รพ.จิตเวชนครราชสีมาฯ
แนะประชาชนในพื้นที่4 จังหวัดในเขตนครชัยบุรินทร์
คลายความกังวลใจเรื่องการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 โดยลงมือปฏิบัติตัวอย่างจริงจังด้วยหลัก
“ 3 ไม่” คือ ไม่นำเชื้อเข้าตัว ไม่นำเชื้อเข้าบ้าน
ไม่นำเชื้อไปสู่ผู้อื่น และหลัก“ 3 ต้อง” คือ ต้องร่วมมือควบคุมโรคตามมาตรการของรัฐอย่างเคร่งครัด
ต้องติดตามข่าวสารจากแหล่งที่เชื่อถือได้
และต้องส่งต่อข่าวดีให้กำลังใจช่วยเหลือเกื้อกูลกัน หากยังไม่สบายใจ โทรปรึกษาสายด่วนสุขภาพจิต1323 ฟรี
นายแพทย์กิตต์กวี โพธิ์โน ผู้อำนวยการโรงพยาบาล(รพ.)จิตเวชนครราชสีมาราชนครินทร์ จ.นครราชสีมา ให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 (COVID-19) ว่า ประเด็นที่อธิบดีกรมสุขภาพจิตมีความห่วงใยและให้หน่วยงานในสังกัดเร่งดำเนินการดูแลป้องกันควบคู่ไปกับทางกายคือการลดผลกระทบทางจิตใจของประชาชน เนื่องจากโรคนี้เป็นโรคติดต่ออันตรายซึ่งเกิดจากเชื้อไวรัสชนิดใหม่ ติดต่อกันง่าย ยังไม่มีวัคซีนป้องกันหรือตัวยารักษาเป็นการเฉพาะ จึงเกิดผลกระทบทางจิตใจได้มาก จะเกิดความรู้สึกต่างๆเช่น ความวิตกกังวลต่อสถานการณ์ระบาดของโรค ไม่รู้ว่าจะสิ้นสุดเมื่อใด กลัวติดเชื้อโรค รู้สึกไม่ปลอดภัย ไม่มั่นใจในการดำเนินชีวิต แม้ว่าการมีความรู้สึกเช่นนี้ จะช่วยให้เรารู้จักระแวดระวังภัยที่อาจมาเยือนก็ตาม แต่หากมีความกลัวมากจนเกินไป ก็อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิตและการดำเนินชีวิตได้เช่นกัน
นายแพทย์กิตต์กวีกล่าวต่อว่า วิธีการคลี่คลายความกังวลใจที่กล่าวมา รพ.จิตเวชนครราชสีมาฯมีข้อแนะนำให้ประชาชนในพื้นที่เขตสุขภาพที่ 9 หรือเขตนครชัยบุรินทร์ประกอบด้วย 4 จังหวัดได้แก่ นครราชสีมา ชัยภูมิ บุรีรัมย์และสุรินทร์ยึดหลักปฏิบัติ 6 ประการ ตามแนวทางของกรมสุขภาพจิตคือหลักการ “ 3 ไม่ และ3 ต้อง” จะมีผลทำให้เราสามารถเอาชนะ หยุดยั้งการแพร่ระบาดโรคโควิด-19 ในพื้นที่เป็นผลสำเร็จได้โดยเร็ว
หลักปฏิบัติ “ 3 ไม่” ประกอบด้วย 1. ไม่นำเชื้อเข้าตัว โดยขอให้ประชาชนอยู่ในบ้านให้มากที่สุด งดการสังสรรค์หรือรวมกลุ่ม ดูแลรักษาสุขอนามัยส่วนตัว โดยรับประทานอาหารที่มีประโยชน์และปรุงสุกใหม่ ใช้ช้อนกลางส่วนตัว หมั่นล้างมือฟอกสบู่หรือล้างด้วยเจลแอลกอฮอล์บ่อยๆ ไม่ใช้สิ่งของร่วมกับคนอื่น เช่น แก้วน้ำ หลอดดูดน้ำ เป็นต้น ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ นอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอ 2.ไม่นำเชื้อเข้าบ้าน เนื่องจากในบ้านจะมีสมาชิกหลายวัยอยู่ร่วมกัน เมื่อมีความจำเป็นต้องออกจากบ้านให้สวมหน้ากากผ้าหรือหน้ากากอนามัย และรักษาระยะห่างกัน 1-2 เมตร เมื่อกลับมาถึงบ้านให้ล้างมือฟอกสบู่ทันที อาบน้ำชำระล้างร่างกาย เปลี่ยนเสื้อผ้า 3.ไม่นำเชื้อไปสู่ผู้อื่น ในกรณีที่เป็นผู้ติดเชื้อหรือมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ ให้กักตัวเอง แยกตัวเอง ไม่ไปในที่สาธารณะ ใส่หน้ากากอนามัยตลอดเวลา ใช้ของใช้ส่วนตัวไม่ปะปนผู้อื่น รับประทานอาหารแยกสำรับ ไม่บ้วนน้ำลายหรือเสมหะลงพื้น
สำหรับหลักปฏิบัติ “ 3 ต้อง” ประกอบด้วย 1. ต้องปฏิบัติตนร่วมมือตามมาตรการคำแนะนำของภาครัฐในการควบคุมโรคอย่างเคร่งครัด 2. ต้องติดตามข่าวสารโรคโควิด-19 ไม่เกินวันละ 1-2 ชั่วโมง โดยติดตามจากแหล่งที่เชื่อถือได้หรือจากภาครัฐ เพื่อลดความตื่นตระหนกและได้ข้อมูลที่เป็นความจริง และ3.ต้องติดต่อสื่อสาร ด้วยการส่งข่าวดี เรื่องที่ดีต่อใจ ช่วยให้กำลังใจกันและช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน ทั้งนี้หากยังไม่สบายใจ สามารถโทรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทางสายด่วนสุขภาพจิตหมายเลข 1323 ฟรี ตลอด24 ชั่วโมง นายแพทย์กิตต์กวีกล่าว
จิตแพทย์ แนะวิธีป้องกันปัญหาหมดไฟทำงาน ผู้ที่ทำงานประจำหรือมนุษย์เงินเดือน ควรทำ 6 กิจกรรม และลด 4 พฤติกรรมเสี่ยง คือ ไม่หักโหมทำงานหนัก ไม่หอบงานไปทำต่อที่บ้าน ไม่ท่องโลกโซเซียลยามว่าง ไม่นำปัญหาในที่ทำงานกลับไปบ้าน เนื่องจากอาจทำให้เกิดความเครียดสะสม และเบียดบังเวลาพักผ่อน พร้อมแนะสังเกต6 สัญญานอาการส่อแววจะหมดไฟ โดยหากอึดอัดใจไม่สบายใจ สามารถรับบริการปรึกษาสายด่วนสุขภาพจิต 1323 ฟรีตลอด 24 ชั่วโมง นายแพทย์กิตต์กวี โพธิ์โน ผู้อำนวยการโรงพยาบาล( รพ.)จิตเวชนครราชสีมาราชนครินทร์ จ.นครราชสีมา
จิตแพทย์แนะครอบครัวใช้ “5สุข 5มอบ” เติมความอิ่มใจผู้สูงวัย ชี้!! อย่าชะล่าใจอาการป่วยกายผู้สูงวัย อาจแฝงจากป่วยใจได้!!
—
วันที่ 13 เมษายน เป็นวันผู้สูงอาย...
AIS - กสทช. ส่งความห่วงใย ให้ลูกค้าโทรฟรีหมายเลขฉุกเฉิน 1668, 1669,1330 พร้อมสายด่วนช่วยเหลืออื่นๆ
—
เพื่อเป็นการแบ่งเบาภาระ และอำนวยความสะดวกให้ลูกค้า AI...
จิตเวชโคราช แนะประชาชนใช้ “8 วิธี” คลายเครียด คลายทุกข์ใจ !!!! จากเหตุกราดยิงที่โคราช
—
รพ.จิตเวชนครราชสีมา แนะประชาชนใช้ 8 วิธีลดเครียดหลังเหตุกราดยิงที่...