“ฝังเข็ม” อีกหนึ่งทางเลือกของการรักษา เป็นมากกว่าวิธีแก้ปวด

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

          แม้ว่าการรักษาโรคด้วยการฝังเข็มจะเป็นที่รู้จักมานาน แต่เชื่อว่ายังมีอีกหลายคนที่ไม่ทราบว่า ศาสตร์การฝังเข็มคืออะไร และรักษาโรคหรืออาการได้อย่างไร นายแพทย์จีนธนัตเทพ เตระทวีดุลย์ แพทย์ประจำคลินิกฟื้นฟูสมรรถภาพและกายภาพบำบัด โรงพยาบาลพริ้นซ์ ปากน้ำโพ จังหวัดนครสวรรค์ (โรงพยาบาลในเครือบริษัท พริ้นซิเพิล เฮลท์แคร์ จำกัด) จะมาให้ความรู้เกี่ยวกับการรักษาด้วยการฝังเข็ม
          - ฝังเข็มคืออะไร ทำไมต้องฝังเข็ม
          ฝังเข็มเป็นศาสตร์อย่างหนึ่งของการแพทย์แผนจีน ที่ปัจจุบันมีการเรียนการสอนในประเทศไทย โดยหลักสูตรการเรียนการสอนได้รับการรับรองจากกระทรวงสาธารณสุข แพทย์ผู้ทำการรักษาจะมีใบอนุญาตประกอบโรคศิลปะเหมือนแพทย์แผนปัจจุบัน ซึ่งการที่ผู้ป่วยจะเข้ารับการรักษาโดยวิธีฝังเข็มนั้น แพทย์จะเป็นผู้ประเมินว่าสามารถเข้ารับการรักษาได้หรือไม่
          การรักษาด้วยวิธีการฝังเข็ม สามารถทำได้ในทุกช่วงอายุ ที่ผ่านมาเคยมีการรักษาด้วยวิธีการฝังเข็มในเด็กเพื่อช่วยในเรื่องของพัฒนาการและรักษาอาการปวดต่างๆ แต่เด็กที่จะเข้ารับการรักษาด้วยวิธีนี้ จะต้องสามารถทนอยู่นิ่งๆ ตลอดเวลา 20-30 นาทีของการฝังเข็มได้ และผู้ปกครองควรรับทราบและยินยอมให้มีการรักษาด้วยวิธีการดังกล่าวด้วย
          - อาการแบบไหนบ้างที่รักษาได้ด้วยการฝังเข็ม
          แพทย์จะเป็นผู้ประเมินการรักษาตามอาการเจ็บป่วยและเงื่อนไขของแต่ละคนที่มีความแตกต่างกัน อาการที่นิยมรักษาด้วยการฝังเข็ม จะเป็นอาการปวดเมื่อยต่างๆ ปวดหลัง ปวดขา ปวดศีรษะ ปวดเข่า ออฟฟิศซินโดรม บาดเจ็บจากขาพลิก ขาแพลง เป็นตะคริว เคล็ดขัดยอกที่เกิดจากการออกกำลังกาย นอนไม่หลับเพราะความเครียด วิตกกังวล โรคภูมิแพ้ นิ้วล๊อคในระยะเริ่มต้น อัมพฤตอัมพาตในระยะเริ่มต้น การฝังเข็มจะช่วยฟื้นฟูกระตุ้นให้ระบบต่างๆ กลับมาทำงานได้ตามปกติ โดยรักษาควบคู่ไปกับการทำกายภาพบำบัด เพื่อกระตุ้นให้ระบบร่างกายกลับมาทำงานตามปกติได้ไวขึ้น ทำให้มีการฟื้นตัวได้เร็วขึ้น และยังมีบางคนที่ฝังเข็มเพื่อลดความอ้วน เพื่อปรับสมดุลร่างกาย ควบคู่ไปกับการคุมอาหารและการออกกำลังกาย
          นอกจากอาการและโรคต่างๆ ดังที่กล่าวมาแล้วนั้น การฝังเข็มยังใช้สำหรับการเสริมความงามได้ด้วย มีการฝังเข็มเพื่อช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของโลหิต ทำให้เลือดลมมาเลี้ยงบริเวณใบหน้าได้ดีขึ้น ลดฝ้ากระ ริ้วรอย ทำให้ใบหน้าผ่องใส
          - ฝังเข็มเจ็บไหม ถ้ากลัวเข็มมีวิธีรักษาแบบอื่นหรือไม่
          เข็มที่ใช้ฝังจะมีลักษณะคล้ายเข็มเย็บผ้า แต่มีขนาดที่บางกว่า เป็นเข็มที่ออกแบบมาเพื่อการฝังเข็มโดยเฉพาะ เวลาปักเข็มจะใช้ความเร็วและทักษะของหมอแต่ละคน และจะใช้มือกระตุ้นด้วยการดึงเข็มขึ้นลง ซึ่งจะเจ็บมากน้อยแค่ไหนขึ้นอยู่กับประสบการณ์ของแพทย์ แต่น้อยกว่าการฉีดยาอย่างแน่นอน ปัจจุบันยังมีการนำเครื่องกระตุ้นไฟฟ้ามาช่วย ทำให้การกระตุ้นทำได้อย่างต่อเนื่อง แต่การจะใช้เครื่องกระตุ้นหรือไม่นั้น แพทย์ผู้ทำการรักษาจะเป็นผู้ประเมินอาการ เพราะบางอาการอาจจะไม่เหมาะที่จะใช้เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าทั้งนี้ เพื่อให้การรักษาโดยวิธีการฝังเข็มได้ผล ควรเข้ารับการรักษาอย่างต่อเนื่อง โดยมีระยะห่างของการรักษาแต่ละครั้งประมาณ 1-2สัปดาห์ สำหรับใครที่กลัวเข็มแต่ต้องการรักษาตามแผนจีน สามารถเลือกการรักษารูปแบบอื่นได้ เช่น การครอบโคม เป็นต้น
          - เตรียมตัวอย่างไรก่อนเข้ารับการฝังเข็ม
          สามารถรับประทานอาหารได้ตามปกติ แต่ควรรับประทานอาหารก่อนเข้ารับการรักษา 1-2 ชั่วโมง เพื่อป้องกันการเป็นลมสำหรับคนที่มีอาการกลัวเข็ม ควรสวมใส่เสื้อผ้าที่สวมใส่สบาย ไม่บีบรัด เพื่อให้เลือดลมเดินสะดวกช่วงที่มีการฝังเข็ม สำหรับผู้ที่ทานยาละลายลิ่มเลือด หรือยาต้านเกล็ดเลือด จำเป็นต้องแจ้งให้แพทย์ผู้ทำการรักษาทราบล่วงหน้าด้วย 
          หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการรักษาด้วยการฝังเข็ม หรือคำถามด้านสุขภาพอื่นๆ สามารถขอรับคำ ปรึกษาได้จากทีมแพทย์โรงพยาบาลในเครือบริษัท พริ้นซิเพิล เฮลท์แคร์ จำกัด ทั้ง 8 แห่ง ได้แก่ โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ จังหวัดสมุทรปราการ โรงพยาบาลพริ้นซ์ ปากน้ำโพ 1 และ โรงพยาบาลพริ้นซ์ ปากน้ำโพ 2 จังหวัดนครสวรรค์ โรงพยาบาลพริ้นซ์ อุทัยธานี จังหวัดอุทัยธานี โรงพยาบาลพิษณุเวช จังหวัดพิษณุโลก โรงพยาบาลพิษณุเวช อุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ โรงพยาบาลพิษณุเวช พิจิตร จังหวัดพิจิตร และโรงพยาบาลศิริเวชลำพูน จังหวัดลำพูน และยังสามารถติดตามสาระดีๆ เกี่ยวกับการแพทย์ได้ที่เฟซบุ๊ก: Principal Healthcare Company
“ฝังเข็ม” อีกหนึ่งทางเลือกของการรักษา เป็นมากกว่าวิธีแก้ปวด
 
“ฝังเข็ม” อีกหนึ่งทางเลือกของการรักษา เป็นมากกว่าวิธีแก้ปวด
“ฝังเข็ม” อีกหนึ่งทางเลือกของการรักษา เป็นมากกว่าวิธีแก้ปวด
 
“ฝังเข็ม” อีกหนึ่งทางเลือกของการรักษา เป็นมากกว่าวิธีแก้ปวด
 
 
 

ข่าวo:healวันนี้

Understanding Chronic IBD Can Help You Reduce the Risk of Colon Cancer

If you experience frequent, loose, and bloody stools for more than 4 weeks, it could be a sign of chronic bowel disease, which, if left untreated, could lead to colon cancer. At Bumrungrad International Hospital, our teams of doctors are fully equipped with the latest medical technology to treat chronic bowel disease to give our patients a better quality of life. This is why Bumrungrad International Hospital is a top healthcare destination for patients from around the world. Chronic inflammatory

โรงพยาบาลเปาโล โชคชัย 4 ในเครือโรงพยาบาลพ... "เปาโล โชคชัย 4" มุ่งพัฒนาระบบบริการสุขภาพ ดูแลด้วยใจ ใส่ใจทุกสิทธิ์ — โรงพยาบาลเปาโล โชคชัย 4 ในเครือโรงพยาบาลพญาไท-เปาโล ภายใต้กลุ่ม BDMS ยืนยันเจตนารมณ...

อลิอันซ์ อยุธยา ส่งความห่วงใยไม่รู้จบ ให้... อลิอันซ์ อยุธยา ส่งความห่วงใยไม่รู้จบ มอบวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ — อลิอันซ์ อยุธยา ส่งความห่วงใยไม่รู้จบ ให้ลูกค้าคนสำคัญเพิ่มภูมิคุ้มกันและลดโอกาสในการต...

เส้นเลือดผิวหนังอัณฑะโป่งพอง (Angiokerato... เรื่องลับๆ ของผู้ชาย ที่ควรรู้ : เส้นเลือดผิวหนังอัณฑะโป่งพอง — เส้นเลือดผิวหนังอัณฑะโป่งพอง (Angiokeratoma of Fordyce) โรคนี้จะมีลักษณะเป็นตุ่มดำแดงคล้าย...

โรคกระดูกคอเสื่อม เกิดจากอายุที่มากขึ้นแล... "ปวดคอ" แบบไหน?... ให้สงสัยหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท — โรคกระดูกคอเสื่อม เกิดจากอายุที่มากขึ้นและการใช้งานคอผิดท่ามาเป็นเวลานาน ซึ่งเดี๋ยวนี้คนที่เป็นโรค...