เอไอเอส ผู้นำอันดับ 1 ด้านนวัตกรรมเครือข่ายและเทคโนโลยีของประเทศ ทดสอบการนำเทคโนโลยี 5G มาประยุกต์ใช้ในกิจการท่าเทียบเรือขนส่งสินค้า เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานสามารถควบคุมเครนยกตู้สินค้าได้จากระยะไกล ผ่านโครงข่าย 5G ณ ท่าเทียบเรือฮัทชิสัน พอร์ท ประเทศไทย ท่าเรือแหลมฉบัง อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี ได้เป็นรายแรกของไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ภายใต้การสนับสนุนของ กสทช. โดยจะมีบทบาทสำคัญในการช่วยบริหารจัดการขนส่งสินค้าในท่าเรือพาณิชย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เป็นหนึ่งในโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางดิจิทัล และเทคโนโลยี 5G นี้ มีส่วนร่วมสนับสนุนโครงการระเบียงเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือ EEC ในการผลักดันให้ท่าเรือแหลมฉบังเป็นเกตเวย์ของประเทศไทย และเป็นศูนย์กลางด้าน โลจิสติกส์ สำหรับการค้าการลงทุนของกลุ่มประเทศอาเซียนในอนาคต
นายฮุย เวง ชอง หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านปฏิบัติการ เอไอเอส กล่าวว่า “เอไอเอส ในฐานะผู้นำอันดับ 1 ด้านนวัตกรรมเครือข่ายและเทคโนโลยี เพื่อยกระดับขีดความสามารถของทุกอุตสาหกรรมไปอีกขั้น จากการทดลองทดสอบ Use Case ทั่วทุกภูมิภาคและภาคอุตสาหกรรมต่างๆ ตลอดช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา ทำให้เราได้มีองค์ความรู้สำหรับการวางรากฐานโครงสร้างเครือข่ายหลักเตรียมรองรับเทคโนโลยี 5G อย่างต่อเนื่อง เช่น การควบคุมรถยนต์จากระยะทางไกล (5G Remote Driving) มาประยุกต์ใช้งานในงานภาคการผลิตร่วมกับเอสซีจี โดยการควบคุมรถยกของภายในโรงงานที่อยู่ในพื้นที่ต่างๆ ของประเทศ จากศูนย์ควบคุมระยะไกล
ในครั้งนี้ เอไอเอส ได้นำ 5G มาใช้ทดสอบการควบคุมเครนยกขนตู้สินค้าที่ติดตั้งอยู่ในพื้นที่ต่างๆ ภายในท่าเทียบเรือ ฮัทชิสัน พอร์ท ประเทศไทย ได้จากห้องบังคับระยะไกล ผ่านการส่งสัญญาณควบคุมเครนจากห้องควบคุมด้วยระบบโครงข่าย 5G ของเอไอเอส โดยนำคุณสมบัติเด่นของ 5G ในเรื่องความเร็วสูง (Speed) และการตอบสนองที่รวดเร็ว มีความหน่วงต่ำ (Latency) เพื่อใช้รับสัญญาณจากกล้องวงจรปิดที่เครนและส่งสัญญาณควบคุมจากห้องบังคับการกลับไปที่เครนได้ทันที ทำให้โดยภาพรวมแล้วเจ้าหน้าที่ควบคุมเครนจะสามารถสลับเปลี่ยนการควบคุมเครนแต่ละตัวในท่าเทียบเรือได้อย่างอิสระและรวดเร็วมากขึ้น นำไปสู่การบริหารจัดการเครนยกขนตู้สินค้าที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น อนึ่ง ท่าเรือแห่งนี้ตั้งอยู่บนโครงการระเบียงเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือ EEC โครงการนี้ จึงสามารถเป็นต้นแบบให้ภาคอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ได้เห็นถึงประโยชน์และนำไปประยุกต์ใช้ได้จริงในอนาคต โดยความร่วมมือนี้ ถือเป็นการนำเทคโนโลยีล้ำหน้าเช่น 5G มาทดสอบใช้งานในกิจการท่าเรือพาณิชย์เป็นครั้งแรกในประเทศไทยและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นการแสดงศักยภาพทางเทคโนโลยีที่สำคัญให้แก่ประเทศไทย ทั้งนี้ เอไอเอส ยังคงมุ่งมั่นที่จะนำเทคโนโลยี 5G มาประยุกต์ใช้งานจริงในภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมต่างๆ ต่อไป”
บริษัท ฮัทชิสัน พอร์ท ประเทศไทย (HPT) ผู้ประกอบการท่าเทียบเรือขนถ่ายตู้สินค้า ท่า A2, A3, C1&C2 และท่าเทียบเรือชุด D ณ ท่าเรือแหลมฉบัง นำโดย มร. สตีเฟ้นท์ อาร์ชเวิรท กรรมการผู้จัดการ ฮัทชิสัน พอร์ท ประจำประเทศไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นำทีมผู้บริหารและพนักงานของบริษัท ฮัทชิสัน พอร์ท ประเทศไทย (HPT) ร่วมประกาศความสำเร็จในการบันทึกสถิติขนถ่ายตู้สินค้าผ่านท่าเทียบเรือของบริษัทฯ สะสม 40 ล้าน ทีอียู ในเดือนกันยายน 2566 นี้ คณะผู้บริหารและพนักงาน บริษัท ฮัทชิสัน พอร์ท ประเทศไทย (HPT) ร่วมฉลองความสำ
ฮัทชิสัน พอร์ท ประเทศไทย โชว์ยอดธุรกิจโตตามเป้า แม้ทั่วโลกเผชิญการชะลอตัวทางเศรษฐกิจและการค้า
—
ฮัทชิสัน พอร์ท ประเทศไทย หรือ HPT ผู้ประกอบการท่าเรือชั้นน...
ฮัทชิสัน พอร์ท ประเทศไทย เสริมทัพปั้นจั่นยกตู้สินค้า ระบบปฏิบัติการอัจฉริยะควบคุมจากระยะไกลชุดใหม่ เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานและลดการปล่อยก๊าซคาร์บอน
—
บริษัท ฮัทช...
'MSC MINA’ สร้างปรากฎการณ์ เรือขนส่งตู้สินค้าขนาดใหญ่ที่สุด ที่เคยเทียบท่าในประเทศไทย
—
เรือขนส่งตู้สินค้าขนาดใหญ่ที่สุดในโลก 'MSC MINA’ เข้าเทียบท่าครั้ง...
ท่าเทียบเรือชุด D ของฮัทชิสัน พอร์ท ต้อนรับเรือขนส่งสินค้าขนาดใหญ่ที่สุด ที่เคยเข้าเทียบท่าในประเทศไทย
—
ฮัทชิสัน พอร์ท ประเทศไทย ผู้ประกอบการท่าเทียบเรือ...
ฮัทชิสัน พอร์ท ทดสอบรถบรรทุกไร้คนขับครั้งแรกในประเทศไทย
—
- ฮัทชิสัน พอร์ท ประเทศไทย เป็นท่าเทียบเรือแห่งแรกในประเทศไทยที่นำรถบรรทุกไร้คนขับเข้ามาทดสอบปฏิ...
ฮัทชิสัน พอร์ท เปิดท่าเทียบเรือชุด D ในแหลมฉบังอย่างเป็นทางการ ท่าเทียบเรือชุด D ดึงเรือขนส่งสินค้าขนาดใหญ่สุดในโลกสู่ประเทศไทย
—
ในภาพ ดร. ไพรินทร์ ชูโช...
ท่าเทียบเรือชุด D ของฮัทชิสัน พอร์ท ต้อนรับเรือขนส่งสินค้าขนาดใหญ่ที่สุด ที่เคยเข้าเทียบท่าในประเทศไทย
—
ในภาพจากซ้ายไปขวา : กัปตัน คานะ อานีล ผู้ควบคุมเร...