ภาพข่าว: วิศวะฯ ธรรมศาสตร์ คว้า 8 รางวัลจากการประกวดงานวิจัยและนวัตกรรม เจนีวา ครั้งที่ 47

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

          ผศ.ดร.ทิพบุษฏ์ เอกแสงศรี รองคณบดีฝ่ายบริหาร คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (TSE) แสดงความยินดีกับอาจารย์และนักศึกษาของคณะ ในโอกาสที่สามารถคว้า 8 รางวัลอันทรงเกียรติ จากการส่งผลงานเข้าร่วมการประกวดนวัตกรรมนานาชาติ ครั้งที่ 47 ณ นครเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส โดยมีผลงานจากประเทศต่างๆ เข้าร่วมแข่งขัน 40 ประเทศทั่วโลก ซึ่งผลงานที่ได้รับรางวัลสูงสุดคือ รางวัล Gold Medal จำนวน 1 ผลงาน ได้แก่ อุปกรณ์อินเทอร์เน็ตในทุกสิ่งที่สามารถตรวจจับแรงกระแทกจากการชนและสามารถขอความช่วยเหลือได้โดยอัตโนมัติ หรือ เอสซิท (SCIT) 
          รองลงมาคือรางวัล Silver Medal จำนวน 3 ผลงาน รางวัล Bronze Medal จำนวน 2 ผลงาน และยังมีรางวัล Special Prize อีกจำนวน 2 ผลงาน ซึ่งสะท้อนความเป็นเลิศด้านวิศวกรรมแห่งอนาคต ในโอกาสครบรอบ 30 ปีของคณะฯ เมื่อเร็วๆนี้ 
          ณ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต โดยสามารถติดตามข่าวสารและความเคลื่อนไหวกิจกรรมของ TSE  ได้ที่ www.engr.tu.ac.th/ และ Facebook fanpage ของ TSE ที่ www.facebook.com/ENGR.THAMMASAT

          รายนามบุคคลในภาพเรียงจากซ้ายไปขวา
          ศ.ดร.ผดุงศักดิ์ รัตนเดโช หัวหน้าศูนย์ความเป็นเลิศด้านการใช้ประโยชน์จากพลังงานแม่เหล็กไฟฟ้าในงานวิศวกรรม และ อาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล 
          ผศ.ดร.ทิพบุษฏ์ เอกแสงศรี รองคณบดีฝ่ายบริหาร
          ดร.อุรุยา วีสกุล อาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมโยธา
          ผศ.ดร.นพพร ลีปรีชานนท์ อาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์ 
          ดร.พิศาล แก้วประภา อาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์

ภาพข่าว: วิศวะฯ ธรรมศาสตร์ คว้า 8 รางวัลจากการประกวดงานวิจัยและนวัตกรรม เจนีวา ครั้งที่ 47





ข้อมูลเพิ่มเติมสำหรับสื่อมวลชนที่สนใจ : รางวัลที่ TSE ได้รับจากการส่งผลงานเข้าร่วมการประกวดนวัตกรรมนานาชาติ ครั้งที่ 47 ณ นครเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส
รางวัล Gold Medal ผลงาน อุปกรณ์อินเตอร์เน็ตในทุกสิ่งที่สามารถตรวจจับแรงกระแทกจากการชนและสามารถขอความช่วยเหลือได้โดยอัตโนมัติ
โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิศาล แก้วประภา อาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์ และคณะ
รางวัล Silver Medal และ Special Prize on Stage from Inventions Hong Kong & Invention Geneva
ผลงาน แบบจำลองเชิงตัวเลข 3 มิติ สำหรับการทำนายกระบวนการรักษามะเร็งตับในผู้ป่วยโดยใช้ไมโครเวฟ
โดย ศาสตราจารย์ ดร.ผดุงศักดิ์ รัตนเดโช อาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล และคณะ
รางวัล Silver Medal ผลงาน โปรแกรมช่วยแพทย์ในการตรวจหาการเปลี่ยนแปลงในการดำเนินโรคของผู้ป่วยต้อหิน
โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นพพร ลีปรีชานนท์ อาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์ และคณะ
รางวัล Silver Medal ผลงาน โปรแกรมจำแนกประเภทรูปร่างและสีของเครื่องประดับด้วยโครงข่ายประสาทเทียม
โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิศาล แก้วประภา อาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์ และคณะ
รางวัล Bronze Medal ผลงาน อุปกรณ์ตรวจสอบสุขภาพและตำแหน่งยานพาหนะด้วยเทคโนโลยี อินเตอร์เน็ทในทุกสรรพสิ่ง
โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นพพร ลีปรีชานนท์ อาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์
และ นายณัฐพล วัฒนวิสุทธิ์ นักศึกษา ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์
รางวัล Bronze Medal ผลงาน ปัญญาประดิษฐ์และอินเตอร์เน็ตในทุกสิ่งเพื่อการเพาะปลูกขนาดย่อม (Plook)
โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นพพร ลีปรีชานนท์ อาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์ และคณะ
รางวัล Special Prize from China ผลงาน เครื่องนับจำนวนไข่ไก่บนสายพานอัติโนมัติด้วยกล้องวงจรปิดและเทคนิคการประมวลผลภาพ
โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิศาล แก้วประภา อาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์ และคณะ
รางวัล Special Prize from Saudi Arabia ผลงาน แบบจำลองการพยากรณ์ฝนด้วยการใช้ปัญญาประดิษฐ์
โดย รองศาสตราจารย์ ดร.อุรุยา วีสกุล อาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมโยธา และคณะ

###
ข้อมูลเพิ่มเติมสำหรับสื่อมวลชนติดต่อ
เจซีแอนด์โค พับลิครีเลชั่นส์- JC&CO PUBLIC RELATIONS –

ข่าวมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์+งานวิจัยและนวัตกรรมวันนี้

วว.จับมือคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ส่งเสริมวิจัยนวัตกรรม พัฒนาบัณฑิตสมรรถนะสูง ด้วยวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี

ดร.จิตรา ชัยวิมล รองผู้ว่าการยุทธศาสตร์และจัดการนวัตกรรม สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และ ศาสตราจารย์ ดร.สัญญา มิตรเอม คณบดี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือส่งเสริมวิจัยนวัตกรรม พัฒนาบัณฑิตสมรรถนะสูง ด้วยวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี โดยความร่วมมือประกอบด้วย 4 ด้านหลัก ได้แก่ 1. การพัฒนางานวิจัยและนวัตกรรมในด้านวิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 2. การพัฒนาบัณทิตหรือกำลังคน

ดร.โศรดา วัลภา รองผู้ว่าการบริการอุตสาหกร... วว. จับมือพันธมิตรไทย-จีน เสริมสร้างความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม — ดร.โศรดา วัลภา รองผู้ว่าการบริการอุตสาหกรรม สถาบันวิจัยวิทย...

ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ ร่วมกับ สมาคมนัก... รวมใจ ให้โลหิต 1 พฤษภาคม วันแรงงานไทย May Day : Give Blood Save Lives — ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ ร่วมกับ สมาคมนักศึกษาเก่าพาณิชยศาสตร์ และการบัญชีมหาวิทยา...

พ่วงผลกระทบสุขภาพจิต และโครงสร้างแรงงาน เ... สัญญาณเตือนระดับชาติ! มธ. ชี้ชัด "สังคมสูงวัยสมบูรณ์แบบ" ตัวเร่งวิกฤตเศรษฐกิจไทย — พ่วงผลกระทบสุขภาพจิต และโครงสร้างแรงงาน เผยตัวเลขผู้สูงวัยเตรียมพุ่งสูง...

นายณัฏฐชัย ศิริโก (ที่ 3 จากขวา) ประธานเจ... AMR โชว์นวัตกรรมผลิตป้ายทะเบียนอัตโนมัติ พร้อมต้อนรับพาร์ทเนอร์ ขยายโอกาสสู่อาเซียน — นายณัฏฐชัย ศิริโก (ที่ 3 จากขวา) ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอเอ...

ศูนย์หนังสือจุฬาฯ ชวนร่วมงานสัปดาห์หนังสื... ศูนย์หนังสือจุฬาฯ ชวนร่วมงานสัปดาห์หนังสือฯ — ศูนย์หนังสือจุฬาฯ ชวนร่วมงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ครั้งที่ 53 และงานสัปดาห์หนังสือนานาชาติครั้งที่ 23 ณ...

อาจารย์วารสารฯ มธ. แนะ "สื่อ" นำเสนอข่าวเ... อาจารย์วารสารฯ มธ. แนะ "สื่อ" นำเสนอข่าวเซนซิทีฟต้องสร้างวิจารณญาณ มากกว่าปลุกเร้าอารมณ์ร่วม — อาจารย์วารสารฯ มธ. แนะ "สื่อ" นำเสนอข่าวเซนซิทีฟต้องสร้างวิ...

ถนนพระอาทิตย์นั้นเริ่มตั้งแต่ถนนพระสุเมรุ... นัท วอล์คเกอร์ พาวอล์ค: เที่ยวชมเมืองเก่า สัมผัสเสน่ห์ยามเย็นริมถนนพระอาทิตย์ — ถนนพระอาทิตย์นั้นเริ่มตั้งแต่ถนนพระสุเมรุไปจนถึงมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ตลอด...