ตวงทอง 
          ปฏิคมและแพทย์ผู้เชี่ยวชาญสมาคมแพทย์ผิวหนังแห่งประเทศไทย

          หลาย ๆ คนมักจะประสบปัญหาภาวะโรคหนังศีรษะอักเสบ (Seborrheic dermatitis)โดยทั่วไปมักจะนิยมเรียกว่า รังแค (Dandruff) สมาคมแพทย์ผิวหนังแห่งประเทศไทยและแพทย์ผิวหนังเริ่มเป็นห่วงว่าปัญหาเรื่องของโรคหนังศีรษะอักเสบหรือเราเรียกว่ารังแค นั้นนอกจากจะทำให้คนรอบข้างรู้สึกรังเกียจแล้ว ปัจจุบันมีผู้ป่วยทั้งหญิงและชายเข้ารับการรักษาเพิ่มขึ้นมากทีเดียว ผู้ที่ป่วยเป็นโรคหนังศีรษะอักเสบถึงแม้จะไม่เป็นอันตรายถึงชีวิต แต่ทำให้บุคลิกภาพของตัวเองเสียไป ทำให้ขาดความมั่นใจในเรื่องต่าง ๆ ทั้งในเรื่องการทำงานและการตัดสินใจในเรื่องอื่น ๆ อาการอักเสบของหนังศีรษะเกิดจากปัญหาหลายสาเหตุ ที่พบมากในผู้ที่มีเส้นผมและหนังศีรษะมัน ซึ่งอาการจะรุนแรงมากน้อยแตกต่างกันไป ซึ่งลักษณะอาการจะมีผื่นแดง เส้นผมหลุดร่วง คันที่หนังศีรษะ มีขุย ในบริเวณหนังศีรษะเมื่อมีการผลิตน้ำมันมากผิดปกติ บางรายมีอาการแสบหากโดนเหงื่อหรือโดนแสงแดดมาก ๆ มักจะเกิดอาการกำเริบเมื่อหนังศีรษะมันมากผิดปกติ 
          อาการผิวหนังอักเสบนั้น จัดเป็นโรคเรื้อรังที่เป็น ๆ หาย ๆ ไม่หายขาดเสียที เรียกได้ว่าผู้ป่วยที่เป็นแล้วก็กลับมาเป็นซ้ำอีก เชื่อว่าโรคนี้เกี่ยวข้องกับการเพิ่มจำนวนของเชื้อราจำพวก Malassezia globosa มาเปลี่ยนไขมันบนหนังศีรษะ ทำให้ก่อให้เกิดการอักเสบขึ้นตามมา          
          นอกจากนี้ยังมีปัจจัยภายนอกต่าง ๆ มากระตุ้นทำให้เกิดอาการกำเริบ เช่น 1.สิ่งแวดล้อมที่เป็นปัจจัยทางลบ การเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ เช่น ความชื้น ความร้อนจากแสงแดด ฝุ่นละออง ควัน 2.อาหารบางชนิด 3.เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ซึ่งสามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนร่างกายได้ และ 4.พฤติกรรม เช่นเดียวกับการเป็นหวัด หากร่างกายอ่อนแอ การพักผ่อนไม่เพียงพอ ความเครียด ภาวะการขาดอาหาร ก็ทำให้เกิดภาวะหนังศีรษะอักเสบได้
          ในเรื่องของการรักษาจะเริ่มต้นด้วยการใช้แชมพูกำจัดรังแค เช่น Ketoconazole Shampoo, Tar Shampoo, Selenium Sulfide Shampoo, Zinc Pyrithione Shampoo, Ciclopirox Shampoo เป็นต้น ถ้าอาการเป็นมากอาจต้องใช้การทายาต้านอักเสบในกลุ่มสเตียรอยด์ที่หนังศีรษะหรือ ยาทาหรือยารับประทานต้านเชื้อรา นอกจากนี้ยังควรพักผ่อนให้เพียงพอลดความเครียดลงด้วย 
          ภาวะหนังศีรษะอักเสบแม้จะไม่ใช่โรคร้ายแรงอะไร แต่ก็เป็นสาเหตุที่ทำให้รากผมอ่อนแอ จากปัจจัยทั้งหมดจะไปกระตุ้นการอักเสบของโพรงเส้นผม ซึ่งการอักเสบที่ต่อเนื่องและเรื้อรัง อาจทำให้โพรงเส้นผมลีบเป็นพังผืด และสิ่งที่ตามมาก็คือ ปัญหารากผมอักเสบและเกิดการหลุดร่วงของเส้นผม หากไม่มีการดูแลรักษาความสะอาดและได้รับการเยียวยา ก็จะเกิดปัญหาศีรษะล้านได้ในอนาคต
รังแคและภาวะหนังศีรษะอักเสบ
 
รังแคและภาวะหนังศีรษะอักเสบ
 
 

ข่าวสมาคมแพทย์ผิวหนังแห่งประเทศไทย+สมาคมแพทย์ผิวหนังวันนี้

สมาคมแพทย์ผิวหนังฯ จัดงานประชุมกลางปี 2565 "Back to The Future In Practical Dermatology"

สมาคมแพทย์ผิวหนังแห่งประเทศไทย ขอเชิญแพทย์ผู้สนใจที่เป็นสมาชิกสมาคมแพทย์ผิวหนังแห่งประเทศไทย ทั้งในส่วนราชการและเอกชนเข้าร่วมการประชุมวิชาการ "การประชุมกลางปี 2565" ในวันที่ 16 กันยายน 2565 ตั้งแต่เวลา 07.00-17.30 น. ณ ชั้น 23 โรงแรมเซ็นทารา เซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพฯ ราชประสงค์โดยการประชุมครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำความรู้และเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาพัฒนาการศึกษาค้นคว้าวิจัยที่เป็นประโยชน์ต่อแพทย์สมาชิก ให้ดียิ่งขึ้นต่อไป ตลอดจนเพื่อเพิ่มพูนความรู้ความชำนาญ สาขาตจวิทยา ในด้านเวชปฏิบัติ

ปัจจุบันในสถานการณ์ที่มีการระบาดอย่างรุนแ... 7 คำถามของโรคสะเก็ดเงินกับโควิด-19 — ปัจจุบันในสถานการณ์ที่มีการระบาดอย่างรุนแรงของโควิด19 ทำให้มีคำถามจากผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงินหลากหลายประเด็น จึงขอเลือก...

สวัสดีครับ หมอเชื่อว่า หลายท่านน่าจะรู้จั... รู้จักลมพิษให้ดีขึ้น — สวัสดีครับ หมอเชื่อว่า หลายท่านน่าจะรู้จักหรือเคยได้ยินข้อมูลเกี่ยวกับลมพิษกันมาบ้างแล้วนะครับ สำหรับในวันที่ 1 ตุลาคม ของทุก ๆ ปี...

สมาคมแพทย์ผิวหนังแห่งประเทศไทย ขอเชิญแพทย... สมาคมแพทย์ผิวหนังฯ เชิญแพทย์ เข้าร่วมงานDST Mid-Year Meeting 2021 — สมาคมแพทย์ผิวหนังแห่งประเทศไทย ขอเชิญแพทย์ผู้สนใจที่เป็นสมาชิกสมาคมแพทย์ผิวหนังแห่งป...

โรคสะเก็ดเงินที่เล็บ (nail psoriasis) เป็... โรคสะเก็ดเงินที่เล็บ — โรคสะเก็ดเงินที่เล็บ (nail psoriasis) เป็นความผิดปกติของเล็บที่พบในโรคสะเก็ดเงิน อาจมีอาการเป็นเฉพาะที่...

แม้ว่าโรคโควิด-19 จะเป็นโรคที่เกี่ยวข้องก... โรคโควิด-19 กับอาการทางผิวหนังที่ไม่ควรมองข้าม (ตอนที่ 1) — แม้ว่าโรคโควิด-19 จะเป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินหายใจเป็นหลัก แต่ก็อาจทำให้เกิดความผิดปก...

แม้ว่าโรคโควิด-19 จะเป็นโรคที่เกี่ยวข้องก... โรคโควิด-19 กับอาการทางผิวหนังที่ไม่ควรมองข้าม (ตอนที่ 1) — แม้ว่าโรคโควิด-19 จะเป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินหายใจเป็นหลัก แต่ก็อาจทำให้เกิดความผิดปก...