สศก. แจงข้อมูลเอกภาพพืชเศรษฐกิจสำคัญ ข้าวนาปี-หอมแดง-ยาง-สับปะรด ภาคอีสาน

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

          นางสาวทัศนีย์ เมืองแก้ว รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะทำงานพัฒนาคุณภาพข้อมูลด้านพืชภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ครั้งที่ 1/2562 เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2562 ได้ให้การรับรองข้อมูลพืชเศรษฐกิจที่สำคัญใน 20 จังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (เลย หนองบัวลำภู อุดรธานี หนองคาย บึงกาฬ สกลนคร นครพนม มหาสารคาม ร้อยเอ็ด กาฬสินธุ์ ขอนแก่น สุรินทร์ บุรีรัมย์ ชัยภูมิ นครราชสีมา มุกดาหาร ยโสธร อำนาจเจริญ อุบลราชธานี และศรีสะเกษ) ประกอบด้วย
          ข้าวนาปี (ปีเพาะปลูก 2561/62) มีเนื้อที่เพาะปลูก 20 จังหวัดรวม 36,892,659 ไร่ เนื้อที่เก็บเกี่ยว 32,883,508 ไร่ ผลผลิตรวม 11,731,482 ตัน ผลผลิตเฉลี่ยต่อเนื้อที่เก็บเกี่ยว 357 กิโลกรัม/ไร่ (ณ ความชื้น 15 %) เมื่อเทียบกับปีเพาะปลูก 2560/61 พบว่า เนื้อที่เพาะปลูกเพิ่มขึ้นเล็กน้อยร้อยละ 1 ส่วนเนื้อที่เก็บเกี่ยวและผลผลิตเฉลี่ยต่อเนื้อที่เก็บเกี่ยวลดลงประมาณ ร้อยละ 2 ส่งผลให้ผลผลิตรวมลดลงร้อยละ 4 เนื้อที่เพาะปลูกเพิ่มขึ้นเล็กน้อย เนื่องมาจากภาครัฐมีมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร ผู้ปลูกข้าวปีการผลิต 2561/62 จึงทำให้มีการนำที่นารกร้าง และที่ว่างเปล่า กลับมาทำนาอีกครั้ง ในขณะที่สถานการณ์ภาวะ ฝนทิ้งช่วงต้นฤดูกาล มีน้ำไม่เพียงพอ และเกิดอุทกภัยหลายพื้นที่ช่วงเดือนกันยายน 2561 จึงทำให้ผลผลิตลดลง
          หอมแดง (ปีเพาะปลูก 2561/62) มีเนื้อที่เพาะปลูก 6 จังหวัด (ยโสธร อุบลราชธานี ศรีษะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ ชัยภูมิ) รวม 26,304 ไร่ เนื้อที่เก็บเกี่ยว 24,731 ไร่ ผลผลิตรวม 46,513 ตัน ผลผลิตเฉลี่ยต่อเนื้อที่เก็บเกี่ยว 1,768 กิโลกรัม/ไร่ เมื่อเทียบกับปีเพาะปลูก 2560/61 พบว่า เนื้อที่เพาะปลูกลดลงร้อยละ 3 เนื้อที่เก็บเกี่ยวลดลงร้อยละ 8 ผลผลิตเฉลี่ยต่อเนื้อที่เก็บเกี่ยวลดลง ร้อยละ 46 และผลผลิตรวมลดลงร้อยละ 48 โดยเนื้อที่เพาะปลูกลดลงเนื่องมาจากเกษตรกรหันไปขายเป็นต้นหอม ประกอบกับมีการเกิดโรคและเชื้อรารบกวนโดยเฉพาะในพื้นที่จังหวัดศรีษะเกษ ซึ่งเป็นแหล่งเพาะปลูกที่สำคัญส่งผลให้เนื้อที่เก็บเกี่ยว ผลผลิตต่อไร่ และผลผลิตรวมลดลง 
          ยางพารา ปี 2561 มีจำนวนเนื้อที่ยืนต้น 20 จังหวัดรวม 5,570,276 ไร่ เนื้อที่กรีด 4,641,348 ไร่ ผลผลิตรวม 1,030,364 ตัน ผลผลิตเฉลี่ยต่อเนื้อที่กรีด 222 กิโลกรัม/ไร่ เมื่อเทียบกับ ปี 2560 พบว่า เนื้อที่ยืนต้นเพิ่มขึ้นร้อยละ 3 เนื้อที่กรีดเพิ่มขึ้นร้อยละ 8 ผลผลิตรวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 10 และผลผลิตเฉลี่ยต่อเนื้อที่กรีดต่อไร่เพิ่มขึ้นร้อยละ 2 โดยเนื้อที่กรีดเพิ่มขึ้นเนื่องจากมีต้นยางพาราที่ปลูกในปี 2554 สามารถทำการเปิดกรีดได้แล้ว ประกอบกับปี 2561 ฝนไม่ตกชุกจึงไม่เป็นอุปสรรคในการกรีดยางพาราของเกษตรกร และส่วนใหญ่ต้นยางพาราอยู่ในช่วงอายุที่ให้อัตราน้ำยางเพิ่มขึ้น ผลผลิตต่อไร่และผลผลิตรวมเพิ่มขึ้น 
          สับปะรดโรงงาน ปี 2561 มีเนื้อที่เพาะปลูก 6 จังหวัด (เลย อุดรธานี หนองคาย บึงกาฬ นครพนม ชัยภูมิ) รวม 46,001 ไร่ เนื้อที่เก็บเกี่ยว 44,886 ไร่ ผลผลิตรวม 198,054 ตัน ผลผลิตเฉลี่ยต่อเนื้อที่เก็บเกี่ยว 4,412 กิโลกรัม/ไร่ เมื่อเทียบกับปี 2560 พบว่า เนื้อที่เพาะปลูกเพิ่มขึ้นร้อยละ 16 เนื้อที่เก็บเกี่ยวเพิ่มขึ้นร้อยละ 14 ผลผลิตรวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 11 ในขณะที่ผลผลิตเฉลี่ยต่อเนื้อที่เก็บเกี่ยวต่อไร่ลดลง ร้อยละ 3 โดยเนื้อที่เพาะปลูกและเนื้อที่เก็บเกี่ยวเพิ่มขึ้นเนื่องจากปี 2559 – กลางปี 2560 ราคาสับปะรดค่อนข้างดี เกษตรกรจึงมีการขยายพื้นที่ปลูกเพิ่ม ส่วนผลผลิตต่อไร่ลดลง เนื่องจากปี 2561 เกิดปัญหาสับปะรดราคาตก เกษตรกรจึงไม่ค่อยเอาใจใส่ดูแลบำรุงรักษา 
          นอกจากนี้ คณะทำงานฯ ยังได้เห็นชอบข้อมูลพืชชนิดอื่นๆ ได้แก่ กระเทียม ปี 2561/62 ปาล์มน้ำมัน ปี 2561 และ มันฝรั่ง ปี 2562 ซึ่งหลังจากนี้ คณะทำงานฯ จะนำเสนอข้อมูลต่อคณะอนุกรรมการพัฒนาคุณภาพข้อมูลด้านการเกษตรด้านพืช เพื่อพิจารณาในเดือนสิงหาคมนี้ ก่อนนำเสนอคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพข้อมูลด้านการเกษตรพิจารณาให้ความเห็นชอบเป็นข้อมูลเอกภาพของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พร้อมแจ้งให้ผู้ว่าราชการจังหวัดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปเผยแพร่และใช้ประโยชน์ ต่อไป สำหรับท่านที่สนใจข้อมูลพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สามารถสอบถามได้ที่สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 3 จังหวัดอุดรธานี โทร. 042 292 557 หรือ อีเมล [email protected]
สศก. แจงข้อมูลเอกภาพพืชเศรษฐกิจสำคัญ ข้าวนาปี-หอมแดง-ยาง-สับปะรด ภาคอีสาน
 
สศก. แจงข้อมูลเอกภาพพืชเศรษฐกิจสำคัญ ข้าวนาปี-หอมแดง-ยาง-สับปะรด ภาคอีสาน
สศก. แจงข้อมูลเอกภาพพืชเศรษฐกิจสำคัญ ข้าวนาปี-หอมแดง-ยาง-สับปะรด ภาคอีสาน
 
สศก. แจงข้อมูลเอกภาพพืชเศรษฐกิจสำคัญ ข้าวนาปี-หอมแดง-ยาง-สับปะรด ภาคอีสาน
 
 

ข่าวสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร+กระทรวงเกษตรและสหกรณ์วันนี้

ไทย - จีน จับมือสร้างความสัมพันธ์ พร้อมเปิดตลาดสินค้าด้านการเกษตร

ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังหารือร่วมกับ นายหานจื้อเฉียง เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำประเทศไทย (H.E. Mr. Han Zhiqiang) โดยมี ศาสตราจารย์ นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี นายเศรษฐเกียรติ กระจ่างวงษ์ รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมกรมวิชาการเกษตร นายสมชวน รัตนมังคลานนท์ อธิบดีกรมปศุสัตว์ นายฉันทานนท์ วรรณเขจร เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร นายปณิธาน มีไชยโย ผู้อำนวยการองค์การตลาดเพื่อเกษตรกร ผู้

นางธัญธิตา บุญญมณีกุล รองเลขาธิการสำนักงา... โครงการส่งเสริมการแปรรูปสินค้าเกษตรในระดับชุมชนสร้างอาชีพมั่นคง ต่อยอดมูลค่าผลิตผลทางการเกษตร — นางธัญธิตา บุญญมณีกุล รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร...

นางสาวกาญจนา ขวัญเมือง รองเลขาธิการสำนักง... ไทยส่งเสริมบทบาทสตรีในภาคเกษตร ผลักดันความมั่นคงด้านอาหารและโภชนาการ ในเวที CFS ครั้งที่ 51 — นางสาวกาญจนา ขวัญเมือง รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ...

สศก. ติดตามโครงการอ่างเก็บน้ำนฤบดินทรจินด... สศก. ติดตามโครงการอ่างเก็บน้ำนฤบดินทรจินดา — สศก. ติดตามโครงการอ่างเก็บน้ำนฤบดินทรจินดา แหล่งน้ำขนาดใหญ่ เพื่อเกษตรกรรม และระบบนิเวศครบครัน นายฉันทานนท์...

นายฉันทานนท์ วรรณเขจร เลขาธิการสำนักงานเศ... สศก. ขึ้นรับรางวัล 'Excellent Open Data Hub' หน่วยงานเปิดเผยชุดข้อมูลเปิดภาครัฐ โครงการ DIGI DATA AWARDS — นายฉันทานนท์ วรรณเขจร เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจ...

หุ้นนายหน้าประกันภัยต่อรายแรกของไทย…อนาคต... ผู้บริหาร TQR ขยันสุดๆ — หุ้นนายหน้าประกันภัยต่อรายแรกของไทย…อนาคตสดใส ต้องยกให้กับ บมจ.ที คิว อาร์ (TQR) เดินหน้าคิดค้นผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ อยู่ตลอดเวลา...

ดร.อัญชลิน พรรณนิภา ประธานกรรมการ บริษัท ... TQM ร่วมมอบประกันอุบัติแก่เกษตรกรไทย ในโครงการ "คุ้มครองอุบัติเหตุ เซฟเกษตรอาสา" — ดร.อัญชลิน พรรณนิภา ประธานกรรมการ บริษัท ทีคิวเอ็ม คอร์ปอเรชั่น จำกัด (...