กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) แนะเทคนิคการดูแล – เติมก๊าซรถยนต์ อย่างปลอดภัย โดยเลือกใช้น้ำมันเครื่องที่ทนความร้อนจากการเผาไหม้สูง รักษาระดับน้ำมันเชื้อเพลิงให้อยู่ 1 ใน 4 ส่วนของถัง สตาร์ทเครื่องยนต์ด้วยน้ำมันเชื้อเพลิง ไม่ปรับแต่งการจ่ายก๊าซหรือดัดแปลงอุปกรณ์ระบบก๊าซด้วยตนเอง รวมถึงเลือกใช้บริการจากสถานีบริการก๊าซที่ได้มาตรฐาน เพื่อลดความเสี่ยงอันตรายจากการใช้งานรถติดตั้งระบบก๊าซ
นายชยพล ธิติศักดิ์ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) กล่าวว่า ปัจจุบันประเทศไทยมีรถ ที่ติดตั้งระบบก๊าซเป็นจำนวนมาก ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษ เนื่องจากอุปกรณ์ประจำรถไม่ได้ถูกผลิตให้ทนต่อความร้อนจากการเผาไหม้ของก๊าซ จึงเสื่อมสภาพเร็วกว่าปกติ ประกอบกับการเติมก๊าซไม่ถูกวิธี อาจเป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดอันตรายได้ เพื่อความปลอดภัย กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ขอแนะเทคนิคการดูแล – เติมก๊าซรถยนต์อย่างปลอดภัย ดังนี้ การดูแลรถติดตั้งระบบก๊าซ ควรเลือกใช้น้ำมันเครื่องที่ทนความร้อนจากการเผาไหม้สูง พร้อมเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องและทำความสะอาดไส้กรองให้บ่อยขึ้น รักษาระดับน้ำมันเชื้อเพลิงให้อยู่ 1 ใน 4 ส่วนของถัง เพื่อช่วยหล่อเลี้ยงเครื่องยนต์และป้องกันไม่ให้ถังน้ำมันและเครื่องยนต์เสื่อมสภาพ สตาร์ทเครื่องยนต์ด้วยน้ำมันเชื้อเพลิง เพื่อให้ระบบหัวฉีดน้ำมันทำงาน จะช่วยรักษาประสิทธิภาพของเครื่องยนต์ รวมถึงไม่ปรับแต่งการจ่ายก๊าซหรือดัดแปลงอุปกรณ์ระบบก๊าซด้วยตนเอง เพราะอาจทำให้เครื่องยนต์เสียหายหรือทำงานผิดปกติ ก่อให้เกิดอันตรายได้ นอกจากนี้ ควรเติมก๊าซอย่างถูกวิธี โดยเลือกใช้บริการจากสถานีบริการก๊าซที่ได้มาตรฐาน พร้อมปฏิบัติตามป้ายเตือนอย่างเคร่งครัด ดับเครื่องยนต์และลงจากรถยนต์ เนื่องจากขณะเติมก๊าซ ถังก๊าซจะยืดและหดตัวจากแรงดันของเครื่องอัดก๊าซ ทำให้ถังก๊าซ เสี่ยงต่อการระเบิด ที่สำคัญ ห้ามก่อประกายไฟบริเวณที่เติมก๊าซ เพราะหากมีก๊าซรั่วอาจทำให้เกิดระเบิดและเพลิงไหม้รถได้ สำหรับการเติมก๊าซควรเติมไม่เกินร้อยละ 80 ของความจุถังจะช่วยยืดอายุการใช้งานและลดความเสี่ยงต่อการระเบิด รวมถึง ไม่เติมก๊าซผิดประเภท เพราะถังก๊าซถูกออกแบบมาสำหรับใช้กับก๊าซระบบใดระบบหนึ่งเท่านั้น ทั้งนี้ หากพบว่าเครื่องยนต์ทำงานผิดปกติ อาทิ มีเสียงดัง เครื่องยนต์สั่น เร่งเครื่องไม่ขึ้น ไม่ตัดเข้าระบบก๊าซ ให้นำรถไปให้ช่างผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบระบบทันที
บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) หรือ NT ร่วมกับ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทดสอบระบบแจ้งเตือนภัยพิบัติผ่านเทคโนโลยี Cell Broadcast เป็นครั้งแรกของประเทศในลักษณะเสมือนจริงในพื้นที่ระดับเล็ก ภายในอาคารและบริเวณโดยรอบ ประกอบด้วย ศาลากลางจังหวัดเชียงราย ศาลากลางจังหวัดสุพรรณบุรี ศาลากลางจังหวัดอุบลราชธานี ศาลากลางจังหวัดสงขลา และอาคารศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา กรุงเทพมหานคร โดยผลการทดสอบเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถส่งข้อความแจ้งเตือนไปยัง
NT ยืนยันความพร้อม ร่วมทดสอบระบบแจ้งเตือนภัย Cell Broadcast ในพื้นที่จริง
—
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้...
ชไนเดอร์ อิเล็คทริค แนะ 7 วิธี เช็กระบบไฟฟ้า เพิ่มความปลอดภัย รับมือหยุดยาวเทศกาลสงกรานต์
—
ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ผู้นำด้านดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่น ในการจัดก...
'ภัยแล้ง' ทีม SEhRT กรมอนามัย-สสจ.-ท้องถิ่น เตรียมพร้อมรับมือพื้นที่ขาดแคลนน้ำ
—
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข มอบทีม SEhRT ประสานภารกิจร่วมกับสำนักงานสาธารณ...
สงกรานต์นี้ เดินทางอย่างไร้กังวล! FWD ประกันชีวิต แจกประกันอุบัติเหตุฟรี 30,000 สิทธิ์
—
เทศกาลสงกรานต์เป็นช่วงเวลาแห่งความสุขและการเดินทาง เพื่อช่วยลดควา...
กทม. เดินหน้ากำจัดปลาหมอคางดำ ลดผลกระทบเกษตรกร-แปรรูปสร้างรายได้
—
นางสาวกาญจนา ภูพิพัฒน์ผล รองผู้อำนวยการสำนักพัฒนาสังคม รักษาราชการแทนผู้อำนวยการสำนักพั...
กทม. เร่งถ่ายเทไหลเวียนน้ำในคลองช่องนนทรี เตรียมขุดลอกดินเลน-ทำความสะอาดท่อลอด
—
นายเจษฎา จันทรประภา ผู้อำนวยการสำนักการระบายน้ำ (สนน.) กทม. กล่าวชี้แจงกร...
มท.1 มอบโฉนดที่ดินให้แก่ประชาชน ตามโครงการ "มอบโฉนดที่ดินทั่วไทย นำสุขคลายทุกข์ให้ประชาชน" ในพื้นจังหวัดกาญจนบุรี
—
นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและ...