มาตรการส่งเสริมการชำระเงินเพื่อซื้อสินค้าและบริการ และการนำส่งข้อมูลภาษีมูลค่าเพิ่มผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

          นายลวรณ แสงสนิท ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2561 เห็นชอบมาตรการส่งเสริมการชำระเงินเพื่อซื้อสินค้าและบริการ และการนำส่งข้อมูลภาษีมูลค่าเพิ่มผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (มาตรการฯ) ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ โดยมีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
          มาตรการฯ กำหนดให้จ่ายเงินชดเชยแก่ผู้ชำระเงินที่ใช้บัตรเดบิตของตนเองทุกประเภทที่ออกในประเทศไทยและมีการใช้จ่ายในประเทศไทย (ไม่รวมถึงบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ) ในการซื้อสินค้าและบริการที่มีภาษีมูลค่าเพิ่ม (ไม่รวมถึงสินค้าและบริการที่มีภาษีสรรพสามิต) ในช่วงวันที่ 1 – 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 กับผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ใช้ระบบบันทึกการเก็บเงิน (Point of Sale: POS) ซึ่งสามารถแยกจำนวนภาษีมูลค่าเพิ่มร้อยละ 7 ออกจากราคาสินค้าและบริการได้ และจ่ายเงินชดเชยเป็นจำนวนเท่ากับร้อยละ 5 ทั้งนี้ จะจ่ายเงินชดเชยสูงสุดไม่เกิน 1,000 บาทต่อคน โดยจ่ายเข้าระบบพร้อมเพย์ที่ใช้เลขประจำตัวประชาชน โดยมีเงื่อนไขขั้นตอนการเข้าร่วมมาตรการฯ ดังนี้
          1. ประชาชนผู้สนใจรับเงินชดเชยจากมาตรการฯ ต้องลงทะเบียนเข้าร่วมมาตรการฯ ในช่วงเวลา ช่องทาง และตามเงื่อนไขที่กำหนด
          2. วันที่ 1 – 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 ผู้ที่มีคุณสมบัติครบถ้วนตามข้อ 2.1 ชำระเงินเพื่อซื้อสินค้าและบริการที่มีภาษีมูลค่าเพิ่ม (ไม่รวมถึงสินค้าและบริการที่มีภาษีสรรพสามิต) โดยใช้บัตรเดบิตของตนเองกับผู้ประกอบการร้านค้าที่ร่วมมาตรการฯ และมีคุณสมบัติครบถ้วนตามข้อ 2.2 มีสิทธิ์ได้รับเงินชดเชยจากมาตรการฯ
          2.1 คุณสมบัติผู้ที่จะได้รับเงินชดเชย
          2.1.1 มีบัตรเดบิตที่ออกในประเทศไทย โดยไม่รวมถึงบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ
          2.1.2 ลงทะเบียนเข้าร่วมมาตรการฯ ในช่วงเวลา ช่องทาง และตามเงื่อนไขที่กำหนด
          2.1.3 สมัครใช้บริการพร้อมเพย์ โดยใช้เลขประจำตัวประชาชนเพื่อรับเงินชดเชย
          2.2 คุณสมบัติผู้ประกอบการร้านค้า
          2.2.1 เป็นผู้ประกอบการร้านค้าจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
          2.2.2 มีระบบ POS ที่ช่วยเก็บบันทึกการขาย รายละเอียดสินค้า คำนวณยอดขาย และพิมพ์ใบกำกับภาษี โดยเชื่อมต่อกับเครื่องรับชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ (EDC) ทั้งนี้ ผู้ประกอบการร้านค้าที่มีระบบ POS ต้องทำการปรับปรุงและทดสอบ เพื่อให้สามารถส่งข้อมูลภาษีมูลค่าเพิ่มทางอิเล็กทรอนิกส์ได้ เช่นเดียวกับระบบที่ใช้ภายใต้มาตรการชดเชยเงินให้แก่ผู้มีรายได้น้อยผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐโดยใช้ข้อมูลจากจำนวนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐได้ชำระ
          3. รัฐบาลจะจ่ายเงินชดเชยให้แก่ผู้ที่มีคุณสมบัติผ่านระบบพร้อมเพย์ที่ใช้เลขประจำตัวประชาชน ภายใน พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

          ทั้งนี้ มาตรการฯ มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อส่งเสริมการใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์แทนการใช้เงินสด การผลักดันการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่รองรับการชำระเงินผ่านบัตรอิเล็กทรอนิกส์และการบูรณาการระบบภาษีอิเล็กทรอนิกส์ในส่วนการนำส่งรายงานการทำธุรกรรมทางการเงินและการนำส่งข้อมูลภาษีเมื่อมีการชำระเงินผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ อันเป็นการสนับสนุนการดำเนินงานตาม National e-Payment Master Plan

          สำนักนโยบายภาษี สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง
          โทร. 0 2273 9020 ต่อ 3513, 3514
มาตรการส่งเสริมการชำระเงินเพื่อซื้อสินค้าและบริการ และการนำส่งข้อมูลภาษีมูลค่าเพิ่มผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์
 

ข่าวสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง+บัตรสวัสดิการแห่งรัฐวันนี้

ความคืบหน้าการใช้จ่ายวงเงินสิทธิ์ในโครงการเราชนะของประชาชนและการรับสมัครผู้ประกอบการร้านค้าและผู้ให้บริการรายย่อยที่สนใจเข้าร่วมโครงการ

นางสาวกุลยา ตันติเตมิท ผู้ตรวจราชการกระทรวงการคลัง รักษาราชการแทนผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยความคืบหน้าการใช้จ่ายวงเงินสิทธิ์ในโครงการเราชนะของกลุ่มผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ (กลุ่มผู้ถือบัตรฯ) ที่ได้รับการโอนวงเงินสิทธิ์เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2564 ที่ผ่านมา จากข้อมูลล่าสุด ณ วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2564มียอดการใช้จ่ายวงเงินสิทธิ์สะสมหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจไทยแล้วมากกว่า 6,400ล้านบาท โฆษกกระทรวงการคลังเน้นย้ำสำหรับผู้ประกอบการร้านค้าในกลุ่มร้านอาหารและ

ประเด็นผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐถอนเงินสดจากเครื่องถอนเงินอัตโนมัติ (ATM)

นายลวรณ แสงสนิท ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลังเปิดเผยว่า ขณะนี้มีประเด็นข่าวว่า มาตรการช่วยเหลือผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐเพิ่มเติมที่คณะรัฐมนตรีเห็นชอบเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว (20 สิงหาคม 2562) ส่งผล...

ผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐสามารถดำเนินธุรกรรมทางการเงินได้ตามปรกติ

นายลวรณ แสงสนิท ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ขณะนี้มีกระแสข่าวลือในสังคมออนไลน์ว่า ผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐจะไม่สามารถดำเนินธุรกรรม ทางการเงินใด ๆ ได้ อาทิ การขอสินเชื่อ เป็นต้น...

รายงานประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2561 และ 2562 “เศรษฐกิจไทยปี 2561 คาดว่าจะขยายตัวเร่งขึ้นจากปีก่อนมาอยู่ที่ร้อยละ 4.1 และมีแนวโน้มขยายตัวอย่างต่อเนื่องที่ร้อยละ 4.0 ในปี 2562”

นายลวรณ แสงสนิท ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง แถลงข่าวประมาณการเศรษฐกิจไทย ณ เดือนมกราคม 2561 ว่า ...

มาตรการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ระยะที่ 2 และการเติมเงินเข้ากระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ในบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ

นายลวรณ แสงสนิท ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 15 มกราคม 2562 คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบความคืบหน้าการดำ...

การลงพื้นที่ติดตามผลการฝึกอบรมอาชีพตามมาตรการยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐจังหวัดลำปาง

นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง นายวิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง นางนฤมล ภิญโญสินวัฒน์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงการคลัง และนายลวรณ แสงสนิท...

การลงพื้นที่ติดตามผลการฝึกอบรมอาชีพตามมาตรการยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐจังหวัดหนองคาย

นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง นายวิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง นายประสงค์ พูนธเนศ ปลัดกระทรวงการคลัง นางสาวเกตสุดา สุประดิษฐ์ รองผู้อำนวยการสำนักงาน...

นายลวรณ แสงสนิท ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐก... ภาพข่าว: แถลงข่าวผลการประชุม ครม.เมื่อวันที่ 20 พ.ย.2561 ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงการคลัง — นายลวรณ แสงสนิท ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโ...

มาตรการช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยเพิ่มเติมผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ

นายลวรณ แสงสนิท ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า "คณะรัฐมนตรีในคราวการประชุมวันอังคารที่ 20 พฤศจิกายน 2561 มีมติเห็นชอบมาตรการช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยเพิ่มเติมผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐจำนวน 4 มาตรการ...