อาซาฮีมอบ 6 ทุนวิจัยให้ 6 งานวิจัยเด่น มจธ.

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

          นักวิจัยไทย 4 สาขาปลื้มได้รับทุนมูลนิธิกระจกอาซาฮี จากประเทศญี่ปุ่น มจธ.เผยทุกงานวิจัยแสดงกึ๋นนักวิจัยไทยที่สร้างคุณประโยชน์ให้ชาติและส่งเสริมความสัมพันธ์ให้สองสถาบัน
          มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากมูลนิธิกระจกอาซาฮี (The Asahi Glass Foundation -AF) ประเทศญี่ปุ่นติดต่อกันมาแล้วปีนี้เป็นปีที่ 8 ซึ่งถือเป็นทุนวิจัยที่ให้ความสำคัญกับวงการวิทยาศาสตร์ของประเทศ โดยในปี 2562 มีนักวิจัย มจธ. ได้รับทุน จำนวน 6 คน รวมทุนที่ได้รับจำนวน 5 ล้านเยน หรือประมาณ 1,445,000 บาท
สาขาวัสดุศาสตร์ จำนวน 2 ท่าน คือ ดร.สุรเชษฐ์ กาฬสินธุ์ คณะวิทยาศาสตร์ ได้รับทุนวิจัยพัฒนาอุปกรณ์ wearable electronic sensor ผู้ใช้สวมใส่อุปกรณ์บนผิวหนังเพื่อตรวจวัดฮอร์โมน ความดัน การเต้นของหัวใจหรือโรคต่างๆ ผ่านเหงื่อหรือการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิบนผิวหนัง และ ผศ.ดร.สมพิศ วันวงษ์ คณะพลังงานสิ่งแวดล้อมและวัสดุ ได้รับทุนวิจัยเรื่อง การพัฒนาวัสดุสิ่งทออิเล็กทรอนิกส์จากผ้าใยธรรมชาติของไทยเพื่อใช้สำหรับอุปกรณ์เก็บเกี่ยวพลังงานชนิดไตรโบอิเล็กทริกส์นาโนเจเนอเรเตอร์ เพื่อศึกษาเทคนิคทางเคมีเพื่อปรับปรุงพื้นผิวของผ้าใยสับปะรด ผ้าใยกัญชง และผ้าไหมของไทย ให้มีสมบัติเป็นขั้วบวก ขั้วลบ และมีสมบัติการนำไฟฟ้าที่ต่างกัน พร้อมทั้งศึกษาเทคนิคการประกอบผ้าใยธรรมชาติเป็นวัสดุสิ่งทออิเล็กทรอนิกส์ชนิดไตรโบอิเล็กทริกส์นาโนเจเนอเรเตอร์ (textile-based triboelectric nanogenerator) ที่สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าให้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าขนาดเล็กได้อย่างมีประสิทธิภาพ เมื่อได้รับแรงกระทบจากสิ่งแวดล้อม เช่น การกด การสัมผัส และการเคลื่อนไหวร่างกาย องค์ความรู้ที่ได้จากงานวิจัยนี้สามารถนำไปพัฒนาต่อยอดงานวิจัยด้านวัสดุสิ่งทออิเล็กทรอนิกส์สำหรับสวมใส่ (wearable textile) เพื่อตรวจจับสัญญาณด้านการแพทย์ (biomedical sensor) การทหารและการออกกำลังกาย (fitness tracker)
          สาขาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ ผู้ได้รับทุน คือ ผศ.ดร.ธีรพันธ์ เหล่าเมตตาจิตต์ คณะทรัพยากรชีวภาพและเทคโนโลยี งานวิจัยเรื่อง กลไกการตอบสนองภายในเซลล์ตับต่อการได้รับอนุภาคนาโนไททาเนียมไดออกไซด์ (nano-TiO2) ซึ่งเป็นงานวิจัยที่ร่วมมือกับ ดร.มนฤดี เลี้ยงรักษา นักวิจัยจากศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ โดยอนุภาค nano-TiO2 พบได้ในผลิตภัณฑ์เช่น เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์ดูแลผิว ยาสีฟัน เมื่อเข้าสู่ร่างกายสามารถสะสมอยู่ภายในเซลล์ตับ งานวิจัยนี้จะทำการสร้างแบบจำลองในคอมพิวเตอร์เพื่อศึกษากลไกการทำงานของเซลล์ที่ตอบสนองต่อการได้รับอนุภาคดังกล่าว เพื่อใช้ประเมินความเสี่ยงและอันตรายต่อสุขภาพของมนุษย์
          สาขาสารสนเทศและระบบอัตโนมัติ คือ ดร.ทัศนีย์วรรณ ลักษณะโสภิณ หลักสูตรวิศวกรรมชีวภาพ คณะวิศวกรรมศาสตร์ ในการพัฒนางานวิจัยเรื่อง ระบบส่งเสริมการกายภาพบำบัดในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองเป็นการสร้างแพลตฟอร์มช่วยดูแลและส่งเสริมการกายภาพบำบัดของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองผ่านแอปพลิเคชันที่ใช้งานได้ทั้งบนเว็บไซต์และโทรศัพท์มือถือ สามารถตรวจสอบการพัฒนาของกล้ามเนื้อแขนระหว่างการกายภาพบำบัด โดยแพลตฟอร์มนี้จะสอนท่าการทำกายภาพบำบัดที่ถูกต้อง และบันทึกผลของการกายภาพผ่านเซนเซอร์ที่วัดการทำงานของกล้ามเนื้อ เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับทราบถึงผลการกายภาพบำบัดในแต่ละครั้งและทราบถึงแนวโน้มของพัฒนาการของกล้ามเนื้อ เพื่อสร้างกำลังใจให้กับผู้ป่วย รวมถึงสามารถแจ้งผลไปยังแพทย์และญาติของผู้ป่วยได้ทำให้สามารถติดตามผลของการกายภาพบำบัดได้ตลอดเวลา
          สาขาสิ่งแวดล้อม จำนวน 2 ท่าน คือคุณธนานันท์ โชติประเสริฐคุณ สถาบันพัฒนาและฝึกอบรมโรงงานต้นแบบ ได้ทุนในการพัฒนางานวิจัยเรื่อง สถานภาพและการแพร่กระจายของนกยูงในภาคเหนือของประเทศไทย โดยเป็นการศึกษาสถานภาพ การกระจายและประชากรของนกยูงในพื้นที่จ.พะเยา การศึกษานี้จะช่วยให้ทราบจำนวนที่แน่นอนของนกยูง เพื่อนำไปสู่การจัดการดูแลสำหรับการท่องเที่ยวเชิงนิเวศและการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างเกษตรกรในพื้นที่กับประชากรนกยูง และคุณอูเดย์ พิมเพิล บัณฑิตวิทยาลัยร่วมด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม งานวิจัยเรื่อง การพัฒนาระบบติดตามป่าชายเลนอัตโนมัติโดยใช้คุณลักษณะการตอบสนองทางสรีรวิทยาต่อปัจจัยสิ่งแวดล้อม จะแสดงข้อมูลการการเปลี่ยนแปลงของระบบนิเวศป่าชายเลนที่แม่นยำด้วยเทคโนโลยีติดตามป่าชายเลน โดยมีต้นทุนที่ถูกลง ถือเป็นระบบตรวจสอบแรกๆ ที่จะแสดงถึงปฏิสัมพันธ์ระหว่างการวิจัยสิ่งแวดล้อมและป่าชายเลน และเป็นขั้นแรกในการพัฒนาต้นแบบสำหรับเครือข่ายสังเกตการณ์ป่าชายเลนทั่วประเทศไทย
อาซาฮีมอบ 6 ทุนวิจัยให้ 6 งานวิจัยเด่น มจธ.
 
อาซาฮีมอบ 6 ทุนวิจัยให้ 6 งานวิจัยเด่น มจธ.
อาซาฮีมอบ 6 ทุนวิจัยให้ 6 งานวิจัยเด่น มจธ.
 
 

ข่าวมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี+มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าวันนี้

มจธ. ยกทัพงานวิจัยโชว์นวัตกรรมพลังงานยั่งยืนระดับเอเชีย ในงาน ASEW 2025

ท่ามกลางกระแสการเปลี่ยนผ่านสู่พลังงานสะอาดและเป้าหมาย Net Zero ที่ทั่วโลกให้ความสำคัญ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) ตอกย้ำบทบาทผู้นำด้านนวัตกรรมและความยั่งยืน ด้วยการเข้าร่วมงาน ASIA Sustainable Energy Week 2025 (ASEW 2025) มหกรรมพลังงานที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในเอเชีย เป็นงานแสดงเทคโนโลยีและการประชุมนานาชาติระดับภูมิภาคเอเชีย ด้านพลังงานทดแทนและการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ระหว่างวันที่ 2 4 กรกฎาคม 2568 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ จัดโดยกระทรวงพลังงาน ร่วมกับอินฟอร์มา มาร์

"ไข่ปลาคาเวียร์จากพืช" นวัตกรรมอาหารแห่งอนาคต ฝีมือนักศึกษา มจธ. คว้าเหรียญทองระดับชาติ พร้อมลุยต่อตลาดโลก

ท่ามกลางกระแสความต้องการอาหารแห่งอนาคตที่ใส่ใจทั้งสุขภาพและสิ่งแวดล้อม กลุ่มนักศึกษาไทยจาก มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) ได้สร้างนวัตกรรมโปรตีนทางเลือกใหม่ที่น่าจับตามองอย่าง "ส...

ภายใต้หัวข้อ "Unlock Your Next Level: ทาง... GMI จัดงาน Open House 2025 ครั้งที่ 3 — ภายใต้หัวข้อ "Unlock Your Next Level: ทางลัดสู่การเติบโต เริ่มต้นที่ ป.โท บริหารธุรกิจ" บัณฑิตวิทยาลัยการจัดการ...

ศูนย์ส่งเสริมและสนับสนุนมูลนิธิโครงการหลว... มจธ.ขอเชิญส่งบทความเข้าร่วมงานประชุมวิชาการความรู้และการวิจัยเพื่อสังคมที่เท่าเทียม : KRIS2025 — ศูนย์ส่งเสริมและสนับสนุนมูลนิธิโครงการหลวงและโครงการตามพร...

นายมนู เลียวไพโรจน์ ประธาน อินฟอร์มา มาร์... อินฟอร์มาร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือจัดการประชุมนานาชาติ "Future Move Forum" — นายมนู เลียวไพโรจน์ ประธาน อินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ ประเทศไทย ร่วมลงนามบั...