ครัวรพ.จิตเวชโคราชจัดเมนูอาหารพิเศษ “ เติมบี1” ให้ผู้ป่วยจิตเวชจากพิษสุรา ช่วยการฟื้นตัวเร็วและดี

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

           รพ.จิตเวชนครราชสีมา เผยต่อวันมีผู้ป่วยทางจิตจากการติดสุรานอนรักษาวันละ 20-30 คน เพิ่มประสิทธิภาพการดูแลแบบมืออาชีพ จัดเมนูพิเศษเน้นอาหารเพิ่มสารช่วยปรับสมดุลสารเคมีในสมอง เสริมด้วยเครื่องดื่ม เช่นน้ำนมถั่วเหลือง เพิ่มวิตามินบี 1 ผลวิจัยพบช่วยให้ผู้ป่วยฟื้นตัวดีขึ้น จัดของหวานทำจากธัญพืช เช่นถั่วเขียวต้มน้ำตาล ช่วยให้ลำไส้ดูดซึมสารอาหารดีขึ้น นักโภชนาการแนะสามารถประยุกต์ใช้ที่บ้านได้ โดยเฉพาะนักดื่มที่ตั้งใจงดเหล้าตลอดเข้าพรรษานี้ 
          นายแพทย์กิตต์กวี โพธิ์โน ผู้อำนวยการโรงพยาบาล(รพ.)จิตเวชนครราชสีมาราชนครินทร์ ให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับมาตรการดูแลฟื้นฟูผู้ป่วยจิตเวชที่เกิดจากติดสุราว่าในภาพรวมของเขตสุขภาพที่ 9 ที่อยู่ในความดูแลของรพ.จิตเวชนครราชสีมาฯ ประกอบด้วยจ.นครราชสีมา ชัยภูมิ บุรีรัมย์และสุรินทร์ คาดจะมีผู้ป่วยกลุ่มนี้ประมาณ 190,000 คน จนถึงเดือนมีนาคมพ.ศ.2562 พบว่าเข้ารับบริการบำบัดรักษาถอนพิษสุราในโรงพยาบาลเครือข่ายภายในเขตสุขภาพแล้วประมาณ 34,000 คน คิดเป็นร้อยละ 17 เพิ่มขึ้นจากเดิมร้อยละ 2 ในจำนวนนี้มีอาการรุนแรง ซับซ้อน ต้องนอนรักษาฟื้นฟูในรพ.จิตเวชนครราชสีมาฯวันละ 20-30 คน มากเป็นอันดับ 4 ของผู้ป่วยในทั้งหมด ร้อยละ 99 เป็นเพศชาย ผู้ป่วยกลุ่มนี้ส่วนใหญ่ร่างกายมักจะขาดสารอาหารร่วมด้วย โดยเฉพาะวิตามินบี1 ซึ่งเป็นผลจากฤทธิ์ของแอลกอฮอล์ จึงได้ให้ฝ่ายโภชนาการพัฒนาตำรับอาหารเป็นการเฉพาะด้วย ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการถอนพิษสุรา ผู้ป่วยฟื้นคืนสู่สภาพปกติดีขึ้น 
          ทางด้านนางจิรัฐิติกาล ดวงสา นักโภชนาการและหัวหน้ากลุ่มงานโภชนาการ รพ.จิตเวชนครราชสีมาฯ กล่าวว่า ผู้ป่วยจิตเวชที่ติดสุราและอยู่ในช่วงการถอนพิษ มักจะมีอาการกระวนกระวาย วิตกกังวล มือสั่น ใจสั่น ประสาทหลอน นอนไม่หลับ การจัดเมนูอาหารหลักจะเน้นหลักการสำคัญ 3 ประการ ประการแรกคือต้องสอดคล้องกับยาที่แพทย์สั่งรักษา ซึ่งอาจมีผลต่อระบบ
ทางเดินอาหาร เช่นท้องผูก ปากแห้ง ประการที่ 2 คือ เน้นคุณค่าทางอาหารบำรุงร่างกาย คือเป็นอาหารหลัก 5 หมู่ครบถ้วน
ทั้งคาร์โบไฮเดรต โปรตีน ผัก ผลไม้ และไขมัน ประการสำคัญคือมีวิตามินบี 1 สูงซึ่งเป็นสารบำรุงประสาท และประการที่ 3 มี
สารอาหารช่วยบำบัดอารมณ์และปรับสมดุล สื่อประสาทในสมอง 2 ตัวคือ โดปามีน (Dopamine) และ เซโรโทนิน (Serotonin)
เพื่อช่วยลดอาการอยากดื่มสุรา 
          การเลือกวัตถุดิบปรุงอาหารหลัก 3 มื้อให้มีคุณค่าคุณภาพครบถ้วนตามที่กล่าวมา โดยใช้ข้าวกล้องและจมูกข้าวซึ่งมีวิตามินบี 1 สูง กลุ่มผลไม้จะเน้นที่มีสารโปแตสเซียมสูงเพื่อรักษาความสมดุลย์ของอิเล็คทรอไลท์ภายเซลล์ต่างๆของร่างกาย เช่น กล้วยทุกชนิด ส้ม มะละกอ ในส่วนของอาหารจะเน้นส่วนประกอบที่ให้สารอาหารช่วยปรับสมดุลย์ของสารสื่อประสาทที่กล่าวมา ซึ่งพบมากในเนื้อสัตว์ ปลาเช่นปลาทูน่า ปลาช่อน ปลาดุก กุ้ง ไข่ เมล็ดธัญพืชต่างๆ เต้าหู้ ผักใบเขียวต่างๆเช่นผักโขม ตำลึง ผักไชยา รวมทั้งกล้วยด้วย 
          นางจิรัฐิติกาล กล่าวต่อว่า ตัวอย่างรายการเมนูอาหาร เช่นแกงฟักทอง ในฟักทองจะมีกากใยมาก มีวิตามินเอ ช่วยฟื้นฟูตับทำงานดีขึ้น ผัดผักไชยาหรือที่เรียกว่าคะน้าเม็กซิกันหรือผักชูรส ผักชนิดนี้จะช่วยล้างพิษในตับ และเพิ่มแคลเซียมให้กระดูก ผัดผักตำลึง ในผักตำลึงมีวิตามินเอและมีเส้นใยมาก จะช่วยขับพิษร้อนและลดน้ำตาลในเลือด เป็นต้น 
          สำหรับเครื่องดื่มและของหวาน ฝ่ายโภชนาการได้เพิ่มเครื่องดื่มที่ให้วิตามินบี 1 สูง คือน้ำจมูกข้าวกล้องหอมมะลิ ขนาดกล่องละ180 ซีซี. ให้ดื่มวันละ 3 มื้อ ซึ่งผลการวิจัยพบว่าสามารถบรรเทาอาการลงแดงได้ดี และช่วยให้ผู้ป่วยฟื้นตัวได้ดีขึ้นถึงร้อยละ 88 ซึ่งปัจจุบันนี้ได้สลับเมนู โดยใช้น้ำนมถั่วเหลืองในปริมาณเท่ากัน เนื่องจากในถั่วเหลืองจะมีกรดอะมิโนจำเป็นที่มีชื่อว่า ทริพโตเฟน ( Tryptophan) ซึ่งร่างกายสร้างเองไม่ได้ ต้องได้รับจากอาหารเพื่อนำไปสร้างเป็นสารซีโรโทนิน ช่วยในการนอนหลับดีขึ้น ในส่วนของหวานจะเน้นการใช้ธัญพืชที่ไม่แปรรูป เช่น ถั่วเขียวต้มน้ำตาล ซึ่งถั่วเขียวจะมีกากใยมาก ช่วยในการระบาย เมื่อเข้าสู่ระบบการย่อย เส้นใยจากกากถั่วจะช่วยซับสารพิษต่างๆในลำไส้ รวมทั้งพิษจากสุราออกจากร่างกาย ทำให้ลำไส้สะอาด จะเพิ่มประสิทธิภาพการดูดซึมสารอาหารดีขึ้น และทำให้สุขภาพแข็งแรง 
          นางจิรัฐิติกาล กล่าวอีกว่า เมนูอาหารนี้ ผู้ที่ตั้งใจจะหยุดดื่มสุราตลอดช่วงเข้าพรรษา 3 เดือน สามารถนำไปปรับใช้ที่บ้านได้ และควรเลี่ยงรับประทานอาหารที่ปรุงด้วยรสเค็ม เช่นอาหารหมักดองทุกชนิด เนื่องจากจะกระตุ้นให้กระหายน้ำ อาจทำให้อยากกลับไปดื่มสุราอีก ควรรับประทานอาหารให้อิ่มทุกมื้อจะช่วยลดความรู้สึกอยากดื่มสุรา 2562         
ครัวรพ.จิตเวชโคราชจัดเมนูอาหารพิเศษ “ เติมบี1” ให้ผู้ป่วยจิตเวชจากพิษสุรา ช่วยการฟื้นตัวเร็วและดี
          -สารอาหาร โดปามีน พบในเนื้อสัตว์ นม ไข่ พืชตระกูลถั่ว ธัญพืช และผักใบเขียว
          -สารอาหารซีโรโทนีน พบใน เต้าหู้ กล้วย ปลาทูน่า
          ในการปรุงจะใช้วิธีต้ม แกง นึ่ง ตุ๋น เพื่อกระตุ้นความอยากอาหารด้วย 
          ทั้งนี้ ฝ่ายโภชนาการได้เพิ่มเครื่องดื่มที่ให้วิตามินบี1 สูง คือน้ำจมูกข้าวกล้องหอมมะลิ ผสมจมูกข้าวสาลี ขนาดกล่องละ180 ซีซี. ให้ดื่มวันละ 3 มื้อ ซึ่งผลการวิจัยพบว่าสามารถบรรเทาอาการลงแดงได้ดี และช่วยให้ผู้ป่วยฟื้นตัวได้ดีขึ้นถึงร้อยละ 88 โดยปัจจุบันนี้ได้ขยายผลใช้น้ำเต้าหู้ด้วย ซึ่งให้ผลดีเช่นกัน 
          เข้าสู่กระบวนการ งด/เลิก เหล้า เข้าพรรษา ด้วยโภชนาการ
          1. ขั้นเตรียมพร้อมร่างกายล้า
          เนื่องจากตับได้ถูกทำลาย ในช่วง 3 เดือน จึงแนะนำข้อห้าม
          - หลีกเลี่ยงอาหารลดเค็ม เนื่องจากจะไปกระตุ้นทำให้กระหายน้ำจึงอาจกลับไปดื่มอีก
          - หลีกเลี่ยง ของมัน / ของทอด อาหารที่มีไขมันหรือน้ำมันสูงเนื่องจากตับอาจจะยังคงทนได้ไม่ดี
          - หลียกเลี่ยงการกินอาหารปรุงแต่ง เช่น การใช้สีผสมอาหารที่มาจากการสังเคราะห์ วัตถุกันเสียและน้ำตาลเทียม
          - หลีกเลี่ยงการกินอาหารกลุ่มคาร์โบไฮเดรตสูง ในปริมาณมาก เนื่องจากจะเสี่ยงไขมันแทรกในตับ
          - หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีส่วนประกอบของ คาเฟอีน เพราะจะยิ่งเพิ่มการขับปัสสาวะเสี่ยงต่อการขาดน้ำ
          ข้อควรปฏิบัติ
          1.1ควรดื่มน้ำสมุนไพร น้ำตะไคร้ใบเตย เนื่องจาก
          - ช่วยลดอาการอ่อนเพลีย
          - ผ่อนคลาย
          - รสหวานเย็นของใบเตย ช่วยชูกำลัง
          - ปรับสมดุลให้กลับร่างกาย
          - เจริญอาหาร ช่วยแก้อาการเบื่ออาหาร
          - ระบบย่อยอาหารดีขึ้น
          - ช่วยล้างระบบย่อยอาหาร ตับ ตับอ่อนและไต ทำให้ทานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
          - กำจัดพิษออกจากร่างกาย ซึ่งสามารถที่จะล้างพิษได้ทั้งตับ ไต 
          - ช่วยให้ลำไส้ สามารถดูดซึมสารอาหารได้ดีมากขึ้น
          ข้อปฏิบัติ
          1.2เมื่อผ่านขั้นที่1 หลังจากนี้จะเข้าสู่ขั้นถอนพิษสุรา 
          1. การปรุงประกอบอาหารที่เน้นอาหารที่ให้กลุ่มต่างๆ ดังนี้
          - กลุ่มวิตามิน B1 ได้แก่
          ปลา เนื้อหมู ธัญพืช ขนมปังโฮลวีต หน่อไม้ฝรั่ง 
          - กลุ่มวิตามิน B2 ได้แก่ นม ไข่ ตับวัว ชีส ปลาทู ปลาหมึก เมล็ดอัลมอนด์ งา เห็ด โยเกิร์ต
          - กลุ่มวิตามิน B6 ได้แก่ บริเวอร์ยีสต์ รำข้าว จมูกข้าวสาลี ข้าวโอ๊ต ข้าวที่ไม่ผ่านการขัดสี ถั่วลิสง ถั่วเหลือง วอลนัต กะหล่ำปลี กากน้ำตาล แคนตาลูป ไข่ ตับ ปลา 
          2. กลุ่มวิตามิน C ได้แก่ ฝรั่ง สับปะรด มะม่วง ส้ม คะน้า มะเขือเทศ
          3. กลุ่มวิตามิน A ได้แก่ ผักตำลึง แครอท ตับวัว ฟักทอง มะละกอสุก ไข่
          เพราะทั้งหมดนี้ เมื่อร่างกายผ่านการดื่มสุรามา ร่างกายจะขาดสารอาหารกลุ่มนี้ จึงควรชดเชยสารอาหารเข้าไปในเมนูการประกอบอาหาร
          2. กลุ่มสารอาหารที่ช่วยบำบัดอารมณ์และปรับสมดุลสื่อประสาทในสมองและควรมีกลุ่มโปรตีนและไขมัน ในระดับปานกลางด้วย จึงจะช่วยปรับสมดุลอารมณ์และช่วยให้ตับที่ถูกทำลายจากสุรา ไม่ต้องทำงานหนัก
สารอาหารที่สำคัญคือ โดปามีน (Dopamine) และ เซโรโทนีน (Serotonin) หากขาดจะส่งผลต่อ อารมณ์ ก้าวร้าว และทำให้อยากดื่มสุราได้
          -สารอาหาร โดปามีน พบในเนื้อสัตว์ นม ไข่ พืชตระกูลถั่ว ธัญพืช และผักใบเขียว
          -สารอาหารซีโรโทนีน พบใน เต้าหู้ กล้วย ปลาทูน่า
          เซโรโทนิน ถูกสร้างจากกรดอะมิโนทริปโตเฟน (Tryptophan) เป็นกรดอะมิโนที่จำเป็น ดังนั้นจึงเลือกทานอาหารที่ให้ทริปโตเฟน ดังนี้ ไข่ นม ถั่วเหลือง ธัญพืช
          เพราะร่างกายจะย่อยจนได้กรดอะมิโนทริปโตเฟน เป็นสารตั้งต้นในการสลายเซโรโทนินร่วมกับ V.B3 (Niacin) V.B6 และแม็กนีเซียม ในการเซโรโทนินจะช่วยให้ร่างกายนิ่ง นอนหลับได้ดี
          3. กลุ่มกรดไขมันโอเมก้า3 ช่วยเพิ่มการทำทนของตัวรับการสื่อประสาทจะช่วยลดอาการซึมเศร้าและความวิตกกังวลในผู้ติดสุรา
          - อาหารที่มีกรดโอเมก้า3 ได้แก่ น้ำมันคาโนลา เมล็ดแฟลกซ์หรือน้ำมันเมล็ดแฟลกซ์ ถั่วแระ ผลิตภัณฑ์จากนม ผักโขม ถั่วเหลือง 
          4. กลุ่มคาร์โบไฮเดรต หากได้รับไม่เพียงพอจะส่งผลต่อการทนทานต่อสมองและสื่อประสาท น้ำตาลในเลือดไม่คงที่ นำสู่ภาวะหงุดหงิด ซึมเศร้า นอนไม่หลับ ในกลุ่มที่กำลัง เลิก / งด สุรา หากร่างกายขาด คาร์โบไฮเดรต จะยังรู้สึกหงุดหหงิดฉุนเฉียวมากขึ้น ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการ เลิก / งด เหล้าเข้าพรรษา
กลุ่มคาร์โบไฮเดรต ควรเป็นกลุ่มไม่ขัดสี ได้แก่ ข้าวกล้อง ข้าวไรซ์เบอร์รี่ ขนมปังโฮลวีท 
          5. กลุ่มผัก ผลไม้ เพื่อเพิ่มปริมาณกากใย เพื่อให้เกิดการขับถ่ายให้เป็นเวลา เพราะหากเกิดอาการท้องผูกจะส่งผลให้ตับทำงานมากขึ้น
          6. ดื่มน้ำให้เพียงพอควบคู่กับการดื่มน้ำสมุนไพรตะไคร้ใบเตย เพื่อช่วยลดอาการปากแห้งและช่วยผ่อนคลายได้
          7. การรับประทานอาหารให้ตรงเวลา ห้ามปล่อยให้ร่างกายหิว เพราะจะทำให้เราอยากอาหารมากขึ้น
          ปริมาณขั้นต่ำที่ควรทานต่อมื้อ
          เสริมด้วยผลไม้ 1 จานเล็ก (V.C) 
          - วัตถุดิบที่นำมาประกอบเป็นเมนูอาหารผลไม้ควรใช้ ตะไคร้ มาเป็นส่วนประกอบ เช่น ต้มยำต่างๆ ยำตะไคร้ คั่วไก่ เป็นต้น
          - เน้นในทุกเมนู ลดหวาน มัน เค็ม
          - เลี่ยงการปรุงแต่ง
          - หลีกเลี่ยงการนำผักผลไม้ที่มีสารปนเปื้อนมาประกอบอาหารเพราะจะส่งผลต่อการทำงานของตับเพิ่มขึ้นซึ่งจะไม่เกิดผลดีต่อผู้ที่อยู่ระหว่างงดเหล้าเข้าพรรษา





ครัวรพ.จิตเวชโคราชจัดเมนูอาหารพิเศษ “ เติมบี1” ให้ผู้ป่วยจิตเวชจากพิษสุรา ช่วยการฟื้นตัวเร็วและดี

ข่าวกิตต์กวี โพธิ์โน+น้ำนมถั่วเหลืองวันนี้

จิตเวชโคราช แนะ“ 6 เทคนิควิธี” หยุดใจไม่ให้คิดถึงยาเสพติด เบรกอาการเสี้ยนยา !!! ป้องกันเสพติดซ้ำ!!

รพ.จิตเวชนครราชสีมาฯห่วงผู้ป่วยยาเสพติดที่ผ่านการบำบัดรักษาและหยุดเสพได้แล้ว กลับไปเสพยาซ้ำหลังเจอตัวกระตุ้นเดิม ทำให้ใจคิดถึงความสุขที่ได้จากยาเสพติด ชักนำให้เกิดอาการเสี้ยนยา แนะวิธีป้องกันโดยให้ฝึกใช้ 6 เทคนิคเพื่อหยุดความคิด อาทิ การจินตนาการ ดีดหนังยางที่ข้อมือและพูดปฏิเสธว่า”ไม่” ฝึกผ่อนคลายกล้ามเนื้อ ทำสมาธิ ควรหมั่นฝึกทำวันละ 2 เวลา และควรทำทันทีเมื่อเกิดความคิด พร้อมทั้งย้ำเตือนผู้เสพติดสารเสพติดให้รีบบำบัดรักษา ก่อนสมองจะทรุดหนัก ป่วยทางจิตเพิ่ม นายแพทย์กิตต์กวี โพธิ์โน ผู้อำนวยการ

รพ.จิตเวชนครราชสีมาฯ ตั้งตู้ปันสุข เป็นสะ... รพ.จิตเวชโคราช ตั้ง“ตู้ปันสุข”ส่งมอบสุขภาพจิตดีๆให้ประชาชน เป็นอาหารบำรุงใจ!! — รพ.จิตเวชนครราชสีมาฯ ตั้งตู้ปันสุข เป็นสะพานส่งมอบสุขภาพจิตดีๆไปสู่ประชาช...

รพ.จิตเวชนครราชสีมาฯแนะประชาชนในพื้นที่4 ... จิตเวชโคราช แนะชาวนครชัยบุรินทร์ ใช้หลักปฏิบัติ “3 ไม่ 3 ต้อง” คลายกังวลใจโรคโควิด-19 !! — รพ.จิตเวชนครราชสีมาฯแนะประชาชนในพื้นที่4 จังหวัดในเขตนครชัยบุริ...