ศิลปะปูนปั้นแห่งประเทศไทยครั้งที่19

30 Apr 2019
มทร.รัตนโกสินทร์ ผนึกกำลังกรมศิลปากร และองค์กรเอกชน จัด แข่งขันศิลปะปูนปั้นแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 19 นำศิลปินเก่าถ่ายทอดผลงานสู่ศิลปินหน้าใหม่ สืบสานศิลปะปูนปั้น สืบสานสมบัติอันทรงคุณค่าของไทย ที่วิทยาลัยเพาะช่าง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ จัดพิธีเปิดการแข่งขันศิลปะปูนปั้นแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 19 โดยเป็นการ่วมมือระหว่าง กรมศิลปากร วิทยาลัยเพาะช่าง มหาวิทยาลัยราชมงคลรัตนโกสินทร์ และบริษัท ทีพีไอ โพลีน จำกัด (มหาชน) เพื่อชิงเงินพระราชทานจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เพื่อเฟ้นหาสุดยอดฝีมือนักปั้นปูนและสืบสานให้งานศิลปะปูนปั้นให้เป็นสมบัติที่ล้ำค่าของประเทศไทย ชิงเงินรางวัล พร้อมโล่พระราชทานจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มีวัตถุประสงค์เพื่อมุ่งหวังให้งานศิลปะปูนปั้นเป็นสมบัติทางวัฒนธรรมอันล้ำค่าของประเทศไทย และมีผู้สืบสานงานช่างฝีมือแขนงนี้ต่อไป โดยในปีนี้มีการจัดทัศนศึกษาดูงานปูนปั้นและสัมมนาวิชาการเรื่อง "ศิลปะ ทวารวดี" ซึ่งได้รับเกียรติจากผู้ทรงคุณวุฒิด้านศิลปะทวารวดี มาเป็นวิทยาการในการถ่ายทอดความรู้ตลอดการศึกษาดูงาน ทั้งนี้การประกวดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 24-28 เมษายน 2562 และตัดสินการประกวดในวันที่ 28 เมษายน 2562 ซึ่งมีพิธีเปิดในวันที่ 25 เมษายน 2562 โดยได้รับเกียรติจาก คุณประทีป เลี่ยวไพรัตน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัททีพีไอ โพลีน จำกัด (มหาชน) เป็นประธานในพิธีเปิด พร้อมด้วย ผศ.ดร.กฤชกนก สุทัศน์ ณ อยุธยา รองอธิการบดี กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมพิธี และ ผศ.บรรลุ วิริยาภรณ์ประภาส ผู้อำนวยการวิทยาลัยเพาะช่าง กล่าวถึงวัตถุประสงค์ในการจัดการประกวด ณ วิทยาลัยเพาะช่าง มทร.รัตนโกสินทร์
ศิลปะปูนปั้นแห่งประเทศไทยครั้งที่19

โครงการประกวดศิลปะปูนปั้นแห่งประเทศไทยครั้งที่ 19 ประจำปี 2562

การประกวดประกอบด้วย 5 โครงการได้แก่

1. การสัมมนาวิชาการและทัศนศึกษาศิลปะทวารวดี

2. การแข่งขันประกวดศิลปะปูนปั้น

3. การจัดแสดงนิทรรศการ

4. การ workshop ศิลปะปูนปั้นกับประติมากรปั้นปูนยอดเยี่ยม

5. การจัดหนังสือแบบอย่างลวดลายในพุทธศิลป์ แห่งสยามประเทศเล่มที่ 5 ศิลปะทวารวดี

การแข่งขันศิลปะปูนปั้นแห่งประเทศไทยครั้งนี้ เป็นหนึ่งในกิจกรรมที่ต่อเนื่องมาจากการสัมมนาทางวิชาการและการทัศนศึกษาเพื่อให้ความรู้ความเข้าใจแก่ผู้เข้าประกวด อันเป็นส่วนหนึ่งของการอนุรักษ์สืบสานและพัฒนางานศิลปะปูนปั้น

โดยในปีนี้ได้จัดการประกวดเป็น 3 ประเภทคือ

1. ประเภทผลงานสำเร็จรูป หัวข้อการประกวดเรื่องนางสงกรานต์และสัตว์พาหนะ มีผู้ส่งผลงานเข้าประกวดผ่านการคัดเลือกจำนวน 66 ชิ้น

2. ประเภทปั้นปูนสด หัวข้อ การประกวดเรื่องหิมพานต์ มีผู้เข้าประกวด จำนวน 40 คน

3. ประเภทการปั้นปูนสำเร็จรูปปูน TPI (ระดับประชาชน) หัวข้อ การประกวดเรื่องจิตอาสา มีผู้เข้าประกวดจำนวน 32 คนและประเภทการปั้นปูนสำเร็จรูปปูน TPI ( ระดับเยาวชน) หัวข้อเรื่องตามรอยครูปูนปั้นสุโขทัย มีผู้เข้าประกวดจำนวน 94 คน รวมผู้เข้าประกวดทั้งสิ้น 232 คน โดยเริ่มการประกวดมาตั้งแต่วันที่ 24 เมษายน 2562 และจะเสร็จสิ้นการประกวดในวันที่ 28 เมษายน 2562 พร้อมตัดสินผลงานที่เข้าประกวดทั้งหมด

ในครั้งนี้ได้รับเกียรติจาก แขกผู้มีเกียรติที่คร่ำหวอดในวงการปูนปั้น ศิลปะและการออกแบบระดับชาติและระดับโลกรวมถึงผู้ให้การสนับสนุน อาทิ นายประทีป เลี่ยวไพรัตน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ทีพีไอ โพลีน จำกัด (มหาชน) ประธานในพิธี ผศ.ดร.กฤชนก สุทัศน์ ณ อยุธยา รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ อาจารย์วรพงษ์ อรุณเรือง ผู้ช่วยอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ อาจารย์บรรลุ วิริยาภรณ์ประภาส ผู้อำนวยการวิทยาเพาะช่าง และรศ.ภิญโญ สุวรรณคีรี ศิลปินแห่งชาติ ราชบัณฑิต ร่วมเป็นกรรมการในการตัดสิน

บรรยากาศเต็มไปด้วยนักปั้นปูน ระดับมืออาชีพและระดับนักเรียน นักศึกษา ที่ได้เข้ามาร่วมทำการแข่งขันและแสดงความสามารถ โดยการนำเอาศิลปะไทยในรูปแบบต่าง ๆ ร่วมถึงศิลปประยุกต์ เพื่อถ่ายทอดอารมณ์และเรื่องราวผ่านปูนปั้น ซึ่งได้สร้างความตื่นตาให้กับผู้เข้าร่วมชมและกรรมการตัดสินภายในงาน

โดย นายประทีป เลี่ยวไพรัตน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ทีพีไอ โพลีน จำกัด (มหาชน) เผยว่า จากครั้งแรกที่มีการจัดการแข่งขันมาถึงปีนี้เป็นปีที่ 19 ถือว่ามีการพัฒนาของการสร้างสรรค์ผลงานและฝีมือของช่างปั้นปูนไปไทยมาไกลมาก ซึ่งช่างปั้นปูนไทยนั้นมีความสามารถไปไกลกว่าประเทศอื่นๆ ในกลุ่มอาเซียน ช่างปูนปั้นไทยสามารถทำรายได้เป็นหลักแสนคืออย่างน้อย ซึ่งเราก็พร้อมจะพัฒนาปูนให้สามารถใช้ได้ง่ายมากขึ้น และการพัฒนาของช่างปั้นปูนของไทย วันนี้ไม่ใช่แค่ทำเพียง 2 มิติแต่ก้าวไกลไปถึงการปั้นแบบ 3 มิติซึ่งจะเป็นประโยชน์กับประเทศชาติในอนาคตเกี่ยวกับฝีมือการปั้นอย่างแน่นอน

ด้าน รศ.ภิญโญ สุวรรณคีรี ศิลปินแห่งชาติ ราชบัณฑิต ปีนี้การพัฒนาของช่างปูนปั้นเดิมทีมีแค่ไม่กี่จังหวัดเช่นราชบุรี เพชรบุรี ซึ่งในฐานะที่ตนเองได้เป็นนักออกแบบสถาปัตยกรรมต่าง ๆ การมีช่างปูนที่มีความสามารถก็ทำให้การออกแบบได้สวยงาม ซึ่งเมื่อเคยได้ออกแบบอาคารรัฐสภาต้องเขียนแบบ ขนาดใหญ่กว่า 84 เมตรเท่าขนาดจริงการให้ช่างปูนได้ปั้นออกมาตามแบบถือว่าน่าพอใจและตอนนี้พบว่ามีช่างปูนที่มีความสามารถเกิดขึ้นอีกมาก ซึ่งจากที่ดูการแข่งขันมา 19 ครั้งก็พบว่ามีการพัฒนาไปอย่างมาก

ขณะที่อาจารย์ วรพงษ์ อรุณเรือง ผู้ช่วยอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ กล่าวว่า วิทยาลัยเพาะช่าง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ เป็นองค์กรหลักในการสร้างบุคคลากรไปทำงานเพื่อประเทศชาติ การจัดกิจกรรมนี้เป็นการรักษาเอกลักษณ์ของชาติให้คงอยู่ต่อไป ซึ่งปัจจุบันมีช่างที่มีในอดีตได้เข้ามาร่วมกันทำงานกับช่างปั้นปูนรุ่นใหม่ ทำให้เกิดการสานต่อและสืบสานงานปั้นของประเทศไทยต่อไป

การประกวดครั้งนี้มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้มีหมายกำหนดที่จะเสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดนิทรรศการศิลปะปูนปั้นแห่งประเทศไทยครั้งที่ 19 ในวันพฤหัสบดีที่ 21 พฤศจิกายน ศกนี้นับเป็นครั้งที่ 5 ที่พระองค์ท่านทรงมีพระมหากรุณาธิคุณ ต่อโครงการประกวดศิลปะปูนปั้นแห่งประเทศไทย ด้วยการเสด็จพระราชดำเนินมาทรงเปิดนิทรรศการและพระราชทานรางวัลด้วยพระองค์เองอันเป็นขวัญกำลังใจที่ดียิ่งแก่ประติมากรปูนปั้นและคณะกรรมการดำเนินงานทุกคน ในการที่จะจรรโลงและพัฒนาศิลปะปูนปั้นไปให้ดียิ่งๆ ขึ้นไป

การแข่งขันเริ่มตั้งแต่วันที่ 24 เมษายน ถึงวันที่ 28 เมษายน 62 โดยผู้ที่สนใจสามารถเข้าร่วมชมการแสดงงานปูนปั้นและการแข่งขันปั้นปูน ได้ที่ พิพิธภัณฑ์ เพาะช่างเฉลิมพระเกียรติ วิทยาลัยเพาะช่าง ซึ่งจะมีการแข่งขันการปั้นปูนในหัวข้อ "นางสงกรานต์และสัตว์หาหนะ" ประเภทงานสำเร็จรูป การปั้นปูนสด หัวข้อเรื่อง "หิมพานต์" การปั้นประเภทปูนสำเร็จรูป ปูนทีพีไอ (ระดับเยาวชน) ในหัวข้อจิตอาสา และ "ตามรอครูปูนปั้นสุโขทัย" ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นผลงานที่วิจิตรงดงาม บ่งบอกถึงความอ่อนช่อยในศิลปะของไทยที่มีมาแต่บรรพบุรุษ

ศิลปะปูนปั้นแห่งประเทศไทยครั้งที่19 ศิลปะปูนปั้นแห่งประเทศไทยครั้งที่19 ศิลปะปูนปั้นแห่งประเทศไทยครั้งที่19
ฝากข่าวประชาสัมพันธ์?

ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit