องค์กรธุรกิจที่ไม่สามารถกู้คืนข้อมูลหลังเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด มีจำนวนสูงถึงเกือบ 2 เท่าจากปี 2016 ตามรายงานจากดัชนีการปกป้องข้อมูลทั่วโลก ที่สำรวจผู้มีอำนาจตัดสินใจด้านไอทีจำนวน 2,200 รายจาก 18 ประเทศ
- องค์กรธุรกิจ มี
การบริหารจัดการข้อมูลในปี 2018 โดยเฉลี่ยที่ 9.70PB ซึ่งแสดงถึงการเติบโตอย่างมหาศาลถึง 569 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับปริมาณที่มีการบริหารจัดการในปี 2016 ที่ 1.45PB
- 92 เปอร์เซ็นต์ของธุรกิจในทั่วโลก ยอมรับข้อมูลเป็นสิ่งที่มีคุณค่าต่อการ
ดำเนินธุรกิจขององค์กร โดยองค์กร 36 เปอร์เซ็นต์ สามารถทำเงินจากข้อมูลได้แล้ว
- 76 เปอร์เซ็นต์ของผู้ร่วมการสำรวจ เล็งเห็นและรับรู้ถึงการเติบโตอย่างรวดเร็วของข้อมูลภายใน 12 เดือนที่ผ่านมา และ 27เปอร์เซ็นต์ มีประสบการณ์ข้อมูลสูญหายยากที่จะกู้คืนได้ คิดเป็นจำนวนเกือบสองเท่าของ 14 เปอร์เซ็นต์ในปี 2016
- กว่า 3 ใน 4 (35 เปอร์เซ็นต์) ของผู้ตอบสำรวจ มั่นใจมากว่าระบบโครงสร้างด้านการปกป้องข้อมูลขององค์กรตนทำงานได้สอดคล้องตามกฏระเบียบที่มี แต่มีเพียง 16 เปอร์เซ็นต์ ที่เชื่อว่าโซลูชันด้านการปกป้องข้อมูลของตนจะรองรับความท้าทายในอนาคตได้ทั้งหมด
- เกือบครึ่ง (45 เปอร์เซ็นต์) ของผู้เข้าร่วมการสำรวจกำลังพยายามหาโซลูชันด้านการปกป้องข้อมูลที่เหมาะกับเทคโนโลยีใหม่ๆ เช่น ปัญญาประดิษฐ์ และ แมชชีน เลิร์นนิ่ง
เดลล์ อีเอ็มซี เผยผลการสำรวจเกี่ยวกับดัชนีการปกป้องข้อมูลทั่วโลก (Global Data Protection Index) โดยจัดทำขึ้นเป็นครั้งที่ 3 ซึ่งแสดงให้เห็นถึงอัตราเติบโตอย่างรวดเร็วของข้อมูลที่สูงถึง 569 เปอร์เซ็นต์ และผู้ที่นำระบบปกป้องข้อมูลมาใช้ มีอัตราเพิ่มแบบก้าวกระโดด สูงถึงเกือบ 50เปอร์เซ็นต์ตั้งแต่ปี 2016 โดยงานวิจัยครั้งนี้ได้มีการสำรวจผู้มีอำนาจตัดสินใจด้านไอทีจำนวน 2,200 รายจากองค์กรภาครัฐฯ และเอกชนที่มีพนักงาน 250 คนขึ้นไป ครอบคลุม 18 ประเทศและ 11 อุตสาหกรรม เพื่อให้ความเข้าใจที่ครบถ้วนเกี่ยวกับการปกป้องข้อมูลและการเติบโตของกลยุทธ์ด้านการปกป้องข้อมูล โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ดัชนีดังกล่าวได้เปิดเผยถึงปริมาณข้อมูลที่มีการบริหารจัดการซึ่งมีจำนวนเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ย จาก1.45 เพตะไบต์ (PB) ในปี 2016 เป็น 9.70PB ในปี 2018 พร้อมการตระหนักถึงคุณค่าของข้อมูลอย่างจริงจัง จากข้อเท็จจริง มีผู้ตอบสำรวจจำนวน92 เปอร์เซ็นต์ มองเห็นความเป็นไปได้ในการสร้างคุณค่าจากข้อมูล และ 36 เปอร์เซ็นต์ สามารถทำเงินจากข้อมูลได้แล้ว ในขณะที่การรับรู้เป็นไปในทิศทางที่ดี ผู้ตอบสำรวจส่วนใหญ่ก็กำลังพยายามหาทางปกป้องข้อมูลอย่างถูกต้องและเหมาะสม การผสมผสานกันขององค์ประกอบเหล่านี้เป็นปัจจัยผลักดันผลลัพธ์ของการสำรวจในหลายประเด็นด้วยกัน
องค์กรสูญเสียโอกาสในการดำเนินธุรกิจคิดเป็นมูลค่ามหาศาลเมื่อเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด
ปริมาณข้อมูลที่มาก และความสำคัญของข้อมูลต่อการดำเนินธุรกิจ ทำให้การปกป้องข้อมูลมีความท้าทายมากยิ่งขึ้น เหตุการณ์ที่ทำให้เกิดความขัดข้องเกิดบ่อยขึ้น แต่สิ่งที่น่าตระหนักมากขึ้น ก็คือจำนวนข้อมูลที่สูญหายและไม่สามารถกู้คืนได้มีมากขึ้น มีผู้ตอบสำรวจจำนวนมากกว่า 3 ใน 4 (76 เปอร์เซ็นต์) ในทั่วโลกที่มีประสบการณ์เกี่ยวกับเหตุการณ์ความขัดข้องบางประเภทภายในช่วงเวลา 12 เดือน และ 27 เปอร์เซ็นต์ ไม่สามารถใช้โซลูชันด้านการปกป้องข้อมูลที่มีอยู่กู้คืนข้อมูลโดยได้ นับเป็นอัตราการเพิ่มเกือบสองเท่า (14 เปอร์เซ็นต์) ของปี 2016
ผลสำราจพบว่า ผู้ตอบสำรวจจำนวน 76 เปอร์เซ็นต์ ทั่วโลก ต่างใช้ระบบปกป้องข้อมูลจากอย่างน้อย 2 โซลูชัน ที่แตกต่างกัน ซึ่งทำให้ 35เปอร์เซ็นต์มีแนวโน้มว่าเคยมีประสบการณ์เกี่ยวกับความขัดข้องบางประเภทระหว่างช่วงระยะเวลา 12 เดือน เมื่อเทียบกับรายที่ใช้โซลูชันเดียว การที่ระบบเกิดดาวน์ไทม์โดยไม่ได้วางแผนล่วงหน้า นับเป็นความขัดข้องที่เกิดขึ้นมากที่สุดสำหรับองค์กรที่ใช้ระบบปกป้องข้อมูล 2 โซลูชัน ตามมาด้วยการโจมตีด้วยมัลแวร์เรียกค่าไถ่ (ransomware attack) ซึ่งป้องกันไม่ให้เข้าถึงข้อมูล (32 เปอร์เซ็นต์) รวมถึงทำให้ข้อมูลสูญหาย (29เปอร์เซ็นต์)
แม้ว่าการเกิดดาวน์ไทม์ของระบบโดยไม่ได้วางแผน มีให้เห็นมากขึ้นก็ตาม แต่การสูญเสียข้อมูลนั้นมีราคาแพงยิ่งกว่า ตัวอย่างคือ บรรดาผู้ที่ต้องเผชิญหน้ากับดาวน์ไทม์ต่างมีประสบการณ์เกี่ยวกับการดาวน์ไทม์โดยเฉลี่ยอยู่ที่ 20 ชั่วโมงภายใน 12 เดือนที่ผ่านมา คิดเป็นค่าใช้จ่าย 526,845เหรียญสหรัฐ ในขณะที่ผู้ที่ข้อมูลสูญหายเฉลี่ยอยู่ที่ 2.13 เทราไบต์ ซึ่งคิดเป็นมูลค่าอยู่ที่เกือบ 1 ล้านเหรียญสหรัฐ นอกจากนี้ ผู้ที่มีประสบการณ์ความขัดข้องหลายราย ยังชี้ถึงผลกระทบต่อธุรกิจที่มากกว่านั้น จากการที่ลูกค้าเสียความเชื่อมั่นในคุณค่าของแบรนด์ และส่งผลกระทบถึงประสิทธิผลของพนักงาน และอื่นๆ อีกมากมาย
นอกจากปริมาณข้อมูลที่สูญหายจะมีราคาแพงแล้ว คุณค่าของข้อมูลเป็นสิ่งที่มีราคาแพงเช่นกัน สิ่งที่เห็นได้ชัดคือองค์กรจำนวนมากคิดเป็น 81เปอร์เซ็นต์ กล่าวว่าการปกป้องข้อมูลเป็นเรื่องที่ต้องให้ความใส่ใจอย่างจริงจังโดยเฉพาะข้อมูลประเภทที่ให้คุณค่าในการสร้างเม็ดเงินได้มากที่สุด
ความท้าทายด้านการปกป้องข้อมูล
ในขณะที่ผู้ที่ถูกจัดประเภทว่าเป็น adopters ที่เริ่มนำระบบปกป้องข้อมูลมาใช้ จะมีจำนวนเพิ่มสูงขึ้นเกือบ 50 เปอร์เซ็นต์ (จาก 9 เปอร์เซ็นต์ ในปี2016 เป็น 57 เปอร์เซ็นต์ในปี 2018) และ leaders หรือผู้ที่เป็นผู้นำในการใช้งาน มีอัตราเพิ่มขึ้น 10 เปอร์เซ็นต์ (จาก 2 เปอร์เซ็นต์ ในปี 2016 เป็น12 เปอร์เซ็นต์ในปี 2018) ธุรกิจส่วนใหญ่ก็ยังพยายามหาทางติดตั้งโซลูชันที่ตอบโจทย์ความต้องการได้อย่างเพียงพอ โดยผู้ตอบสำรวจส่วนใหญ่(95 เปอร์เซ็นต์) ต้องเผชิญกับความท้าทายด้านการปกป้องข้อมูลอย่างน้อย 1 ประการ ซึ่งความท้าทายหลัก 3 ประการที่เจอทั่วโลก ได้แก่
1. ความซับซ้อนของการตั้งค่าและจัดการกับฮาร์แวร์/ซอฟต์แวร์ด้านการปกป้องข้อมูล และค่าใช้จ่ายที่บานปลายในการจัดเก็บและบริหารจัดการกับข้อมูลสำรองอันเนื่องมาจากการเติบโตอย่างรวดเร็วของข้อมูลที่เป็นความท้าทายอันดับแรกอยู่ที่ 46 เปอร์เซ็นต์
2. การขาดโซลูชันด้านการปกป้องข้อมูลสำหรับเทคโนโลยีเกิดใหม่ ถูกจัดเป็นอันดับสอง อยู่ที่ 45 เปอร์เซ็นต์
3. การทำให้มั่นใจว่ามีการบังคับใช้งานข้อมูลตามกฏระเบียบ เช่น GDPR ถูกจัดเป็นอันดับสาม อยู่ที่ 41 เปอร์เซ็นต์
สำหรับบรรดาองค์กรที่กำลังพยายามอย่างยิ่งในการหาโซลูชันด้านการปกป้องข้อมูลสำหรับเทคโนโลยีใหม่ๆ กว่าครึ่ง (51 เปอร์เซ็นต์) กล่าวว่าไม่สามารถหาโซลูชันปกป้องข้อมูลที่เหมาะสำหรับ AI และ ML ตามด้วยแอปพลิเคชันที่ใช้บนคลาวด์ (47 เปอร์เซ็นต์) และ IoT (40 เปอร์เซ็นต์) ความท้าทายที่มาจากเทคโนโลยีเกิดใหม่ และการเติบโตอย่างรวดเร็วของข้อมูล เป็นเพียงจุดเริ่มต้นเท่านั้น เพราะมี 16 เปอร์เซ็นต์ที่เชื่อว่าโซลูชันด้านการปกป้องข้อมูลปัจจุบันจะสามารถตอบโจทย์ความท้าทายด้านธุรกิจทั้งหมดในอนาคตได้
คลาวด์กำลังเปลี่ยนภาพการปกป้องข้อมูล
จากดัชนีการปกป้องข้อมูลทั่วโลก (Global Data Protection Index) การนำพับบลิคคลาวด์มาใช้ในสภาพแวดล้อมไอทีขององค์กรที่ตอบสำรวจ มีอัตราเพิ่มขึ้นจาก 28 เปอร์เซ็นต์ในปี 2016 เป็น 40 เปอร์เซ็นต์ในปี 2018 โดยเฉลี่ย องค์กรเกือบทั้งหมด ที่ใช้พับบลิคคลาวด์ (98 เปอร์เซ็นต์) ยังใช้คลาวด์เป็นส่วนหนึ่งของระบบโครงสร้างด้านการปกป้องข้อมูลด้วยเช่นกัน กรณีการใช้งานหลักๆ สำหรับการปกป้องข้อมูลบนพับบลิคคลาวด์ ได้แก่
1. บริการ backup/snapshot เพื่อปกป้องเวิร์กโหลดบนพับบลิคคลาวด์ที่ใช้สถาปัตยกรรมแอปพลิเคชันแบบใหม่ (41 เปอร์เซ็นต์)
2. การทำแบ็กอัพสำหรับเวิร์กโหลด/ข้อมูล ณ ไซต์งาน (41 เปอร์เซ็นต์)
3. ปกป้องแอปฯ SaaS โดยเฉพาะ (40 เปอร์เซ็นต์)
4. ซอฟต์แวร์ปกป้องข้อมูล ณ ไซต์งานเวอร์ชั่นที่ใช้บนคลาวด์ เพื่อปกป้องเวิร์กโหลดบนพับบลิคคลาวด์ (40 เปอร์เซ็นต์)
5. บริการ backup/snapshot เพื่อปกป้องเวิร์กโหลดบนพับบลิคคลาวด์ที่ใช้สถาปัตยกรรมแอปพลิเคชันแบบดั้งเดิม (38 เปอร์เซ็นต์)
เมื่อพิจารณาโซลูชันด้านการปกป้องข้อมูลในสภาพแวดล้อมพับบลิคคลาวด์ การเติบโตของข้อมูลทั้งหมดในโลกมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งโดยเฉพาะ เนื่องจาก 64 เปอร์เซ็นต์ของผู้ตอบสำรวจต่างระบุว่าทางเลือกด้านการขยายขีดความสามารถของระบบเป็นเรื่องสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง 41 เปอร์เซ็นต์อ้างถึงผลกระทบของระบบโครงสร้างหรือบริการด้านการปกป้องข้อมูล ที่จำเป็นต้องรองรับการขยายการปกป้องได้ ในขณะที่ 40 เปอร์เซ็นต์ อ้างถึงความสามารถในการขยายขอบเขตการบริการในกรณีที่มีเวิร์กโหลดบนพับบลิคคลาวด์เพิ่มขึ้น
กฏระเบียบเป็นอุปสรรคที่ขัดขวางการพัฒนา
กฏระเบียบด้านความเป็นส่วนตัวของข้อมูล เช่น กฏหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของพลเมืองที่อยู่ในเขตสหภาพยุโรป (GDPR) ค่อนข้างเป็นเรื่องใหม่ และสร้างผลกระทบอย่างแท้จริงต่ออุตสาหกรรมข้อมูล ซึ่งคนยังไม่ค่อยตระหนักกันดี อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้ได้กลายเป็นประเด็นสำคัญอย่างรวดเร็วเนื่องจากการบังคับใช้งานที่สอดคล้องตามกฏระเบียบถูกจัดให้เป็นความท้าทายด้านการปกป้องข้อมูลสำคัญ 3 อันดับต้นจากผู้ตอบสำรวจจำนวน 14 เปอร์เซ็นต์
ยิ่งไปกว่านั้นคือ มีเพียง 35 เปอร์เซ็นต์ที่มั่นใจว่า ระบบโครงสร้างด้านการปกป้องข้อมูลขององค์กรตน รวมไปถึงกระบวนการต่างๆนั้น สอดคล้องตามกฏระเบียบในภูมิภาคที่มีการบังคับใช้ในปัจจุบัน และอย่างน้อย 12 เปอร์เซ็นต์ของผู้ตอบสำรวจที่อยู่ในองค์กรที่เคยมีประสบการณ์ข้อมูลสูญหายหรือเกิดดาวน์ไทม์แบบไม่ได้ตั้งใจ ภายใน 12 เดือนที่ผ่านมา รายงานถึงผลที่ได้รับคือต้องจ่ายค่าปรับจากเหตุการณ์ดังกล่าว