ไขทุกข้อข้องใจ ! ฉีดฟิลเลอร์ vs ฉีดไขมัน แตกต่างกันอย่างไร ?

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

          ในวงการแพทย์ยุคปัจจุบันการนำสารไฮยาลูรอนิค แอซิด (ฟิลเลอร์) หรือที่เรียกว่าสารเติมเต็ม มาใช้รักษาริ้วรอยความเสื่อมของร่างกายโดยเฉพาะบริเวณใบหน้าเป็นเรื่องปกติทั่วไป แต่ที่สำคัญนอกจากจะใช้สารเติมเต็มแล้ว ยังมีการนำไขมันของร่างกายของตนเองมาฉีดบริเวณใบหน้า เพื่อลบริ้วรอยให้ดูอ่อนเยาว์ สมาคมแพทย์ผิวหนังแห่งประเทศไทย จึงขอไขข้อกระจ่างในเรื่องนี้ว่า ฉีดฟิลเลอร์ vs ฉีดไขมัน แตกต่างกันยังไง ? แบบไหนจะเหมาะสมกว่ากัน 
          การฉีดฟิลเลอร์หรือสารเติมเต็มในปัจจุบันเป็นที่นิยมมาก ๆ โดยเฉพาะในช่วงระยะเวลา 5 ปีที่ผ่านมา น่าจะมีคนไข้เข้ารับการรักษาพยาบาลตามคลินิก สถานพยาบาลและโรงพยาบาลเพิ่มขึ้นเกิน 3 เท่า ฟิลเลอร์ที่นิยมเลือกใช้มีให้เลือกหลายแบบ คือ 1. ฟิลเลอร์ที่มีผลระยะสั้น ๆ ส่วนใหญ่จะมีอายุไม่เกิน 6 เดือน 2.ฟิลเลอร์ที่มีอายุการใช้งานกลาง ๆ ประมาณ 6 เดือน ถึง 2 ปี และ 3.ฟิลเลอร์ที่อยู่แบบถาวร จะเป็นพวกพาราฟิน ซิลิโคนเหลว แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น จะต้องเข้าใจก่อนว่าฟิลเลอร์ที่อยู่แบบถาวร ยังไม่ได้รับการรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาหรือ อย. ดังนั้นเมื่อฉีดฟิลเลอร์แบบถาวร หากเกิดผลข้างเคียงก็จะเกิดผลข้างเคียงกับร่างกายแบบถาวรเช่นกัน เช่น มีอาการเริ่มบวมแดง อักเสบ ไม่นานก็จะเป็นเหมือนไหลย้อย คางย้อย จมูกย้อย ทำให้ผิดรูปต้องไปแก้ไขแก้ปัญหาต่อไป
          การฉีดไขมันแตกต่างจากฟิลเลอร์ ต่างกันอย่างไร? จริง ๆ ไขมันก็เป็นสารเติมเต็มชนิดหนึ่ง ที่สามารถจะฉีดในตำแหน่งที่ฟิลเลอร์นั้นฉีดได้ โดยที่ไขมันส่วนใหญ่จะถือว่าเป็นฟิลเลอร์ชนิดกึ่งถาวร ข้อดีของการฉีดไขมันคือ ไขมันเป็นสารจากร่างกายของคนไข้เอง มักจะไม่ค่อยมีปฏิกิริยาใด ๆ กับคนไข้ และไม่มีการต่อต้านใด ๆ กับร่างกาย อีกทั้งยังสามารถฉีดได้ในปริมาณมากเกินกว่า 10 มิลลิลิตรต่อครั้ง แต่ข้อเสียของการฉีดไขมันคือ จะต้องมีแผลในตำแหน่งที่มีการดูดไขมันมาเพื่อฉีด โดยไขมันที่นำมาฉีดนั้นมักจะดูดไขมันจากบริเวณหน้าท้องหรือต้นขา เนื่องจากเป็นบริเวณที่มีไขมันอยู่มาก และดูแลแผลค่อนข้างง่าย ภายหลังการฉีดไขมันจะมีอาการบวมอยู่นานกว่าการฉีดฟิลเลอร์ เนื่องจากต้องใช้ปริมาณไขมันมากกว่าในการฉีด และพอเวลาผ่านไปเรื่อย ๆ ไขมันส่วนที่ไม่ติดก็จะสลายไปตามธรรมชาติและส่วนที่เหลือก็จะอยู่กับร่างกายเราเหมือนเดิม 
          หลักการในการเลือกว่าจะฉีดฟิลเลอร์หรือฉีดไขมันก็คือ คนไข้ที่ต้องการใช้สารเติมเต็มในปริมาณน้อย ๆ การฉีดฟิลเลอร์อาจจะคุ้มกว่าและสะดวกกว่า แต่หากเป็นการใช้ไขมัน จะต้องมีกระบวนการเพิ่มขึ้น คือจะต้องมีการมาดูดไขมันออกมาก่อน คนไข้ก็จะมีแผล 2 จุด จุดแรก คือจุดที่เอาไขมันออก และ จุดที่ 2 คือ จุดที่เราฉีดเข้าไป แต่ข้อดีของการฉีดไขมัน คือ คนไข้อาจจะต้องการเอาไขมันส่วนเกินตรงบริเวณนั้นออกพอดี และนำมาเสริมส่วนที่ต้องการฉีดอีกจุดหนึ่งแทนได้ ดังนั้นถ้าจะคุ้มกับการฉีดไขมัน คนไข้คนนั้นจะต้องการปริมาณฟิลเลอร์เกิน 10 ซีซี ขึ้นไป ตรงนี้ถึงจะคุ้มกับการฉีดไขมัน ดังนั้นการดูดไขมันออกมาใช้อาจจะคุ้มค่ากว่า 
          "สิ่งสำคัญ คือผู้บริโภคต้องเข้าใจก่อนว่าฟิลเลอร์ ที่ได้รับการรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาหรือ อย.ในปัจจุบันคือ สารไฮยาลูรอนิค แอซิด เพียงชนิดเดียว แต่หากมีข้อเสนอให้มีการฉีดคอลลาเจน ฉีดซิลิโคนหรือสารเติมเต็มชนิดอื่น ๆ ที่ไม่ใช่สารไฮยาลูรอนิค แอซิด นั้นถือว่าไม่ควรจะทำ เพราะว่าไม่ปลอดภัย ส่วนสำหรับการฉีดไขมัน ถ้าคนไข้ต้องการฉีดฟิลเลอร์หรือสารเติมเต็มในปริมาณมาก ๆ หรือไม่กังวลเกี่ยวกับอาการบวมและการดูแลพักรักษาตัวก่อน ในช่วงหลังจากทำการใช้สารเติมเต็ม ที่มาจากตัวเอง ก็เป็นทางเลือกอีกทางหนึ่ง"

ไขทุกข้อข้องใจ ! ฉีดฟิลเลอร์ vs ฉีดไขมัน แตกต่างกันอย่างไร ?
ไขทุกข้อข้องใจ ! ฉีดฟิลเลอร์ vs ฉีดไขมัน แตกต่างกันอย่างไร ?
ไขทุกข้อข้องใจ ! ฉีดฟิลเลอร์ vs ฉีดไขมัน แตกต่างกันอย่างไร ?


ข่าวสมาคมแพทย์ผิวหนังแห่งประเทศไทย+สมาคมแพทย์ผิวหนังวันนี้

สมาคมแพทย์ผิวหนังฯ จัดงานประชุมกลางปี 2565 "Back to The Future In Practical Dermatology"

สมาคมแพทย์ผิวหนังแห่งประเทศไทย ขอเชิญแพทย์ผู้สนใจที่เป็นสมาชิกสมาคมแพทย์ผิวหนังแห่งประเทศไทย ทั้งในส่วนราชการและเอกชนเข้าร่วมการประชุมวิชาการ "การประชุมกลางปี 2565" ในวันที่ 16 กันยายน 2565 ตั้งแต่เวลา 07.00-17.30 น. ณ ชั้น 23 โรงแรมเซ็นทารา เซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพฯ ราชประสงค์โดยการประชุมครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำความรู้และเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาพัฒนาการศึกษาค้นคว้าวิจัยที่เป็นประโยชน์ต่อแพทย์สมาชิก ให้ดียิ่งขึ้นต่อไป ตลอดจนเพื่อเพิ่มพูนความรู้ความชำนาญ สาขาตจวิทยา ในด้านเวชปฏิบัติ

ปัจจุบันในสถานการณ์ที่มีการระบาดอย่างรุนแ... 7 คำถามของโรคสะเก็ดเงินกับโควิด-19 — ปัจจุบันในสถานการณ์ที่มีการระบาดอย่างรุนแรงของโควิด19 ทำให้มีคำถามจากผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงินหลากหลายประเด็น จึงขอเลือก...

สวัสดีครับ หมอเชื่อว่า หลายท่านน่าจะรู้จั... รู้จักลมพิษให้ดีขึ้น — สวัสดีครับ หมอเชื่อว่า หลายท่านน่าจะรู้จักหรือเคยได้ยินข้อมูลเกี่ยวกับลมพิษกันมาบ้างแล้วนะครับ สำหรับในวันที่ 1 ตุลาคม ของทุก ๆ ปี...

สมาคมแพทย์ผิวหนังแห่งประเทศไทย ขอเชิญแพทย... สมาคมแพทย์ผิวหนังฯ เชิญแพทย์ เข้าร่วมงานDST Mid-Year Meeting 2021 — สมาคมแพทย์ผิวหนังแห่งประเทศไทย ขอเชิญแพทย์ผู้สนใจที่เป็นสมาชิกสมาคมแพทย์ผิวหนังแห่งป...

โรคสะเก็ดเงินที่เล็บ (nail psoriasis) เป็... โรคสะเก็ดเงินที่เล็บ — โรคสะเก็ดเงินที่เล็บ (nail psoriasis) เป็นความผิดปกติของเล็บที่พบในโรคสะเก็ดเงิน อาจมีอาการเป็นเฉพาะที่...

แม้ว่าโรคโควิด-19 จะเป็นโรคที่เกี่ยวข้องก... โรคโควิด-19 กับอาการทางผิวหนังที่ไม่ควรมองข้าม (ตอนที่ 1) — แม้ว่าโรคโควิด-19 จะเป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินหายใจเป็นหลัก แต่ก็อาจทำให้เกิดความผิดปก...

แม้ว่าโรคโควิด-19 จะเป็นโรคที่เกี่ยวข้องก... โรคโควิด-19 กับอาการทางผิวหนังที่ไม่ควรมองข้าม (ตอนที่ 1) — แม้ว่าโรคโควิด-19 จะเป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินหายใจเป็นหลัก แต่ก็อาจทำให้เกิดความผิดปก...