เคล็ดลับการเลือกทำ เทอร์มาจ และไฮฟู่

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

          ศ. นพ.วรพงษ์ มนัสเกียรติ 
          ประธานวิชาการสมาคมแพทย์ผิวหนังแห่งประเทศไทย

          ในยุคสมัยนี้การยกกระชับผิวหน้าและผิวหนังบริเวณร่างกายในทุกส่วนสัดให้ดูอ่อนเยาว์เป็นเรื่องใกล้ตัว สำหรับในวงการแพทย์ผิวหนังสมัยใหม่ ความแพร่หลายไม่ได้หยุดเพียงแค่ผู้หญิงเท่านั้น แต่ผู้ชายก็ให้ความสนใจในเรื่องเหล่านี้เหมือนกัน เทอร์มาจ (THERMAGE) เป็นหนึ่งในวิธีการกระชับผิวและรักษาผิวหนังที่หย่อนคล้อยโดยไม่ต้องผ่าตัด โดยใช้พลังคลื่นความถี่วิทยุ (Radiofrequency) ทำให้เกิดความร้อนสู่ใต้ผิวหนัง กระตุ้นการสร้างคอลลาเจน เทอร์มาจจะเหมาะกับผู้ที่ต้องการยกกระชับ บริเวณที่มีไขมันเฉพาะจุด ได้ผลดีในบริเวณที่หย่อนคล้อยมาก ๆ กระชับหน้า ให้ผิวกระชับยืดหยุ่น เรียบเนียน ลดริ้วรอยบริเวณใบหน้า เหนียง แขน ขาและหน้าท้อง ส่วนไฮฟู่ อัลตราซาวด์ (HIFU ULTRASOUND) นั้นใช้หลักการพลังงานเสียง HIGH-INTENSITY FOCUS ULTRASOUND ให้เกิดความร้อนไปกระตุ้นคอลลาเจน เมื่อมีการสร้างคอลลาเจนขึ้นมาใหม่ จะทำให้ผิวหนังกระชับขึ้น เหมาะกับผู้ที่ต้องการยกกระชับผิวที่หย่อนคล้อย ไม่มีไขมันสะสม 
          โดยหลักการ จำง่าย ๆ ว่า เทอร์มาจ จะเห็นผลชัดเจนในเดือนที่ 3 ของการรักษา แต่ขึ้นอยู่กับสภาพของผิวด้วย ซึ่งจะเห็นผลนาน 1-2 ปี ส่วนไฮฟู่ อัลตราซาวด์ ต้องใช้เวลาประมาณ 6 เดือนถึง 1 ปี จึงจะเห็นผลในการรักษา โดยในระหว่าง 2 – 4 เดือนแรกจะเริ่มมีการเปลี่ยนแปลง โดยทั้งสองวิธีเป็นพังผืดของหนังแท้ ให้สร้างใหม่โดยใช้เครื่องมือใหม่ในการแพทย์ ให้พลังงานความร้อนลงสู่หนังกำพร้าลงไปข้างล่างผ่านเส้นใยผิวหนัง ไปกระตุ้นเพื่อสร้างคอลลาเจนใหม่ขึ้นมา
          ทั้งนี้โดยหลักการสามารถเลือกทำทั้งสองวิธีได้ในเวลาเดียวกัน โดยแต่ละวิธีก็จะมีผลข้างเคียง การไหม้ของผิวหนังแบ่งเป็น 3 ระดับ คือ ระดับที่1 คือจะเห็นริ้วรอยแดง ๆ ที่หนังกำพร้า ระดับที่ 2 จะเห็นตุ่มน้ำ ถ้าแตกจะเห็นน้ำเหลืองไหลออกมา ระดับลึกลงไปถึงชั้นไขมันใต้ผิวหนัง ทั้งนี้ในระดับ 2 หรือ ในระดับที่ 3 มีโอกาสเกิดแผลเป็นได้ ส่วนในระดับที่ 1 อาจเกิดการเปลี่ยนแปลงของสีผิวในระยะหนึ่งเท่านั้น 
          อย่างไรก็ตามในการรักษาโรคทุกโรค โดยเฉพาะทางด้านความสวยความงาม ผลของการรักษาจะดีหรือไม่ดี ขึ้นอยู่กับ 3 ปัจจัยหลัก คือ 1. ความรู้ความสามารถของแพทย์ 2. ประสิทธิภาพของเครื่องมือและยารักษา และ 3.ตัวผู้ที่มารับการรักษา ต้องปฏิบัติตัวตามแพทย์แนะนำอย่างเคร่งครัด นอกจากนี้ต้องใช้ดุลยพินิจของตนเอง ตรวจสอบประวัติแพทย์ที่จะมารักษา ว่าเป็นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านนี้จริงหรือไม่ ซึ่งในปัจจุบันในแพทยสภาหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น สมาคมแพทย์ผิวหนังแห่งประเทศไทย ก็มีข้อมูลให้เลือกตัดสินใจโดยดูรายละเอียดได้ที่เว็บไซต์ www.dst.or.th ได้ถูกต้องและมีความน่าเชื่อถือมากที่สุด
เคล็ดลับการเลือกทำ เทอร์มาจ และไฮฟู่
 
เคล็ดลับการเลือกทำ เทอร์มาจ และไฮฟู่
เคล็ดลับการเลือกทำ เทอร์มาจ และไฮฟู่
 
เคล็ดลับการเลือกทำ เทอร์มาจ และไฮฟู่
 
 
 
 
 

ข่าวสมาคมแพทย์ผิวหนังแห่งประเทศไทย+วรพงษ์ มนัสเกียรติวันนี้

ภาพข่าว: 44 ปี สมาคมแพทย์ผิวหนังแห่งประเทศไทย

เมื่อเร็ว ๆ นี้ รศ.นพ.ป่วน สุทธิพินิจธรรม นายกสมาคมแพทย์ผิวหนังแห่งประเทศไทย (ที่ 8 จากซ้าย) ร่วมกับ คณะกรรมการอำนวยการสมาคมแพทย์ผิวหนังแห่งประเทศไทย ประกอบด้วย ดร.นพ.เวสารัช เวสสโกวิท, ศ. ดร.นพ.ประวิตร อัศวานนท์, ศ.นพ.วรพงษ์ มนัสเกียรติ, นพ.สมศักดิ์ ตันรัตนากร,รศ.พญ.รังสิมา วณิชภักดีเดชา,ผศ.พญ.สุวิรากร โอภาสวงศ์, ศ.พญ.ศรีศุภลักษณ์ สิงคาลวณิช, ศ.พญ.กนกวลัย กุลทนันท์, รศ.พญ.ณัฎฐา รัชตะนาวิน, พ.อ.หญิง รศ.พญ.กอบกุล อุณหโชค, ศ.พญ.วรัญญา บุญชัย, นพ.อุดมศักดิ์ วงศ์ปารมี, ผศ.นพ.รัฐพล ตวงทอง, ผศ.นพ

สมาคมแพทย์ผิวหนังแห่งประเทศไทย ขอเชิญแพทย... สมาคมแพทย์ผิวหนังฯ จัดงานประชุมกลางปี 2565 "Back to The Future In Practical Dermatology" — สมาคมแพทย์ผิวหนังแห่งประเทศไทย ขอเชิญแพทย์ผู้สนใจที่เป็นสมาชิก...

ปัจจุบันในสถานการณ์ที่มีการระบาดอย่างรุนแ... 7 คำถามของโรคสะเก็ดเงินกับโควิด-19 — ปัจจุบันในสถานการณ์ที่มีการระบาดอย่างรุนแรงของโควิด19 ทำให้มีคำถามจากผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงินหลากหลายประเด็น จึงขอเลือก...

สวัสดีครับ หมอเชื่อว่า หลายท่านน่าจะรู้จั... รู้จักลมพิษให้ดีขึ้น — สวัสดีครับ หมอเชื่อว่า หลายท่านน่าจะรู้จักหรือเคยได้ยินข้อมูลเกี่ยวกับลมพิษกันมาบ้างแล้วนะครับ สำหรับในวันที่ 1 ตุลาคม ของทุก ๆ ปี...

สมาคมแพทย์ผิวหนังแห่งประเทศไทย ขอเชิญแพทย... สมาคมแพทย์ผิวหนังฯ เชิญแพทย์ เข้าร่วมงานDST Mid-Year Meeting 2021 — สมาคมแพทย์ผิวหนังแห่งประเทศไทย ขอเชิญแพทย์ผู้สนใจที่เป็นสมาชิกสมาคมแพทย์ผิวหนังแห่งป...

โรคสะเก็ดเงินที่เล็บ (nail psoriasis) เป็... โรคสะเก็ดเงินที่เล็บ — โรคสะเก็ดเงินที่เล็บ (nail psoriasis) เป็นความผิดปกติของเล็บที่พบในโรคสะเก็ดเงิน อาจมีอาการเป็นเฉพาะที่...

แม้ว่าโรคโควิด-19 จะเป็นโรคที่เกี่ยวข้องก... โรคโควิด-19 กับอาการทางผิวหนังที่ไม่ควรมองข้าม (ตอนที่ 1) — แม้ว่าโรคโควิด-19 จะเป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินหายใจเป็นหลัก แต่ก็อาจทำให้เกิดความผิดปก...