เบโด้ ลุยต่อเนื่องจัด Road Show ที่สกลนคร ชุมชนต้นแบบเศรษฐกิจชีวภาพ สานต่อโครงการ“ชุมชนไม้มีค่า-ป่าครอบครัว ตามหลัก BEDO Concept”

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

          สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน) หรือเบโด้ (BEDO) ร่วมกับหน่วยงานภาคี ได้แก่ กรมป่าไม้ (ปม.) กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธ์พืช (อส.) องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ (อ.อ.ป.) ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) และ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) พร้อมด้วยพลังสนับสนุนจากกลุ่มเครือข่าย 11 หน่วยงาน จัด Road Show สร้างการรับรู้การดำเนินงานพื้นที่สีเขียวนอกเขตอนุรักษ์ "ชุมชนไม้มีค่า-ป่าครอบครัว ตามหลัก BEDO Concept" ณ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดสกลนคร โดยมี นายนพดล ไพฑูรย์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสกลนคร ให้เกียรติเป็นประธานเปิดงาน
          นางจุฬารัตน์ นิรัติศยกุล ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน) หรือเบโด้ (BEDO) กล่าวว่า "จากแนวนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการส่งเสริมการเพิ่มพื้นที่สีเขียวของประเทศ สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน) หรือเบโด้ (BEDO) จึงได้ดำเนินงานพื้นที่สีเขียวนอกเขตอนุรักษ์ "ชุมชนไม้มีค่า-ป่าครอบครัว ตามหลัก BEDO Concept ให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม โดยส่งเสริมให้ประชาชนปลูกไม้ต่างๆ รวมทั้งไม้เศรษฐกิจในที่ดินกรรมสิทธิ์ในการใช้ประโยชน์โดยชอบด้วยกฎหมายของตนเอง ทั้งนี้ พื้นที่ตั้งจะต้องไม่ตั้งอยู่ในเขตของกรมป่าไม้ และ กรมอุทยานแห่งขาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ซึ่งในการดำเนินการจะส่งเสริมให้เจ้าของพื้นที่ปลูกพันธุ์กล้าไม้ที่มีความสมบูรณ์และมีความเหมาะสมตามระบบภูมินิเวศ เพื่อเพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพ โดยการปลูกพืชทุกระดับชั้น ปลูกพืชพื้นล่าง อาทิ สมุนไพร ไม้ดอก ไม้หัว และพืชผักพื้นบ้านต่างๆ ให้สามารถเก็บกินเก็บขายได้ พร้อมทั้งส่งเสริมและสนับสนุนแหล่งพันธุกรรรมเพื่อการอนุรักษ์ สำคัญ คือ ส่งเสริมการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนในการเป็นแหล่งวัตถุดิบ เพื่อนำมาต่อยอดเป็นสินค้าหรือผลิตภัณฑ์และบริการตาม BEDO Concept ซึ่งมีหลักสำคัญ 3 ประการ ได้แก่
          1) การใช้ทรัพยากรชีวภาพชุมชนและภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นวัตถุดิบหลัก
          2) การผลิตที่เป็นมิตรกับความหลากหลายทางชีวภาพและสิ่งแวดล้อม
          3) การปันรายได้บางส่วนไปอนุรักษ์ฟื้นฟูแหล่งทรัพยากรชีวภาพ
          "ชุมชนไม้มีค่า-ป่าครอบครัว" จึงเป็นอีกหนึ่งกลไกของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่ให้ความสำคัญกับการเสริมกำลังให้กับเศรษฐกิจฐานราก นอกจากประชาชนจะอยู่ดีกินดี มีทรัพยากรที่มีความหลากหลายทางชีวภาพเป็นสินทรัพย์แล้ว ยังก่อให้เกิดการฟื้นฟูและอนุรักษ์ป่าไม้ เพื่อเติมเต็มพื้นที่สีเขียวนอกเขตอนุรักษ์ร้อยละ 15 ตามแนวนโยบายของรัฐบาล
สำหรับพื้นที่จังหวัดสกลนคร ถือเป็นชุมชนต้นแบบการสร้างพื้นที่สีเขียวนอกเขตอนุรักษ์ ในรูปแบบ"ชุมชนไม้มีค่า-ป่าครอบครัว" ตัวอย่างเช่น ชาวบ้านใน ต.บะฮี อ.พรรณานิคม และ ต.ท่าก้อน อ.อากาศอำนวย สมาชิกในชุมชนจะช่วยกันดูแลบริหารจัดการพื้นที่แบบผสมผสาน โดยปลูกพืชพื้นถิ่น พืชหัว พืชสมุนไพร และไม้ยืนต้น บนพื้นฐานระบบนิเวศเดิมที่เป็นป่าเต็งรัง ส่งผลให้ในปัจจุบันสภาพป่าครอบครัวของสมาชิกแต่ละรายมีความอุดมสมบูรณ์ มีผลผลิตหลากหลาย อุดมไปด้วยของป่าตามฤดูกาล เช่น สมุนไพร พืชหัว (อาทิ กระเจียว) เห็ด ผักหวาน ไข่มดแดง และแมลงทางเศรษฐกิจอีกหลายชนิด ที่สร้างรายได้และสร้างความสุขให้ชุมชนบนพื้นฐานความพอเพียง อีกทั้งได้ขยายเครือข่ายการดำเนินงานไปยังจังหวัดกาฬสินธุ์และใกล้เคียงอีกด้วย ซึ่งชุมชนทั้ง 2 แห่งนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของชุมชนต้นแบบตามหลัก BEDO Concept ยังมีตัวอย่างชุมชนในอีกหลายพื้นที่ของจังหวัดสกลนครที่ประสบความสำเร็จ สามารถสร้างรายได้ สร้างเศรษฐกิจที่เข้มแข็งจากพืชท้องถิ่นและมรดกทางภูมิปัญญาจากการทอผ้า การย้อมคราม ซึ่งจะมาร่วมแบ่งปันข้อมูลและสร้างเครือข่าย"ชุมชนไม้มีค่า-ป่าครอบครัว" ร่วมกันในวันนี้ด้วย
          ปัจจุบันได้เกิดพื้นที่สีเขียวนอกเขตอนุรักษ์ "ชุมชนไม้มีค่า-ป่าครอบครัว" จำนวน 2,431 ชุมชน แบ่งเป็นภาคเหนือ 828 ชุมชน ภาคกลาง 82 ชุมชน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 830 ชุมชน ภาคตะวันออก 157 ชุมชน ภาคตะวันตก 258 ชุมชน ภาคใต้ 258 ชุมชน คิดเป็นจำนวน 119,538 ไร่"
          สำหรับการจัดกิจกรรม Road Show สร้างการรับรู้การดำเนินงานพื้นที่สีเขียวนอกเขตอนุรักษ์ "ชุมชนไม้มีค่า-ป่าครอบครัว ตามหลัก BEDO Concept" ที่จัดขึ้นในวันนี้ ผู้เข้าร่วมงานจะได้เรียนรู้การใช้แอปพลิเคชันพื้นที่สีเขียวนอกเขตอนุรักษ์"ชุมชนไม้มีค่า-ป่าครอบครัว" และรับทราบข้อมูลที่น่าสนใจในการดำเนินงานพื้นที่สีเขียวนอกเขตอนุรักษ์ "ชุมชนไม้มีค่า-ป่าครอบครัว ตามหลัก BEDO Concept" จากชุมชนต้นแบบหลายแห่ง อาทิ สกลนคร สงขลา สุพรรณบุรี พร้อมทั้งได้รับฟังเสวนาวิชาการจากผู้เชี่ยวชาญ เรียนรู้ถึงประโยชน์ของไม้มีค่าในท้องถิ่น ขั้นตอนในการดำเนินงานและแนวทางการนำไปสู่ความสำเร็จ สามารถนำไปพัฒนาผลิตภัณฑ์บนฐานความหลากหลายทางชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นของตนเองได้อย่างอย่างยั่งยืน นอกจากนี้ ยังมีการแจกกล้าไม้ และเมล็ดไม้ เพื่อให้ชุมชนที่มาร่วมงาน ได้นำกลับไปปลูกยังพื้นที่ของตนเองอีกด้วย
          ทั้งนี้ สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน) จัดกิจกรรม Road Show สร้างการรับรู้การดำเนินงานพื้นที่สีเขียวนอกเขตอนุรักษ์ "ชุมชนไม้มีค่า-ป่าครอบครัว ตามหลัก BEDO Concept" ไปยัง 4 ภูมิภาค โดยในครั้งต่อไปจะจัดขึ้นในวันเสาร์ที่ 31 สิงหาคม 2562 ณ วัดโป่งคำ จังหวัดน่าน และวันเสาร์ที่ 7 กันยายน 2562 ณ โรงแรมรามาการ์เด้นท์ กรุงเทพมหานคร
เบโด้ ลุยต่อเนื่องจัด Road Show ที่สกลนคร ชุมชนต้นแบบเศรษฐกิจชีวภาพ สานต่อโครงการ“ชุมชนไม้มีค่า-ป่าครอบครัว ตามหลัก BEDO Concept”
เบโด้ ลุยต่อเนื่องจัด Road Show ที่สกลนคร ชุมชนต้นแบบเศรษฐกิจชีวภาพ สานต่อโครงการ“ชุมชนไม้มีค่า-ป่าครอบครัว ตามหลัก BEDO Concept”
เบโด้ ลุยต่อเนื่องจัด Road Show ที่สกลนคร ชุมชนต้นแบบเศรษฐกิจชีวภาพ สานต่อโครงการ“ชุมชนไม้มีค่า-ป่าครอบครัว ตามหลัก BEDO Concept”
เบโด้ ลุยต่อเนื่องจัด Road Show ที่สกลนคร ชุมชนต้นแบบเศรษฐกิจชีวภาพ สานต่อโครงการ“ชุมชนไม้มีค่า-ป่าครอบครัว ตามหลัก BEDO Concept”

ข่าวธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร+สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพวันนี้

BEDO และ ธ.ก.ส. ร่วมลงนามบันทึกความเข้าใจโครงการชุมชนไม้มีค่า

สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน) หรือ BEDO และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร หรือ ธ.ก.ส. ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือโครงการชุมชนไม้มีค่า ระหว่างวันที่ 27 ธันวาคม 2561 กำหนดระยะเวลา 3 ปี ซึ่งได้ครบกำหนดแล้ว เพื่อให้ทั้ง 2 หน่วยงานดำเนินการได้ต่อเนื่องอีก 3 ปีนับตั้งแต่ 10 พฤศจิกายน 2565 เป็นต้นไปจึงได้ลงนามระหว่างกันรอบ 2 และยกระดับการทำงานเพิ่มเติมในประเด็นมาตรฐานและเกณฑ์การประเมินมูลค่าไม้มีค่า ในการบริหารจัดการปลูกไม้มีค่า โดยมีเป้าหมายเครือข่ายธนาคารต้นไม้ ของ ร.ก.ส

นายอภิรมย์ สุขประเสริฐ ผู้จัดการธนาคารเพื... ภาพข่าว: ธ.ก.ส. ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ “โครงการชุมชนไม้มีค่า” — นายอภิรมย์ สุขประเสริฐ ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร นายยรรยง ก...

ผศ.ดร.วีรชัย อาจหาญ ผู้ว่าการ สถาบันวิจัย... วว. / ธ.ก.ส. หารือแนวทางนำเทคโนโลยีเกษตร ชีวภาพ อาหาร ต่อยอดดำเนินงานร่วมกันในปี 2568 — ผศ.ดร.วีรชัย อาจหาญ ผู้ว่าการ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแ...