ไขมันพอกตับ ภัยเงียบทำลายสุขภาพ

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

ไขมันพอกตับ ถือเป็นอีกหนึ่งโรคที่พบได้บ่อย สาเหตุเกิดจากพฤติกรรมการกิน เช่น การดื่มแอลกอฮอล์ ส่งผลทำให้ตับทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพจนเป็นที่มาของไขมันพอกตับ รวมถึงปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญ คือ โรคอ้วน โดยเฉพาะการอ้วนแบบลงพุง ผู้ป่วยเบาหวานมีโอกาสเป็นโรคตับจากไขมันเกาะตับเพิ่มมากขึ้น รวมถึงการรับประทานอาหารมัน อาหารหวาน หรือคาร์โบไฮเดรตมากเกินไป อาหารเหล่านี้จะไปเปลี่ยนเป็นไตรกลีเซอไรด์ในตับ เมื่อร่างกายไม่สามารถนำไปใช้ได้หมดจะเกิดการสะสมขึ้นที่ตับ หากละเลยในการดูแลสุขภาพอาจทำให้เกิดภาวะตับแข็งและอาจเป็นมะเร็งตับได้ในที่สุด    

ไขมันพอกตับ ภัยเงียบทำลายสุขภาพ

โรคนี้สามารถพบได้ทุกเพศทุกวัย แต่จะพบมากในช่วงอายุ 40-50 ปีขึ้นไป ที่ระบบเผาผลาญอาหารเริ่มมีประสิทธิภาพลดลง และยังเป็นภัยเงียบที่ผู้ป่วยมักไม่รู้ตัวว่าตับมีความผิดปกติ เพราะส่วนใหญ่ไม่แสดงอาการ ซึ่งการเข้ารับการตรวจระบบทางเดินอาหารและตับ จึงเป็นแนวทางที่จะช่วยเช็คสุขภาพตับก่อนที่จะถูกทำลายและกลายเป็นโรคร้ายที่ไม่อาจรักษาให้หายได้ทันท่วงที โดยเฉพาะผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง เช่น ผู้ที่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นมะเร็งตับ ผู้ที่มีภาวะอ้วนลงพุง BMI เกินมาตรฐาน ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ผู้ที่ดื่มสุราเป็นเวลานาน  ผู้ป่วยที่อยู่ในกลุ่มความเสี่ยงไวรัสตับอักเสบ รวมถึงผู้ที่กินยาหรือสมุนไพรเป็นเวลานาน    

โรงพยาบาลธนบุรี #เป็นห่วงนะ จัดโปรโมชั่น We Love Liver ตรวจสุขภาพตับด้วยไฟโบรสแกน (FibroScan) ซึ่งเป็นเครื่องมือทันสมัยเฉพาะทางใช้ตรวจเพื่อดูสภาพการเกิดพังผืดในเนื้อตับ โดยไม่ต้องเจาะตับ ไม่เกิดความเจ็บปวดกับร่างกายทั้งขณะรับการตรวจและภายหลังรับการตรวจ แม่นยำ และทราบผลได้ทันที สำหรับลูกค้าท่านแรก ราคา 2,200 บาท ท่านที่สอง เหลือเพียง 1,800 บาท ได้ตั้งแต่วันนี้ - กรกฎาคม 2563  ตรวจก่อน รู้ก่อน ยิ่งทำให้รักษาได้ทันและมีประสิทธิภาพมากเท่านั้น สอบถามข้อมูลได้ที่ ศูนย์ระบบทางเดินอาหารและตับ โทร. 0-2487-2000 ต่อ 2005-7 หรือ https://www.thonburihospital.com/ และ  www.facebook.com/thonburihospitalclub


ข่าวผู้ป่วยเบาหวาน+ดื่มแอลกอฮอล์วันนี้

เบาหวานลงเท้า ไม่ใช่เรื่องเล็ก! เช็กอาการก่อนเกิดภาวะแทรกซ้อน

ภาวะเบาหวานลงเท้า เป็นหนึ่งในภาวะแทรกซ้อนที่พบบ่อยในผู้ป่วยเบาหวาน เกิดจากระดับน้ำตาลในเลือดที่สูงเป็นเวลานาน ส่งผลให้เส้นประสาทโดยเฉพาะเส้นเล็กๆ ที่ปลายเท้า เกิดการอักเสบหรือเสื่อมสภาพ โดยปัจจัยเสี่ยงที่กระตุ้นให้เกิดภาวะนี้ ได้แก่ ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ไม่ดี, เป็นเบาหวานมาเป็นเวลานาน, ดื่มแอลกอฮอล์, สูบบุหรี่ อาการที่ควรระวัง! ที่อาจเป็นสัญญาณของเบาหวานลงเท้า รู้สึกปวดแสบ ปวดร้อน หรือมีอาการร้อนวูบวาบที่เท้าทั้งสองข้าง มีอาการปวดแปล๊บคล้ายถูกไฟช็อต โดยเฉพาะเวลากลางคืน หรือมีความรู้สึกยิบๆ

ผู้ป่วยเบาหวานมักประสบปัญหาที่เท้าได้ง่าย... ฟื้นฟูเท้าสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน.. ด้วยการออกกำลังกายเท้า — ผู้ป่วยเบาหวานมักประสบปัญหาที่เท้าได้ง่าย เช่น แผลที่เท้า การติดเชื้อ เนื่องจากระบบไหลเวียนโลหิต...

การควบคุมอาหารและเลือกทานอย่างเหมาะสมในปร... กินยังไงดี?... "เบาหวาน" ไม่เพิ่ม — การควบคุมอาหารและเลือกทานอย่างเหมาะสมในปริมาณที่พอดีกับความต้องการของร่างกาย ถือเป็นวิธีสำคัญในการรักษาและป้องกันโรค...

HBO ตัวช่วยรักษา "แผลเบาหวานที่เท้า" ป้อง... HBO ตัวช่วยรักษา "แผลเบาหวานที่เท้า" ป้องกันการตัดขา — HBO ตัวช่วยรักษา "แผลเบาหวานที่เท้า" ป้องกันการตัดขา ผู้ป่วยเบาหวานมีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดแผลที่เ...

4 ขั้นตอนดูแล "แผลเบาหวาน" ลดการติดเชื้อ ... 4 ขั้นตอนดูแล "แผลเบาหวาน" ลดการติดเชื้อ — 4 ขั้นตอนดูแล "แผลเบาหวาน" ลดการติดเชื้อ การดูแลรักษาแผลของผู้ป่วยเบาหวานนั้น สิ่งสำคัญที่สุดคือ ความสะอาด ...

แผลเบาหวาน เป็นแผลเรื้อรังที่พบได้บ่อยในผ... "แผลที่เท้า" เรื่องใหญ่ "ผู้ป่วยเบาหวาน" ต้องใส่ใจ — แผลเบาหวาน เป็นแผลเรื้อรังที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยเบาหวาน เกิดจากระดับน้ำตาลในเลือดสูงเป็นเวลานาน ทำให...